Web 3.0 กับการลงทุน

Web 3.0 กับการลงทุน

การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้การดำรงชีวิตของผู้คนในปัจจุบันมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

ผู้ประกอบธุรกิจสามารถตอบสนองต่อความต้องการและพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วของผู้บริโภคได้อย่างทันท่วงที อย่างไรก็ตาม การพัฒนาของเทคโนโลยี ก็นำมาซึ่งผลเสียบางประการต่อผู้ใช้เทคโนโลยีเหล่านั้น

เช่น การถูกเข้าถึงข้อมูลของผู้บริโภค ความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภค รวมไปถึงโอกาสที่จะเกิดการหลอกลวงผ่านเทคโนโลยีได้ง่ายยิ่งขึ้น (Cyber threat/crime)

ในชีวิตประจำวันของผู้คนส่วนใหญ่ เรามักจะเกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีอย่างใดอย่างหนึ่งและหนึ่งในเทคโนโลยีที่สำคัญและผู้คนส่วนใหญ่ใช้ในชีวิตประจำวัน ก็คืออินเทอร์เน็ต โดยอินเทอร์เน็ตถือกำเนิดขึ้นมากว่า 30 ปีแล้ว โดยมีวิวัฒนาการเป็นลำดับขั้นดังนี้

Web 1.0 เป็นอินเทอร์เน็ต ในรูปแบบการอ่านอย่างเดียว (Read-only) หรือ One-way Communication ผู้ใช้งานเว็บไซต์ สามารถทำการค้นหาและศึกษาข้อมูลที่มีอยู่บนเว็บไซต์นั้นๆ โดยที่ผู้ใช้งานไม่สามารถปรับปรุง แก้ไข หรือเพิ่มเติมเนื้อหาที่อยู่บนเว็บไซต์ได้

Web 2.0 เป็นอินเตอร์เน็ต ในรูปแบบการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้งาน อ่านและเขียน หรือ Two-ways Communication โดยที่ผู้ใช้งานสามารถเป็นได้ทั้งคนอ่านข้อมูลที่อยู่บนเว็บไซต์ และเป็นคนเขียนหรือคนให้ข้อมูลบนเว็บไซต์นั้นๆ

ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานสามารถติดต่อสื่อสารกับเจ้าของเว็ปไซต์หรือผู้ใช้คนอื่นๆ ได้ โดย Web 2.0 ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการติดต่อสื่อสารผ่านเว็บไซต์ เช่น เว็บบอร์ด Marketplace รวมไปถึงการเกิดขึ้นของ Social Media Platform เช่น Facebook, Twitter, Instagram และอื่นๆ

 

  • ทำไมถึงต้องมีการพัฒนาเป็น Web 3.0

เมื่อมีการติดต่อสื่อสารกันระหว่างผู้ใช้งานจำนวนมาก ก่อให้เกิดข้อมูลจำนวนมหาศาล หรือที่ถูกเรียกว่าสังคมออนไลน์ (Social Network) ผู้พัฒนา แพลตฟอร์ม จึงทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการบริหารจัดการข้อมูล

รวมไปถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่ออำนวยความสะดวก พร้อมทั้งตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานแพลตฟอร์ม ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานั้น ผู้ดูแลแพลตฟอร์มทำเพื่อที่จะให้ผู้ใช้งานรู้สึกชื่นชอบและยังคงใช้แพลตฟอร์มอย่างต่อเนื่อง ในทางกลับกันผู้ดูแลแพลตฟอร์มก็ยังสามารถแสวงหาประโยชน์จากข้อมูลของผู้ใช้งาน 

โดยอ้างการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ ให้ตอบสนองกับความต้องการของผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น ซึ่งการใช้ประโยชน์ในข้อมูลของผู้ใช้งานนั้นได้มีการแสวงหาผลประโยชน์อย่างมากมายเกินความเหมาะสม

เช่น การทำโฆษณาแบบเจาะจงกลุ่มเป้าหมาย การเสนอขายผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ที่มากเกินความต้องการ รวมไปถึงการขายข้อมูลของผู้ใช้งานให้กับบุคคลหรือองค์กรภายนอก เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดีแก่ผู้ใช้งาน

ดังนั้น การพัฒนาของเทคโนโลยี Web 3.0 จึงมีแนวคิดมาจากการปราศจากตัวกลาง และสร้างความเป็นส่วนตัว รวมถึงคืนความเป็นเจ้าของข้อมูลให้แก่ผู้ใช้งาน

Web 3.0 จะมีการเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ (Decentralized) ซึ่งแต่ละคนจะมีสิทธิในการจัดการข้อมูลของตนด้วยตัวเอง ไม่จำเป็นต้องผ่านตัวกลางเหมือน Web 2.0 ซึ่งมีการจัดเก็บข้อมูลแบบรวมศูนย์ (Centralized)

แต่อย่างไรก็ตามการบริหารจัดการข้อมูลต่างๆ บน Web 3.0 จะต้องผ่านการตรวจสอบความถูกต้องและความโปร่งใส (Validation) รวมไปถึงการใช้ระบบฉันทมติ (Consensus) ของคนใน Protocol

โดยใน Web 3.0 Platform จะมีการทำงานบนเทคโนโลยี Blockchain พร้อมทั้งมีการทำงานควบคู่กับเทคโนโลยี AI (Artificial Intelligence) เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของแพลตฟอร์มที่ไร้ซึ่งตัวกลาง 

และทำให้ประสิทธิภาพของการใช้งานแพลตฟอร์มดีขึ้น ซึ่งส่งผลให้ผู้ใช้งานแพลตฟอร์มพึงพอใจมากขึ้น จากการตอบสนองที่เป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้งาน พร้อมทั้งมีความเป็นส่วนตัว

  • ตัวอย่างของแพลตฟอร์มต่างๆ ที่มีการพัฒนาจาก Web 2.0 ไปเป็น Web 3.0

การเข้ามามีบทบาทของเทคโนโลยี Web 3.0 ในปัจจุบัน ก็นำมาซึ่งโอกาสทางธุรกิจและการลงทุน ในปัจจุบันมีหลายบริษัท รวมไปถึงกองทุนต่างๆ ที่ให้ความสนใจในการลงทุนในบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี Web 3.0 หรือสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีความเกี่ยวข้องกับ Web 3.0

โดยจากข้อมูลของ Crunchbase ระบุว่าในปัจจุบันได้มีเงินลงทุนกว่า 90,000 ล้านดอลลาร์ ที่ได้ลงทุนในบริษัท Startup ที่เกี่ยวข้องกับ Cryptocurrency, Blockchain และ The Next Internet (Web 3.0) โดยกว่า 17,000 บริษัทที่ได้รับเงินทุนไปนั้น มี 80 บริษัทที่เติบโตเป็นยูนิคอร์น (มีมูลค่าบริษัทมากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์)

บริษัท XSpring Capital จำกัด (มหาชน) หรือ XPG  ในฐานะที่เป็นผู้ลงทุนในธุรกิจด้าน Financial Service ของเมืองไทย ผ่านบริษัทต่างๆประกอบด้วย 4 กลุ่มธุรกิจการเงินที่พร้อมเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน

เพื่อร่วมกันสร้างโอกาสความเชื่อมั่นให้กับกลุ่มนักลงทุนทุกระดับได้แก่ ธุรกิจหลักทรัพย์ โดยบริษัทหลักทรัพย์ กรุงไทย ซีมิโก้ จำกัด ธุรกิจจัดการกองทุน

โดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็กซ์สปริง จำกัด ธุรกิจบริหารสินทรัพย์ โดยบริษัทบริหารสินทรัพย์ เอ็กซ์สปริง เอ เอ็ม ซี จำกัด ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (Broker-Dealer และ ICO portal) โดยบริษัท เอ็กซ์สปริง ดิจิทัล จำกัด

Web 3.0 กับการลงทุน

โดยที่ XPG มีความมุ่งมั่นในการแสวงหาเทคโนโลยีเพื่อนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์และการให้บริการของทางกลุ่ม และร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ (Strategic Partner) กับบริษัทเทคโนโลยี และ Financial Solutions ต่างๆ

นอกจากนี้ XPG ยังมีนโยบายการลงทุนในบริษัทที่มีศักยภาพ และพร้อมที่จะเติบโตร่วมกับทางกลุ่มในอนาคต โดยในปัจจุบันทางกลุ่มสนใจที่จะลงทุนในบริษัทที่มีความเกี่ยวข้องกับ Financial technology (Fintech), ESG (Environment Social Governance), and Consumers-facing/Digital Consumers เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการเติบโตร่วมกันอย่างมั่นคั่งและยั่งยืนในอนาคต

การพัฒนาของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ทำให้ทุกคนไม่สามารถหยุดนิ่งในการศึกษาและพัฒนาตนเอง เฉกเช่นเดียวกันกับบริษัทต่างๆ ดังนั้น เพื่อให้สามารถเติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในอนาคต

ทาง XPG พร้อมที่จะเป็นทั้งพันธมิตรทางธุรกิจ (Strategic Partner) และนักลงทุน (Financial Investor) เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจไปข้างหน้าร่วมกัน โดยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ [email protected]