ไทยยูเนี่ยน เปิดพื้นที่วางผักปลอดภัยบ้านแพ้วขายพนักงาน 7,218 คนต่อวัน

ไทยยูเนี่ยน เปิดพื้นที่วางผักปลอดภัยบ้านแพ้วขายพนักงาน 7,218 คนต่อวัน

“ผลิตอาหารเพื่อเพื่อน” แนวคิดกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพื่อสังคมเกษตรอินทรีย์ คลองตัน (PGS) มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางผัก ผลไม้ปลอดภัย อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร วิถีการทำเกษตรกรรม แบบมีส่วนร่วมและยั่งยืน

เมื่อก่อนเป็นเรื่องยากที่จะปรับเปลี่ยนการทำเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมมาเป็นเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (Participatory Guarantee System หรือ PGS  เนื่องจากเกษตรกรยังไม่มีความเข้าใจ อีกทั้งผลผลิตต่อแปลงต่อไร่ลดลงไปกว่าครึ่งหนึ่ง เมื่อเปรียบกับการใช้สารเคมี ส่งผลต่อรายได้เกษตรกร

แต่ปัจจุบันเกษตกรเริ่มมีความรู้ความเข้าใจ และมีความกล้าที่จะพัฒนาและเปลี่ยนแปลง แม้ช่วงแรกจะ ล้มลุกคลุกคลาน ลองผิดลองถูกบ้าง แต่สมาชิกของกลุ่มวิสาหกิจ แห่งนี้ก็ร่วมกันพลิกแปลงเกษตรกรรม สู่การผลิตผักผลไม้ตามระบบมาตรฐาน PGS

  ไทยยูเนี่ยน เปิดพื้นที่วางผักปลอดภัยบ้านแพ้วขายพนักงาน 7,218 คนต่อวัน

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคมเกษตรอินทรีย์คลองตัน (PGS) อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร เริ่มจดทะเบียนเป็น วิสาหกิจชุมชนเมื่อปี 2560 ตลอดเส้นทางการพัฒนาจากการทำเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมมาสู่ เกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (PGS) มีทั้งการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหลากหลาย หน่วยงาน และเครือข่ายต่างๆ

จากนั้นลงมือทำ และมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ด้วยการบริหารจัดการ อย่างเข้มแข็งของกลุ่ม และการให้ความสำคัญต่อหลักสัมมาอาชีวะ เปลี่ยนวิถีการทำเกษตรกรรมโดย ลด ละ เลิก ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ซึ่งแสดงถึงการดำเนินธุรกิจ ที่ไม่เบียดเบียนต่อทั้งตนเองและลูกค้า ทำให้สามารถคว้ารางวัล วิสาหกิจชุมชนต้นแบบสัมมาชีพ ประเภทการเกษตร ของมูลนิธิสัมมาชีพ ประจำปี 2564 

 

 

 

 

นางสุรนุช บุญจันทร์ ประธานวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคมเกษตรอินทรีย์คลองตัน (PGS) เล่าให้ฟังถึง เส้นทางการ พัฒนาการ ทำเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมมาสู่เกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (PGS) ว่า “เราเริ่มตั้งกลุ่มเกษตรอินทรีย์ คลองตัน อำเภอบ้านแพ้ว เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2549 จำนวนสมาชิก 50 คน ซึ่งมีอาชีพเกษตรกรทำสวนผัก และสวนผักไม้

ตอนนั้น เราทำเกษตรกรรมแบบง่ายๆ ยังมีการใช้ปุ๋ยเคมี และยาฆ่าแมลง เพื่อเพิ่มผลผลิต เกษตรกรขาดความรู้และเทคนิค ต้นทุน การผลิตสูง เจอกับปัญหาพ่อค้าคนกลาง และปัญหาสินค้าเกษตรมีราคาตกต่ำ”

“จุดพลิกผันจริงๆ ที่ทำให้เราเข้ามาทำเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม หรือ PGS คือ การได้ทุนเรียนปริญญาตรี หลักสูตรศิลปะศาสตร์บัณฑิต สาขาผู้ประกอบการสังคม ที่สถาบันอาศรมศิลป์ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกษตรอินทรีย์ แบบมีส่วนร่วม (PGS) กับเครือข่ายสวนเงินมีมา ที่เข้ามาช่วยส่งเสริมกระบวนการกรอบ การทำงานแบบ PGS

ตรงนี้เองได้จุดประกายให้กับกลุ่มจนเกิดแปลงตัวอย่าง 9 แปลงแรกที่ใช้ระบบ PGS หลังจากนั้นก็เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยน เรียนรู้กับเครือข่ายต่างๆ อีกมากมาย เพื่อปรับปรุงข้อบกพร่อง และสร้างมาตรฐานการทำงานของกลุ่มเช่น การทำเอกสาร การตรวจแปลง และการทำบันทึกแปลง”

ไทยยูเนี่ยน เปิดพื้นที่วางผักปลอดภัยบ้านแพ้วขายพนักงาน 7,218 คนต่อวัน

ปัจจุบันสมาชิกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์คลองตัน มีแปลงที่ผ่านการรับรองระบบ PGS แล้วจำนวน 5 แปลง คิดเป็นพื้นที่การผลิต 53 ไร่ และมีแปลงที่ได้รับการรับรองในระยะปรับเปลี่ยนจำนวน 27 แปลง คิดเป็นพื้นที่ 187 ไร่ 2 งาน สมาชิกใหม่ รอการอบรมปรับเปลี่ยน จำนวน 41 ราย พื้นที่ 139 ไร่

 

“ผมอยากให้ผู้บริโภคได้ทานผักปลอดสาร และคนปลูกก็ปลอดภัย สุขภาพร่างกายแข็งแรง ปราศจากสารเคมีตกค้าง” นายณัฐวัณน์ บุญหลง หนึ่งในสมาชิกของกลุ่มและเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ บอกถึงเหตุผลของการมาทำเกษตรอินทรีย์

 

“ผมเพิ่งเข้ามาเป็นสมาชิกเมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว แปลงตรงนี้เคยเป็นบ่อเลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลามาก่อน จะมาปลูกผักเกษตรอินทรีย์ แบบผสมผสาน” แม้ว่าจะยังไม่ได้ทุนคืนจากการลงทุน แต่ณัฐวัณน์ บอกว่า “ดีกว่าเอาเงินนี้ไปเล่นพนันแล้วเสีย ซึ่งไม่ได้ อะไรกลับมาอีกทั้งกลุ่มยังประกันราคาผักให้ทั้งปีซึ่งจะสูง กว่าราคาตลาดปกติ”

 

การทำเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนนี้ได้น้อมนำหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มาเป็นแนวทางในการทำงานโดยการสร้างความรู้ความเข้าใจ ให้กับสมาชิกคิดปรับเปลี่ยน วิถีเกษตรแบบเดิมมาทำเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสานง่ายๆ ก่อน จากนั้นต้องเข้าถึงกัน สร้างระบบการ พัฒนาร่วมกัน ช่วยเหลือและปรับปรุง ไปด้วยกัน และสุดท้ายคือการพัฒนาลงมือทำเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาศักยภาพเกษตรกร

 

 

ผ่านมาทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคมเกษตรอินทรีย์คลองตันได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงาน ทั้งเรื่ององค์ ความรู้ เงินทุน และช่องทางการจำหน่าย

 

ปัจจุบันทางกลุ่มมีการส่งผลิตภัณฑ์ผักปลอดภัยให้กับหลายโรงพยาบาลในจังหวัดสมุทรสาครเช่น โรงพยาบาลสมุทรสาคร โรงพยาบาลกระทุ่มแบน โรงพยาบาลบ้านแพ้ว และโรงพยาบาลวิชัยเวช โดยมีบริษัทประชารัฐรักสามัคคี สมุทรสาคร (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด ช่วยเป็นผู้ประสาน และเชื่อมโยงกลุ่มให้กับ โรงพยาบาล อีกทั้งทางประชารัฐฯ ยังสนับสนุน ห้องเย็น เพื่อเก็บผักผลไม้ได้นานขึ้นเพิ่มศักยภาพ ด้านการบริหารจัดการผลผลิตทางการเกษตรให้กับชุมชน

 

และยังมีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ที่ช่วยสนับสนุนเงินทุน นอกจากนี้ ยังได้รับการสนุนจาก บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ในการเอื้อเฟื้อพื้นที่ภายในโรงงาน ซึ่งในโรงงานมีพนักงานกว่า 7,218 คนทำงานในแต่ละวัน สำหรับวางจำหน่ายสินค้าผักผลไม้ปลอดภัยของกลุ่มอีก ด้วย

ด้วยศักยภาพและการบริหารจัดการของชุมชน และคณะทำงานที่เข้มแข็ง ทำให้กลุ่มมีความพร้อม และสามารถจัดทำช่องทาง จำหน่ายทางออนไลน์ภายใต้แบรนด์สินค้า “We Farm”  ผ่านทางเว็บไซต์วีฟาร์ม  และทางเฟสบุ๊คเพจ เฟสบุ๊ค wefarmlive ทั้งนี้สินค้าของทางกลุ่ม ยังมีวางจำหน่ายที่ตลาดจริงใจ ในท็อปซุปเปอร์มาร์เก็ต อีกด้วย

 

นอกจากนี้ ทางกลุ่มมีแผนที่จะเชื่อมโยงสินค้าจากกลุ่มเกษตรกร และกลุ่มแปรรูปต่างๆ ที่อยู่ในจังหวัดสมุทรสาคร ให้นำสินค้าเข้ามาขายในแพลตฟอร์มออนไลน์นี้ด้วย ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมาย ของกลุ่มที่จะเป็นแหล่งรวบรวม ผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย ของจังหวัดสมุทรสาคร

 

นางสุรนุช บอกต่อว่า วิสัยทัศน์ของกลุ่มคือ ชุมชนมั่งคง เกษตรกรมั่งคั่ง เกษตรกรรมยั่งยืน ซึ่งมีพันธกิจที่จะพัฒนา องค์ความรู้เรื่องการทำเกษตรอินทรีย์ และนำความรู้การทำการเกษตรแบบดั้งเดิมมาประยุกต์ใช้ร่วมกับนวัตกรรม และเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อก้าวสู่การทำเกษตรแบบ “สมาร์ทฟาร์มบ้านแพ้ว” รวมถึงตั้งศูนย์เรียนรู้ เทคโนโลยีเกษตรและภูมิปัญญาเพื่อถ่ายทอดองค์ ความรู้ พัฒนาและส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกรเพื่อทำ เกษตรอินทรีย์ ซึ่งได้มีการจัดอบรมไปแล้ว แต่เนื่องด้วย สถานการณ์โควิด 19 ทำให้ต้องชะลอการจัด อบรมไปก่อนช่วงนี้

ไทยยูเนี่ยน เปิดพื้นที่วางผักปลอดภัยบ้านแพ้วขายพนักงาน 7,218 คนต่อวัน