“พลังงาน” ชูกลยุทธ์ 4D นำประเทศไทยสู่เป้าหมาย “Net Zero”
“พลังงาน” ระบุ “ภาคพลังงาน-อุตสาหกรรม” ปล่อยก๊าซคาร์บอนกว่า 70% เน้นจุดยืนใช้กลยุทธ์ 4D นำประเทศไทยสู่เป้าหมาย “Net Zero”
นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวในงานเสวนา “ถามมา-ตอบไป เพื่อประเทศไทยที่ดีกว่าเดิม” (Better Thailand Open Dialogue) หัวข้อ "สิ่งแวดล้อมยุคใหม่ เติบโตไปพร้อมกับเศรษฐกิจ" ว่า 70% ของภาคธุรกิจที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนมากสุดมาจากภาคพลังงานและภาคขนส่งถึง 64% ปีละ 247 ล้านตันปล่อยคาร์บอน โดย 2 ใน 3 หรือ 157 ล้านตัน มาจากภาคพลังงานโดยการผลิตไฟฟ้าถึง 36%
อย่างไรก็ตาม การที่ภาคพลังงานและขนส่งปล่อยคาร์บอนเยอะนั้น เพราะใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล โดยการผลิตไฟฟ้า ทั้ง น้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ แม้ก๊าซธรรมชาติจะเป็นพลังงานสะอาด แต่ก็ยังถือว่าเป็นฟอสซิลราว 70% และที่เหลือมาจาก และน้ำมันเตาถ่านหิน 17% พลังงานน้ำ 2% พลังงานหมุนเวียนอีก 11% และที่เหลือมาจากก๊าซธรรมชาติ
ในขณะที่ภาคขนส่งโดยการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) สัดส่วนแค่หลัก 1 หมื่นคัน อีก 96% ยังคงใช้น้ำมันเบนซินและดีเซลซึ่งน้ำมันดีเซลใช้ในเรื่องของค่าขนส่งรถกระบะ 75% ของผู้ใช้น้ำมัน เมื่อสถานการณ์ที่จะลดโลกร้อนหรือไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนปี 2050 จะต้องมาดูในเรื่องของการควบคุมตรงนี้ ซึ่งเราเจอวิกฤตซ้ำในเรื่องของการใช้น้ำมัน ก๊าซต่างๆ โดยช่วงโควิดที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบโลกลงไปถึง 20 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ประเทศที่ผลิตน้ำมันมีการลดกำลังการผลิตลง
เมื่อเศรษฐกิจค่อนข้างผ่อนคลายมีการฉีดวัคซีน การเดินทางและเศรษฐกิจดีขึ้น ความต้องการในการใช้น้ำมันสูงราคาน้ำมันก็สูงขึ้นช่วงกลางปี 2564 ราคาขยับที่ 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพราะกลุ่มโอเปก พลัส ยังคงกำลังการผลิตไว้เท่าเดิม จนมาถึง 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลช่วงสิ้นปี พอวิกฤตการณ์สงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ราคาขยับมาที่ 150 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยปัจจุบันลงมาที่ 105 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในขณะที่น้ำมันดีเซลโลก ปัจจุบันอยู่ที่ 140 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ในส่วนของก๊าซธรรมชาติที่เราใช้ถึง 70% จากราคาอยู่ที่ 7-8 ดอลลาร์ในปี 2563 พอวิกฤตการณ์รัสเซีย-ยูเครน ราคาขึ้นมาถึง 85 ดอลลาร์ ทยอยลดลงก็ยังปิดอยู่ที่ 20.7 ดอลลาร์ ณตลาดญี่ปุ่นเกาหลี ในขณะที่ก๊าซหุงต้ม LPG ราคาจริงถัง 15 กก. อยู่ที่ 147 บาท กระทรวงพลังงานตรึงไว้ที่ราคาถังละ 318 บาท และได้เริ่มขัยบมา 2 ครั้ง กิโลกรัมละ 1 บาท โดยใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงอุดหนุน 2 ปี เมื่อรวมกับวิกฤตราคาดีเซล จากเงินที่กองทุนน้ำมันมีอยู่ 3-4 หมื่นล้านบาท ขณะนี้ติดลบแล้วกว่า 72,000 ล้านบาท โดยรวมใช้เงินไป 1.2 แสนล้านบาท
นายกุลิศ กล่าววา รัฐบาลได้มีนโยบายเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน 20% และจะเพิ่มขึ้น 25-30% โดยสิ่งที่ทำได้คือการกระตุ้นใช้พลังงานหมุนเวียนภาครัฐโดยปรับปรุงแผนพลังงานชาติ 20 ปี ซึ่งจากนี้ไปจนถึงปี 2573 ในการส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนให้ได้มีการผลิตไฟฟ้า 50% ปี 2583 และใช้รถไฟฟ้าส่งเสริม EV การผลิตให้ได้ 30% ของการผลิตลดทั้งหมดปี 2030 หรือ ปีพ.ศ. 2573 การเพิ่มประสิทธิภาพประหยัดพลังงานให้ได้ 30%
ทั้งนี้ ได้กำหนดเป็นมาตรการ 4D ประกอบด้วย
1. D-carbonization ลดการปล่อยคาร์บอนในการผลิตไฟฟ้า เพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนแทนถ่านหิน โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ผ่าน Solar กำหนดไว้ในแผนใหม่ที่ 4,500 เมกะวัตต์ จะผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ผ่าน 9 เขื่อนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยกำหนดไว้ที่ 20 ปี เพิ่มเป็น 1,000 เมกะวัตต์ เพิ่มสัดส่วนจาก Solar rooftop บ้าน-คอนโด 200 เมกะวัตต์ และจากโซล่าฟาร์ม 3,300 เมกะวัตต์ เพิ่มสัดส่วนพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมจาก 300 เมกะวัตต์ไปถึง 1,500 เมกะวัตต์
เพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชน ขยะอุตสาหกรรมเป็น 800 เมกะวัตต์ สร้างโรงงานไฟฟ้าขยะขึ้นโรงไฟฟ้าชุมชน 800 เมกะวัตต์ ตอนนี้ดำเนินการให้ไปแล้ว 105 เมกะวัตต์ จากชีวมวล จากวัสดุเหลือใช้เกษตรมาแปรเปลี่ยนเป็นพืชพลังงานตรงนี้มาเป็นเชื้อเพลิง และซื้อไฟฟ้าจากพลังงานน้ำจากประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีการผลิตเยอะเราถูกจำกัดในเรื่องของการสร้างเขื่อน
นอกจากนี้ ยังมีเทคโนโลยี CCUS การกักเก็บก๊าซคาร์บอนและเอามาใช้ประโยชน โดยขณะนี้ ปตท.สผ.ได้เริ่มเก็บก๊าซคาร์บอนในแท่นขุดเจาะก๊าซปิโตรเลียมและน้ำมันในอ่าวไทย คือแท่นอาทิตย์ จะเป็นตัวอย่างโครงการนำร่อง การทำกรีนไฮโดรเจน โดยเอาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนมาเปลี่ยนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นก๊าซไฮโดรเจนและกักเก็บเอาไว้และปล่อยมาผลิตกระแสไฟให้เป็นพลังงานสะอาด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ
2. D-digitalization โดยนำอินเตอร์เน็ตออฟติงมาใช้ในภาคพลังงาน เรียกว่า Internet of Energy โดยใช้ AI ช่วยเรื่องการจัดเก็บวิเคราะห์ข้อมูลทำ ดาต้า แพลตฟอร์ม ใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เข้าสู่ระบบกริดในพื้นที่ต่างๆไปถึง Smart สายส่งอัจฉริยะ ช่วยดูว่าใช้ไฟไปเท่าไหร่และมีหน่วยงานเก็บเงิน แต่มิเตอร์สมัยใหม่จะเก็บและรับเงินจากไฟฟ้าส่วนเกินที่มาจากหลังคาและชาร์จไฟกลับเข้าระบบมิเตอร์เป็น Digital Twin เป็นต้น
3. D-centralization ถือเป็นการใช้โรงไฟฟ้าขนาดเล็ก มีระบบไมโครกริดขายไฟฟ้าเข้าระบบจ่ายไฟระบบใหญ่ สามารถขายไฟฟ้าออนไลน์ ซึ่งเป็นไฟฟ้าสะอาด และ 4. D-regulation เมื่อปรับปรุงเทคโนโลยีใหม่ๆ กฎระเบียบต่างๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นจะต้องเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกัน