“เอสซีจี” ชูกลยุทธ์ “ESG 4 Plus” เคลื่อนธุรกิจยุคใหม่ลดปัญหาโลกร้อน
“เอสซีจี” ชูกลยุทธ์ “ESG 4 Plus” เคลื่อนธุรกิจยุคใหม่ก้าวผ่านวิกฤตโลกร้อน ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 20% ปี 2030 ดันเป้า เน็ต ซีโร ปี 2050
นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCG กล่าวในงานเสวนา “ถามมา-ตอบไป เพื่อประเทศไทยที่ดีกว่าเดิม” (Better Thailand Open Dialogue) หัวข้อ "สิ่งแวดล้อมยุคใหม่ เติบโตไปพร้อมกับเศรษฐกิจ" ว่า ปัญหาโควิด-19 ถือว่าใกล้จะจบแล้ว แต่ที่เจอคือวิกฤตในเรื่องของเงินเฟ้อ ส่วนหนึ่งมาจากต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้น และสิ่งที่มองไปไม่ไกลอีกเรื่องคือ ปัญหาโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ถือเป็นโจทย์ใหญ่มาก และใหญ่ที่สุดใน 10-20 ปีข้างหน้า และยังหวังว่าจะไม่ใหญ่หากแก้ได้ แต่ถ้าแก้ไม่ได้จะเป็นเรื่องที่ใหญ่มาก
ทั้งนี้ หากพูดถึงมิติโลกร้อนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 1. การปล่อยก๊าซเรือนกระจก 2. การเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ถือเป็นสิ่งที่ชัดเจนไม่ว่าจะเป็นคุณภาพของน้ำ ป่า ดิน ฯลฯ และ 3. การเหลื่อมล้ำทางสังคม จะเป็นผลและปัจจัยซึ่งทำให้ ข้อ 1 และข้อ 2 ซึ่งคนเราถ้ามีความเหลื่อมล้ำคงไม่คิดถึงเรื่องของโลกร้อน แต่จะคิดถึงเรื่องขงอปากท้องมากกว่า ดังนั้นทั้ง 3 เรื่อง ทุกภาคส่วนจะต้องมีบทบาท
อย่างไรก็ตาม SCG มีกลยุทธ์ ESG 4 Plus ซึ่ง SCG ถือเป็นภาคอุตสาหกรรม เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาด้วย ดังนั้น สิ่งที่ต้องทำคือ 1. ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงตั้งเป้าปี 2050 จะเป็น Net Zero แต่มี target ระยะใกล้ปี 2030 จะลดการปล่อยลง -20% ถึงแม้ธุรกิจจะโตก็จะจะต้องลดให้ได้ 20% จากปริมาณคาร์บอนที่ปล่อยออกไปทั้งหมด โดยวิธีที่ง่ายที่สุด คือการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. ใช้พลังงานทดแทนให้มากที่สุด ผลิตภัณฑ์ของ SCG จึงต้องหันมาใช้ไบโอแมส มากขึ้น ซึ่งกระบวนการผลิตจำเป็นจะต้องมีการลงทุนจำเป็นจะต้องมีการพัฒนานวัตกรรมในเรื่องของการปรับปรุงกระบวนการผลิต ถือเป็นตัวอย่างและเรื่องของเน็ต ซีโร่ ปัจจุบัน SCG มีสินค้าที่โล คาร์บอน และอีก 2 ปีจะลดให้ได้อีก 15-20%
นอกจากนี้ ในเรื่องของ Packaging ซึ่งเป็นธุรกิจหลักของ SCG การดีไซน์จะต้องทำอย่างไรให้แพคเกจจะต้องออกแบบให้รีไซเคิลได้ ซึ่งต้องใช้เทคโนโลยีออกแบบให้เป็น Mono material เข้ามาร่วม ดังนั้น ในเรื่องของโกกรีนในมุมมองของ SCG ผลิตสินค้าที่เป็น Green product เพราะโลกมีการพัฒนามาก ของวันนี้ที่มีโลคาร์บอน อีก 2 ปี จะไม่ใช่โลคคาร์บอนแล้วเพราะคนอื่นทำหมดแล้ว SCG จึงต้องเป็น Lower Carbon ซึ่งวัสดุในเรื่องของ Chemical ที่ใช้เดิม low Carbon จะต้องมีมิกซ์ถือเป็นเป้าหมายของโก กรีน
3. เรื่องของสังคม เป็นการต้องการที่ลดความเหลื่อมล้ำ บางคนอาจจะถามว่าธุรกิจไปยุ่งอะไรกับความเหลื่อมล้ำ หากมองในแง่ของภาคประชาชนสามารถก้าวไปด้วยกันได้ SCG จะต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง มองในลักษณะที่ว่าไม่ใช่ไปจากเดิมที่เงินเป็นตัวหลัก ตอนนี้อิมแพคในเรื่องของสิ่งแวดล้อมการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น การรีสกิล กลุ่มที่อยู่ใน supply chain ของ SCG ถือเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ ประเทศไทยจะต้องยอมรับในเรื่องของแรงงานมีข้อจำกัด ไม่ได้มีประชากรที่เพิ่มขึ้นมาก ดังนั้นประชากรที่มีขึ้นอยู่ทำยังไงจะใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด คือสนับสนุนเทคโนโลยี
ทั้งนี้ ในเรื่องของการเทรนภาคเอกชนช่วยได้มากกว่าภาครัฐ เพราะการรีสกิลที่ดีที่สุดคือการรีสกิลในที่ที่สามารถปฏิบัติได้ ได้รองปฏิบัติแล้วสามารถเป็นอาชีพได้ อีกสิ่งสำคัญ คือ ความร่วมมือ SCG ได้ร่วมกับลูกค้า อาทิ ผู้รับเหมาเจ้าของโครงการทำมา 3-4 ปี ได้รับการตอบรับที่ดีมาก เมื่อนึกถึงภาพสินค้าของผู้ผลิตการเอาไปใช้ได้ประโยชน์ที่สุดใช้แล้วได้ทรัพยากรมีผลกระทบน้อยที่สุด คนใช้ต้องมีส่วนร่วม ดังนั้น จึงจำเป็นจะต้องใช้ Network กับคนที่เกี่ยวข้อง
4. นวัตกรรม ซึ่งผู้ผลิตภาคเอกชนได้ช่วยกันอยู่แล้ว โดยมีภาครัฐที่เป็นตัวเสริมจะทำให้ต่อยอดเทคโนโลยีปัจจุบันให้ดีขึ้นได้ และ 5. ความโปร่งใส จริงๆ มองดูเหมือนง่ายผลของความโปร่งใส คือความเชื่อ ถือเป็นเรื่องสำคัญมากของภาคเอกชนปัจจุบันคือสร้างปัญหาโลกร้อนส่วนหนึ่ง ดังนั้นภาคเอกชนจำเป็นที่จะสร้างความโปรงใสให้เกิดขึ้น