“เอสซีจี”ลุยก้าวข้ามโควิด เกาะเทรนด์“สุขภาพ-อีวี”
การรับมือวิกฤติแต่ละครั้งของเอสซีจีแตกต่างไปนับตั้งแต่วิกฤติต้มยำกุ้ง วิกฤติซับไพร์ม วิกฤติมาบตาพุดและวิกฤติน้ำท่วมใหญ่ และล่าสุดเจอวิกฤติโควิด-19 แต่ที่สำคัญการเจอวิกฤติแต่ละครั้งทำให้เอสซีจีได้นำมาเป็นบทเรียน รวมถึงวิกฤติโควิด ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญ
รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เปิดเผยว่า การระบาดของโรคโควิด-19 ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ต้นปี 2563 ขณะนี้การระบาดยังไม่สิ้นสุด ซึ่งทำให้การประเมินผลสุทธิต้องรอให้การระบาดจบแต่เชื่อว่าผลกระทบมหาศาลกว่าวิกฤติอื่นในอดีต
"สิ่งที่เราเจอในขณะนี้เป็นเพียงสิ่งที่เราเห็น ดูจากรัฐบาลทั่วโลกใส่งบประมาณจำนวนมากเพื่อช่วยเหลือและชาชนและภาคธุรกิจ ดังนั้นผลกระทบจากมากกว่าวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540”
การรับมือวิกฤติแต่ละครั้งของเอสซีจีแตกต่างไปนับตั้งแต่วิกฤติต้มยำกุ้ง วิกฤติซับไพร์ม วิกฤติมาบตาพุดและวิกฤติน้ำท่วมใหญ่ และล่าสุดเจอวิกฤติโควิดข19 แต่ที่สำคัญการเจอวิกฤติแต่ละครั้งทำให้เอสซีจีได้นำมาเป็นบทเรียน
สำหรับเงื่อนไขการสิ้นสุดของวิกฤติโควิด-19 ขึ้นกับ 2 ปัจจัย คือ 1.การฉีดวัคซีน ซึ่งหลายประเทศมีวัคซีนเพียงพอ เช่น จีน อังกฤษ รวมทั้งมีสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้น แม้วัคซีนที่พัฒนาอยู่ในปัจจุบันจะป้องกันสายพันธุ์ใหม่ไม่ได้ แต่ช่วยให้ผู้ฉีดวัคซีนติดเชื้อยากขึ้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องฉีดวัคซีนให้ได้จำนวนมาก เพราะถ้าฉีดน้อยอาจถูกโจมตีจากสายพันธุ์ใหม่
2.ความเข้มแข็งของระบบสาธารณสุข ซึ่งไม่ใช่ความเข้มแข็งเฉพาะหมอหรือการเฝ้าระวังการระบาด แต่ครอบคลุมถึงพฤติกรรมของประชาชนด้วย
ทั้งนี้ ปัจจุบันไทยมีผู้ติดเชื้อ 6 หมื่นคนในรอบ 1 ปี เศษ และเสียชีวิตในหลักร้อยคน ซึ่งที่ผ่านมาไทยไม่กล้าเปิดประเทศเพราะกัลวลใจการนำเข้าเชื้อจากต่างประเทศ ซึ่งถือเป็นปัญหาความเชื่อมั่นที่มีผลกระทบต่อไทย โดยสิ่งที่น่ากังวล คือ การที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจถูกปิด-เปิด ซึ่งทำให้การดำเนินธุรกิจลำบากเพราะมีความไม่แน่นอนสูง
“ข้อดีตอนนี้ คือ คนอยากเที่ยวทั้งคนไทยและคนต่างชาติ ดังนั้นถ้าสิ้นปีเราฉีดวัคซีนได้คนละ 2 เข็ม และชาวต่างชาติที่มาไม่ต้องกักตัวจะทำให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามามาก แต่ถ้าต้องกักตัวในพื้นที่ที่จัดไว้และใช้เวลาไม่นานก็มีคนสนใจมาเที่ยว เช่น เกาะ”
แต่วิฤติโควิด-19 ยังไม่จบยังคงต้องเฝ้าระวังกันต่อไป โดยกุญแจหลักของการแก้ปัญหา คือ การฉีดวัคซีนให้ทั่วถึงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะปัจจุบันน่าเป็นห่วงสูงเพราะการระบาดในระลอกนี้จะกระทบเศรษฐกิจรุนแรง หากปิดระบบเศรษฐกิจอีกรอบจะทำให้ทุกฝ่ายขาดความมั่นใจ เพราะมีความไม่แน่นอนสูง
สำหรับเอสซีจีได้ประเมินผลกระทบจากโควิด-19 ต่อเนื่องนับตั้งแต่มีการระบาด โดยเห็นว่าสถานการณ์ลักษณะนี้จะมี “ความต้องการพื้นฐาน” และเมื่อพิจารณาธุรกิจของเอสซีจีที่อยู่คู่กับที่อยู่อาศัยและการก่อสร้าง ทำให้วิกฤตโควิด-19 ครั้งนี้ เอสซีจี ใช้ประสบการณ์ที่มีอยู่นำมาปรับตัว ทำให้รับมือได้ดีกว่าค่าเฉลี่ยบริษัททั่วไป
ผลจากการระบาดทำให้ความต้องการผู้บริโภคเปลี่ยนไป และให้ความสำคัญกับสุขอนามัยมากขึ้น ดังนั้น เอสซีจี จึงปรับผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับบ้าน และอุปกรณ์ก่อสร้างไปสู่เทรนด์ “สุขภาพ” มากขึ้น เช่น สุขภัณฑ์ที่ชำระล้างโดยไม่ต้องสำผัส สร้างระบบกำจัดฝุ่นและเชื้อโรคในที่พักอาศัย ส่วน “กลุ่มบรรจุภัณฑ์” ได้ทำบรรจุภัณฑ์ที่ทนต่อแสงยูวีฆ่าเชื้อโรค “กลุ่มเคมีคอล” ได้ผลิตแผ่นกรองเส้นใยที่ใช้สนการกรองฝุ่นพีเอ็ม 2.5 และกรองเชื้อโรคที่ได้มาตรฐานโลก ซึ่งวิกฤติทำให้เอสซีจีเข้มแข็งขึ้นและได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องความต้องการของตลาดมากขึ้น
“ธุรกิจ Wellbeing จะมีโอกาสที่สูงมากในอนาคต ซึ่ง เอสซีจี ได้ปรับธุรกิจที่มีอยู่ให้เดินหน้าไปในแนวทางนี้ และสุดท้ายอาจจะเป็นธุรกิจหลักของเอสซีจี"
รวมทั้งการพัฒนาไปสู่สินค้าประหยัดพลังงาน หรือสินค้าที่เอื้อต่อการนำไปใช้ในเรื่องพลังงานสะอาด เหมาะกับสังคมคาร์บอนต่ำ เช่น ผลิตภัณฑ์ป้องกันความร้อน เพื่อลดการใช้พลังงาน หลังคาบ้านที่เหมาะกับการติดโซลาร์เซลล์ ที่เชื่อมต่อไปยังระบบชาร์ตไฟฟ้าให้กับ รถยนต์ไฟฟ้า หรือ อีวี
สำหรับ อีวีเป็นธุรกิจที่น่าสนใจ แต่มีการพัฒนาเทคโนโลยีไปมากจากผู้ผลิตหลายรายทั้งบริษัทรถยนต์ที่ผลิตเครื่องยนต์สันดาปมาก่อนและผู้ผลิตแบตเตอรีเข้ามาผลิตอีวีด้วยตลาด ซึ่งจะเห็นค่ายรถยนต์ทุกค่ายมีการพัฒนาอีวี ซึ่งแสดงให้เห็นชัดว่าเทรนด์ธุรกิจอีวีมาแน่นอน เพียงแต่จะมาเร็วแค่ไหนหรือจะมีขนาดตลาดเท่าไหร่มีหลายตัวแปรเกี่ยวข้อง
“การที่เอสซีจีสนใจอีวีเพราะเราเชี่ยวชาญเรื่องที่อยู่อาศัยที่อนาคตจะผลิตไฟ้ฟ้าเองได้จากโซลาร์เซลล์ และถ้าภาครัฐเปิดให้ซื้อขายไฟฟ้าแบบ Peer to Peer ได้ก็น่าสนใจที่จะเข้ามาสร้างธุรกิจที่มีการเชื่อมโยงกัน และถ้าทำได้จะเกิดระบบพลังงานทางเลือก"
ทั้งนี้ หากเราเชื่อว่าโลกกำลังเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ดังนั้น ยานยนต์ไฟฟ้าจะมาแน่ ซึ่งล่าสุดได้เปิดตัว EV Solution Platform โซลูชันที่ให้บริการด้านยานยนต์ไฟฟ้าและพลังงานสะอาดครบวงจร เพื่อรองรับการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม
“เอสซีจี“ผนึกพันธมิตร
สร้างแพลตฟอร์ม“อีวี”
การเข้าสู่ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ของ เอสซีจี ในช่วงที่ผ่านมาดำเนินการผ่านบริษัท เอสซีจี อินเตอร์เนชั่นแนล คอร์ปอเรชั่น จำกัด โดยปี 2562 ได้ลงนามความร่วมมือกับ บริษัทบีวายดี ออโต้ อินดัสทรี จำกัด เพื่อศึกษาและพัฒนาธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า โดยใช้จุดแข็งของเอสซีจี อินเตอร์เนชั่นแนล ที่มีช่องทางจำหน่ายเข้มแข็ง แลบริษัทบีวายดี ออโต้ อินดัสทรี จำกัด ที่เชี่ยวชาญนวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตอีวี
ต่อมาเอสซีจี อินเตอร์เนชั่นแนล พัฒนาแพลตฟอร์มที่เป็น Ecosystem ของยานยนต์ไฟฟ้าแบบครบวงจร โดยใช้แนวคิด “Smart Clean Mobility” ซึ่งครอบคลุมการส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการ 7 ขั้นตอน คือ 1.การคัดสรรผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าโดยเน้นที่คุณภาพและความปลอดภัยของแบตเตอรี่
2.บริการจัดหาอุปกรณ์อัดประจุไฟฟ้า ระบบกักเก็บพลังงาน และเทคโนโลยีใหม่รองรับการใช้งานร่วมกับพลังงานทางเลือก เช่น Solar roof 3.การเตรียมศูนย์กระจายชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ไฟฟ้า 4.การประกอบรถยนต์ 5.การซ่อมบำรุง 6.Internet of Vehicle การพัฒนาระบบ IoT ในรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อตอบโจทย์การบำรุงรักษา การติดตามสถานะการทำงานแบบเรียลไทม์
7.สถานีชาร์จ โดยสร้างเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้า 8.การเงิน โดยนำเสนอรูปแบบทางการเงินที่หลากหลา เช่น สัญญาเช่าซื้อ
ทั้งนี้ ปัจจุบัน เอสซีจี อินเตอร์เนชั่นแนล มีบริการจัดหายานยนต์พลังงานไฟฟ้าสำหรับลูกค้าองค์กร เช่น รถยก (EV Forklift) รถบรรทุก (EV Truck and EV Trailer) รถบัส (EV Bus) รถตู้ขนาดเล็ก (EV mini-Van) และรถยนต์นั่งส่วนบุคคล