นักลงทุนรอติดตามผลของสภาพคล่องที่หายไปที่อาจกระทบต่อสินทรัพย์เสี่ยง

นักลงทุนรอติดตามผลของสภาพคล่องที่หายไปที่อาจกระทบต่อสินทรัพย์เสี่ยง

ธนาคารกลางสหรัฐฯ เริ่มลดงบดุลเป็นวันแรก บรรยากาศลงทุนในหลายตลาดยังอยู่ในภาวะชะลอตัวและเบาบางลง หลังนักลงทุนรอดูผลกระทบของการดำเนินมาตรการลดงบดุล (Quantitative Tightening: QT)

ของธนาคารกลางสหรัฐฯที่มีโอกาสกระทบต่อสภาพคล่องในการลงทุน และรอดูผลกระทบต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่จะเกิดขึ้น  ทั้งนี้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ขยับขึ้น (เป็น 2.91% จาก 2.86%) และดัชนีค่าเงินสหรัฐฯ ที่แข็งค่าขึ้น (เป็น 102.5 จาก 101.78) กระทบเชิงลบต่อภาพรวมบรรยากาศการลงทุน และอาจกระทบต่อเงินทุนไหลเข้า (Fund Flow) ทำให้ภาพรวมการลงทุนหุ้นขนาดใหญ่ อาจเคลื่อนไหวได้จำกัด ขณะที่หุ้นขนาดกลาง-เล็ก ที่พึ่งกาเม้ดเงินจากนักลงทุนในประเทศ และมีปัจจัยบวกเฉพาะตัว อาจเคลื่อนไหวได้ดีกว่า
 

กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม มีแนวโน้มที่ดีขึ้น แม้ในระยะสั้นหุ้นในกลุ่มอาจจะได้รับผลกระทบจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น แต่แนวโน้มในระยะต่อไปปรับดีขึ้น เนื่องจาก 1) ราคาสินค้าที่มีแนวโน้มปรับสุงขึ้น ทำให้ทยอยปรับเพิ่มราคาขายได้ ทำให้อัตรากำไรปรับดีขึ้น 2) ค่าระวางเรือที่ปรับลดลง ทำให้การส่งออกในปีนี้ มีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยเฉพาะสินค้าที่หนักและกำไรไม่สูง (อาทิ น้ำผลไม้ ซอส เครื่องกระป๋อง) 3) ราคาวัตถุดิบบางตัวเริ่มปรับลดลง อาทิ ข้าวสาลี ข้าวโพด โดยมีข่าวรัสเซียอาจเปิดให้ยูเครนกลับมาส่งออกผ่านท่าเรือที่มาริอูโปล (คิดเป็น 90% ของการส่งออกของยูเครน) เป็นปัจจัยทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทางการเกษตรหลายตัว ชะลอลงในระยะสั้น // สำหรับกลุ่มอาหาร เรามองสถานการเป็นบวกต่อ CPF, GFPT และ NSL // สำหรับกลุ่มน้ำผลไม้ และเครื่องปรุง เรามองผลประกอบการระยะสั้นจะยังขาดทุน แต่มีแนวโน้มปรับดีขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยบวกต่อการเก็งกำไร ABICO, MALEE, TIPCO และ XO เป็นต้น (หุ้นทั้ง 4 ตัวนี้ ไม่ได้อยู่ใน coverage ของเรา)
 

 

 

ประเด็นเก็งกำไรอื่น 1) กลุ่มเครื่องดื่ม อาทิ OSP, CBG, ICHI, SAPPE 2) กลุ่มท่องเที่ยว CENTEL, ERW, MINT, BAFS, AAV, SHR 3) กลุ่มเปิดเมือง CPALL, MAKRO 4) หุ้นกลุ่มที่ปรับลดลงมามาก หรือเก็งราคาน้ำมันลง SCGP, BJC, EPG, SCC, BGRIM, GPSC 5) หุ้นเด่นกลุ่มพลังงาน OR 6) กลุ่มอาหารและเกษตร CPF, GFPT, TFG, TU, KSL, KTIS, KBS 7) กลุ่มขนส่ง WICE, LEO, NCL, MOONG และ 8) กลุ่มการเงิน MTC, SAWAD, TIDLOR, KCAR, THANI, TSR

ภาพรวมกลยุทธ์: แกว่งตัว 1,650-1,680 จุด นักลงทุนระยะสั้นชะลอเก็งกำไรหาก SET วกลงต่ำกว่า 1,650 จุด การเก็งกำไรระยะสั้นเน้นหุ้นที่ปรับลดลงมากหรือยังขึ้นน้อยมีโอกาสฟื้นตัวได้ดี (การเงิน, อาหาร, ขนส่ง) ขณะที่การลงทุนเน้นในหุ้นใหญ่พื้นฐานดีที่ valuation ไม่แพงหรือกระแสเงินสดสูงที่สามารถจำกัด downside risk ได้เป็นหลัก โดยใช้จังหวะปรับลดลงแรงในการทยอยซื้อหรือสะสมรายตัว //หุ้นแนะนำ:  CPF*, NSL*, THANI*, VRANDA*

แนวรับ: 1,650 / แนวต้าน : 1,663-1,680 จุด สัดส่วน : เงินสด 50% : พอร์ตหุ้น 50%
 

 

 

ประเด็นการลงทุน

สหรัฐเผยตัวเลขเปิดรับสมัครงานสอดคล้องคาดการณ์ - ตัวเลขการเปิดรับสมัครงาน ซึ่งเป็นมาตรวัดอุปสงค์ในตลาดแรงงาน ลดลง 455,000 ตำแหน่ง สู่ระดับ 11.4 ล้านตำแหน่งในเดือนเม.ย. สอดคล้องคาดการณ์ หลังจากพุ่งแตะระดับ 11.855 ล้านตำแหน่งในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์

ดัชนี PMI ภาคการผลิตสหรัฐต่ำสุดรอบ 4 เดือน – ปรับตัวลงสู่ระดับ 57.0 ในเดือนพ.ค. ต่ำสุดในรอบ 4 เดือน และต่ำกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ระดับ 57.5 จากระดับ 59.2 ในเดือนเม.ย.

ดัชนี PMI ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายยูโรโซนต่ำสุดในรอบ 16 เดือน - ลดลงแตะระดับ 54.6 ในเดือนพ.ค. จากระดับ 55.5 ในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2563 แต่ยังสูงกว่าตัวเลขประมาณการขั้นต้นที่ 54.4 

ดัชนี PMI ภาคการผลิตจีนหดตัว – ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตเดือนพ.ค.ของจีนอยู่ที่ระดับ 48.1 ซึ่งแม้ว่าเพิ่มขึ้นจากระดับ 46 ในเดือนเม.ย. แต่ดัชนีที่ต่ำกว่า 50 บ่งชี้ว่า ภาคการผลิตของจีนอยู่ในภาวะหดตัว

ดัชนีเชื่อมั่นธุรกิจพ.ค.ดีขึ้น หลังนโยบายเปิดปท. – ธปท. รายงานว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือนพ.ค. 65 ปรับดีขึ้นมาอยู่ที่ 49.3 จากระดับ 48.2 เดือนเม.ย. 65 จากการเพิ่มขึ้นในเกือบทุกองค์ประกอบ 

กกร. คงคาดการณ์ GDP-ส่งออก-เงินเฟ้อ - คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) คงประมาณการ GDP ปี 65 ขยายตัวในกรอบเดิม 2.5 - 4.0% ส่งออกขยายตัว 3.0-5.0% และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปขยายตัวในกรอบ 3.5-5.5% 

คาดเข้า/ออก SET50 – คาดเข้า JMT, JMART, BLA /คาดออก RATCH, STGT, KCE

คาดเข้า/ออก SET100 – คาดเข้า SABUY, TIPH, JAS /คาดออก RS, TTA, MAJOR

หุ้นที่มีโอกาสเข้าเกณฑ์ Cash Balance – ได้แก่ TCJ, TSR, LDC

 

ประเด็นติดตาม: 3 มิ.ย. – US Nonfarm Payrolls, US Participation Rate, US Unemployment Rate / 6 มิ.ย. – TH CPI / 7 มิ.ย. – TH Interest Rate Decision / 8 มิ.ย. – EU GDP / 9 มิ.ย. - ECB Interest Rate Decision / 10 มิ.ย. – US Core CPI 

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)