เน้นเลือกหุ้นรายตัวในจังหวะตลาดผันผวน
ตลาดอ่อนไหวต่อการปรับมุมมองของเฟดและการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางทั่วโลก ตลาดหุ้นยุโรปและสหรัฐฯ ปรับลดลงเฉลี่ยราว 3% หลังธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับมุมมองขึ้นดอกเบี้ยในอัตราเร่งมากขึ้น
ซึ่งแม้จะมีผลดีในการคุมเงินเฟ้อ แต่ก็ทำให้นักลงทุนประเมินปัจจัยดังกล่าวเป็นความเสี่ยงต่อการชะลอตัวของผลประกอบการหรือเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ส่งผลให้นักลงทุนปรับพอร์ตลดน้ำหนัการลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงและหนีเข้าสินทรัพย์ปลอดภัยเช่นพันธบัตร สถานการณ์ดังกล่าวทำให้ภาพรวมการลงทุนมีโอกาสผันผวนทางลงไประยะหนึ่ง เรายังมองหุ้นไทยและอาเซียนผันผวนน้อยกว่าหุ้นโลก และมองบวกต่อหุ้นจีน (DR และ ETF) จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลังเปิดเมือง อย่างไรก็ตาม
ภาครัฐขอความร่วมมือกลุ่มพลังงานเก็บเงินช่วยเหลือกองทุนน้ำมัน จากกำไรส่วนเกิน โดยคาดได้รับเงิน 6-7 พันล้านบาท/เดือน เป็นเวลา 3 เดือน หรือประมาณ 2 หมื่นล้านบาท เราคาดผลกระทบต่อหุ้นต่างๆเป็นดังนี้
1) กลุ่มโรงกลั่น คาดผลกระทบแต่ละรายโดยประมาณ เรียงลำดับจากผลกระทบต่อกำไรจากมากไปน้อย ได้แก่ IRPC (3,644), BCP (2,034), ESSO (2,949), SPRC (2,966), PTTGC (4,746), TOP (4,661)
2) อย่างไรก็ตาม ESSO และ SPRC เป็นโรงกลั่นนอกกลุ่ม PTT ที่มีผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นต่างชาติ อาจปฏิเสธการเข้าร่วมช่วยเหลือกองทุนน้ำมัน
3) PTT จะมีผลกระทบจากการเก็บกำไรส่วนเกินโรงแยกก๊าซ 1.5 พันล้านบาท และต่ออายุมาตรการชดเชย NGV โดยรวมมีผลต่อประมาณการกำไร 4.2 พันล้านบาท หรือ 7.6% ของกำไรคาดการณ์
4) PTTEP ไม่มีผลกระทบจากการขอความร่วมมือ เนื่องจากเงื่อนไขตามสัมปทาน คุ้มครองภาระค่าใช้จ่ายอื่นที่รัฐจะเรียกเก็บในอนาคตไว้แล้ว อย่างไรก็ตามการจ่ายปันผลสูงขึ้น เพื่อให้ PTT สามารถนำส่งปันผลกลับให้ภาครัฐผ่านกระทรวงการคลัง มีโอกาสเกิดขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นบวกกับผู้ถือหุ้น
ประเด็นเก็งกำไรอื่น 1) กลุ่มเครื่องดื่ม อาทิ OSP, CBG, ICHI, SAPPE 2) กลุ่มท่องเที่ยว CENTEL, ERW, MINT, BAFS, AAV, SHR 3) กลุ่มเปิดเมือง CPALL, MAKRO 4) กลุ่มอาหารและเกษตร CPF, GFPT, TFG, TU, KSL, KTIS, KBS, BIS, ASIAN 5) หุ้นประกัน TIPH, BLA, TVI, THREL (แค่เก็งกำไรรับไทยประกันเข้า IPO) 6) หุ้นพลังงาน-ปิโตรที่ไม่กระทบจากการขอความร่วมมือ IVL, OR
ภาพรวมกลยุทธ์: ความผันผวนในภาพรวมของสินทรัพย์เสี่ยง ทำให้หุ้นไทยมีโอกาสแกว่งตัวในกรอบ 1,540-1,590 จุด การปรับลงยังเน้นหุ้นที่ได้ประโยชน์จากเศรษฐกิจฟื้นในช่วงครึ่งหลัง อาทิ กลุ่มธนาคาร หุ้นเปิดเมืองที่ยังขึ้นน้อย กลุ่มอาหาร และการแพทย์ และหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการกระตุ้นเศรษฐกิจจีน (DR และ ETF อิงหุ้นจีน) //หุ้นแนะนำ: VRANDA*, BABA80*, CHINA*, CPF*
แนวรับ: 1,550-1,540 / แนวต้าน : 1,590 จุด สัดส่วน : เงินสด 50% : พอร์ตหุ้น 50%
ประเด็นการลงทุน
สหรัฐเผยตัวเลขเริ่มต้นสร้างบ้านดิ่งลงมากกว่าคาด – ดิ่งลง 14.4% ในเดือนพ.ค. สู่ระดับ 1.549 ล้านยูนิต ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย.2564 ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าลดลงสู่ระดับ 1.68 ล้านยูนิต
สหรัฐเผยตัวเลขผู้ขอสวัสดิการว่างงานสูงกว่าคาด – ลดลง 3,000 ราย สู่ระดับ 229,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว แต่สูงกว่าคาดการณ์ที่ระดับ 215,000 ราย
ผลสำรวจชี้สหรัฐเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปีหน้า – นิตยสาร Newsweek เปิดเผยผลการสำรวจ นักเศรษฐศาสตร์ 7 ใน 10 คนเชื่อว่าสหรัฐจะเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปีหน้า ท่ามกลางความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ และเงินเฟ้อ
อดีตประธาน ECB ยืนยันจะมีการขึ้นดอกเบี้ยช้ากว่าเฟด - นายดรากี นายกรัฐมนตรีอิตาลี ซึ่งเป็นอดีตประธาน ECB กล่าวว่า สหรัฐมีการจ้างงานเต็มศักยภาพ และเงินเฟ้อสูงกว่ายูโรโซน จึงทำให้การปรับอัตราดอกเบี้ยในยูโรโซนเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไปมากกว่าสหรัฐ
BoE ปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 1.25% สูงสุดในรอบ 13 ปี - เป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 5 ติดต่อกันนับตั้งแต่เดือนธ.ค. ขณะที่เงินเฟ้อในอังกฤษพุ่งแตะ 9% ในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี
คาดหุ้นเข้า FTSE Micro Cap – ได้แก่ BRI, CIVIL, HENG, PEACE, KTBSTMR, SVT, TKC, WFX และ TFM
Opportunity day – 17 มิ.ย. SKE, FVC, GPI / 21 มิ.ย. THAI, AIMIRT, GLORY / 22 มิ.ย. AIMCG, TOG, PROSPECT, PLUS / 23 มิ.ย. NNCL, TSC, RP, KEX
ประเด็นติดตาม: 17 มิ.ย. – EU CPI, Fed Chair Powell Speaks / 21 มิ.ย. – US Existing Home Sales / 23 มิ.ย. – US&EU Manufacturing PMI, Services PMI, Russia Debt Payment / 24 มิ.ย. – US New Home Sales, Russia Debt Payment
(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)