SNNP เป็นผู้ผลิตสินค้า F&B ซึ่งมีสถานะทางการตลาดแข็งแกร่ง

SNNP เป็นผู้ผลิตสินค้า F&B ซึ่งมีสถานะทางการตลาดแข็งแกร่ง

SNNP เป็นผู้ผลิตสินค้า F&B ซึ่งมีสถานะทางการตลาดแข็งแกร่งในกลุ่ม mass market โดยมีแบรนด์สินค้าของตัวเอง และบริหารจัดการช่องทางการจัดจำหน่ายได้ดี โดยมีการขายผ่านช่องทาง MT 57%และผ่าน TT 47% ทำให้บริหารจัดการมาร์จิ้นได้

โดยโครงสร้างยอดขายแบ่งเป็น 1) เครื่องดื่ม 45% และขนมขบเคี้ยว 55% 2) ยอดขายในประเทศ 80% และส่งออก 20% ทั้งนี้ SNNP เป็นบริษัทแรกที่เริ่มผลิตเครื่องดื่ม jelly drink โดยใช้แบรนด์ "Jele" ทำให้มีส่วนแบ่งตลาดสูงที่สุด ส่วนในธุรกิจขนมขบเคี้ยว "Bento" เป็นแบรนด์ที่ติดหนึ่งในห้าแบรนด์ขนมขบเคี้ยวสำหรับนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ แบรนด์เครื่องดื่มตามฤดูกาลในเอเชีย "Magic Farm" ยังครองส่วนแบ่งตลาดหลักทั้งในช่องทาง MT และ TT

 

อุปสงค์ Pent-up demand ช่วยกระตุ้นธุรกิจในประเทศ

ธุรกิจในประเทศ (คิดเป็นประมาณ 80% ของรายได้รวม) กำลังฟื้นตัวขึ้นเนื่องจากอุปสงค์ pent-up demand หลัง COVID หนุนให้รายได้โตถึงสองหลัก QTD (จาก +7% YoY ใน 1Q65 และ 8% ในปี 2564) และยังได้แรงหนุนจากการวางจำหน่ายสินค้าใหม่ รวมถึงการจับจ่ายใช้สอยของนักท่องเที่ยวต่างชาติด้วย โดยสินค้าใหม่ที่วางจำหน่ายนได้แก่ 1) เครื่องดื่มผสมกัญชาภายใต้แบรนด์ "Magic Farm" 2.) "Jele" รสใหม่ 3) ขนมขบเคี้ยวรสใหม่ ซึ่งสินค้าใหม่ทุกรายการได้รับการตอบรับอย่างดีจากตลาดท่ามกลางการปรับขึ้นราคาขายปลีกเพื่อสะท้อนต้นทุนที่สูงขึ้น ซึ่งเราคาดว่าจะทำให้บริษัทสามารถบริหารจัดการ margin ได้ในช่วงที่ช่วงที่เผชิญแรงกดดันจากการที่ราคาต้นทุนวัตถุดิบหลักสูงขึ้น

 

 

 

 

การเติบโตในตลาดต่างประเทศเร่งตัวขึ้น

ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา บริษัทได้ขยายธุรกิจในต่างประเทศ (20% ของรายได้) โดยส่งออกสินค้าจากประเทศไทยไปยังกลุ่มประเทศ CLMV เป็นหลัก (72% ของธุรกิจส่งออก หรือ 15% ของรายได้รวม) ทั้งนี้ การส่งออกกำลังเติบโตในอัตราที่เร็วขึ้นเนื่องจากการฟื้นตัวเศรษฐกิจในปี 2565 และคาดว่าจะเร่งตัวขึ้นในปี 2566 จากการเริ่มเปิดดำเนินการโรงงานผลิตแห่งใหม่ในประเทศเวียดนาม และกัมพูชาใน 2H65 ซึ่งโรงงานใหม่ในทั้งสองประเทศจะช่วยให้บริษัทสามารถขยายธุรกิจในต่างประเทศได้เร็วขึ้น เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบจะถูกลงประมาณ 15-18% ซึ่งจะทำให้บริษัทสามารถเพิ่มการจัดแคมเปญการตลาดเพื่อสร้างการเติบโตได้ ซึ่งบริษัทรายได้ส่งออกเติบโตอย่างแข็งแกร่งที่ประมาณ +20% QoQ และ +50% YoY ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม โดยเวียดนามจะเป็นตลาดหลักที่บริษัทให้ความสำคัญ  ทั้งนี้ SNNP ลงทุนไป 20 ล้านดอลลาร์ฯ ในการสร้างโรงงานใหม่ที่ประเทศเวียดนามเพื่อจะ และลงทุนในโรงงานประเทศกัมพูชาเพื่อเพิ่มรายได้จากกัมพูชาเป็นประมาณ จากการขยายกำลังผลิคส่วนนี้จะทำให้ตลาดส่งออกสามารถเติบโตจากปัจจุบันที่มียอดขาย 800-900 ล้านบาทต่อปี เป็นประมาณ 3 พันล้านบาทต่อปี

 

มาร์จิ้นมีโอกาสเพิ่มขึ้นได้

บริษัทมีโอกาสที่จะเพิ่ม margin ได้จากการขายธุรกิจในต่างประเทศ ถึงแม้ว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ต้นทุนการผลิต และต้นทุน logistic สูงขึ้น แต่การปรับขึ้นราคาขายปลีกของสินค้าบางรายการจะช่วยให้บริษัทสามารถรักษาสมดุลของมาร์จิ้น เอาไว้ได้ในระยะสั้น เรามองว่า margin จะดีขึ้นในระยะยาวจากการเปิดโรงงานผลิตใหม่ในเวียดนามซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง โดยเราคาดว่าmargin จะเริ่มดีขึ้นในปลายปี 2565-2566 เป็นต้นไป

 

Risks

แรงกดดันทางด้าน Margin, ผลขาดทุนจากธุรกิจการจัดจำหน่าย, การเกิดข้อพิพาทของธุรกิจครอบครัว.