"พลัสฯ" เสริมจุดแข็งกลยุทธ์ด้วย "The Best Practice ระบบวิศวกรรมอาคารระดับสากล"
กลยุทธ์ความสำเร็จของ "พลัส พร็อพเพอร์ตี้" เสริมจุดแข็ง สร้างมาตรฐานที่เป็นจุดขายด้วย "The Best Practice มาตรฐานระบบวิศวกรรมอาคารระดับสากล" หัวใจสำคัญในการดูแลอาคารอย่างยั่งยืน ช่วยลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารอาคาร
เมื่อพูดถึง "พลัส พร็อพเพอร์ตี้" หรือ พลัสฯ เชื่อว่าหลายคนรู้จักกันดี โดยเฉพาะในแวดวงธุรกิจบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ Property Management ด้วยจุดแข็งด้านการวางมาตรฐานการบริหารงานอย่างมืออาชีพ ทำให้ พลัสฯ ได้รับการยอมรับในธุรกิจบริหารจัดการโครงการครบวงจร และหนึ่งในจุดแข็งที่นำมาสร้างจุดขายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานก็คือ "The Best Practice มาตรฐานระบบวิศวกรรมอาคารระดับสากล" หัวใจสำคัญในการดูแลอาคารอย่างมืออาชีพ ด้วยมาตรฐานระดับสากล ครอบคลุมในอาคารทุกประเภท
ความสำคัญของเรื่องนี้ คุณชาญ ศิริรัตน์ รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายบริหารทรัพยากรอาคารและระบบวิศวกรรม บริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันอาคารต่างๆ มีความซับซ้อนมากขึ้น ทำให้ผู้ดูแลอาคารต้องติดตามข่าวสาร ปรับตัว และปรับมาตรฐานการทำงานเพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ใช้ในการก่อสร้างและบริหารอาคารอย่างสม่ำเสมอ ด้วยอาคารขนาดใหญ่นั้นมีระบบวิศวกรรมอาคารที่หลากหลาย มีระบบที่ซับซ้อนและต้องการความรู้เฉพาะทาง จึงต้องอาศัยระบบบริหารจัดการอาคารที่มีมาตรฐานเข้ามาช่วยในการดูแล
การบริหารและจัดการอาคารสถานที่ที่เราใช้เป็นสถานที่ทำงานและประกอบกิจกรรมต่างๆ ของบุคคลและองค์กร ไม่ได้เพียงเพื่อให้อาคารใช้การได้และมีสภาพเหมาะสมเท่านั้น แต่ยังต้องคำนึงถึงส่วนอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย ทั้งความเสี่ยงและความปลอดภัยของผู้ใช้อาคาร รวมถึงการบริหารค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะมีแนวโน้มต้นทุนแรงงานและค่าใช้จ่ายด้านพลังงานเพิ่มขึ้นทุกปี
นอกจากนี้ การดูแลระบบวิศวกรรมอาคารและกายภาพก็มีผลกระทบต่อภาพลักษณ์และมูลค่าของอาคาร ดังนั้น การบริหารจัดการอาคารให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี และเหมาะสมก็ช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานของผู้ใช้อาคารให้สามารถสร้างผลผลิตของหน่วยงานได้เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ผู้ใช้อาคารอีกด้วย
ที่ผ่านมา พลัสฯ ได้ขยายการดูแลบริหารอาคารให้ครอบคลุมในอาคารทุกประเภท ซึ่งปัจจุบันดูแลอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ของผู้ประกอบการชั้นนำทั้งในกลุ่มของธุรกิจ อาคารสำนักงาน ธนาคารและการลงทุน ธุรกิจโรงพยาบาล ศูนย์การค้า ได้แก่
- อาคารธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักเพลินจิต
- ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- อาคาร SCB Park Plaza ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่
- อาคาร WHA Tower
- ศูนย์การค้า THE COMMON ทองหล่อ
- กลุ่มอาคารหอพัก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
- อาคารรัตนวิทยาพัฒน์ และอาคารศูนย์โปรตอน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
ปัจจุบันธุรกิจบริหารจัดการอาคารเพื่อการพาณิชย์ของพลัสฯ รวมทั้งสิ้นกว่า 30 โครงการ มีพื้นที่บริหารรวมทั้งสิ้นกว่า 2,000,000 ตารางเมตร โดยพลัสฯ ชูการดูแลอย่างมืออาชีพในมาตรฐานระดับสากลที่เป็นพาร์ทเนอร์เคียงข้างเจ้าของอาคาร ยกระดับมาตรฐานอาคารโดยมุ่งไปสู่เป้าหมายร่วมกัน
หัวใจหลักของการบริหารจัดการอาคารคือความเข้าใจถึงความความซับซ้อน และการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในอาคาร จากประสบการณ์ของพลัสฯ กว่า 25 ปี ที่ได้ศึกษาและนำมาตรฐานการปฏิบัติงานและวิทยาการที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการดูแลระบบวิศวกรรมอย่างรอบด้าน ซึ่งได้นำ Internal Standard Practice ที่เป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลมาใช้ในการบริหารจัดการ เพราะการบริหารระบบวิศวกรรมอาคารถือเป็นต้นทุนหลักที่ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาอาคาร
โดย พลัสฯ ได้นำมาตรฐานสากลมาใช้ประกอบเป็นแนวทางในการอ้างอิง เพื่อจัดทำเป็น Standard of Operation (SOP) โดยได้มีการนำแนวคิดอายุการใช้งาน (Life cycle) ของอาคาร เครื่องจักรและอุปกรณ์มาพิจารณาและวิเคราะห์เพิ่มเติมผนวกรวมกับแนวทางการปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดเป็นมาตรฐานที่ดีมีประสิทธิภาพและเป็นการพัฒนาไปสู่มาตรฐานการปฏิบัติงานที่มีความเป็นมืออาชีพเพิ่มมากขึ้นโดยในปัจจุบันมีมาตรฐานระดับสากลที่นำมาใช้บริหาร ได้แก่
- IFMA International Facility Management Association เป็นสมาคมทางด้านการบริหารจัดการอาคารที่มีชื่อเสียงที่สุด ก่อตั้งในปี 2525 มีสาขาอยู่ในหลายทวีปมีสมาชิกมากกว่า 24,000 องค์กรทั่วโลก ถือเป็นเสาหลักของวงการ สมาคมมุ่งเน้นไปที่การสร้างระบบที่มีประสิทธิภาพในการใช้อาคารผ่านการวิจัยมาตรฐานในการปฏิบัติงาน และมีการออกตีพิมพ์ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในรูปแบบหนังสือและนิตยสาร รวมทั้งยังมีการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
- ASHARE American Society of Heating, Refrigerating and Air-Conditioning Engineers เป็นองค์กรเอกชนระหว่างประเทศที่มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาระบบทำความร้อน ระบบระบายอากาศ ระบบปรับอากาศ และระบบทำความเย็นในอาคารที่ใหญ่และมีชื่อเสียงที่สุด ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2438 และเป็นองค์กรที่มีสมาชิกมากกว่า 54,000 สมาชิกทั่วโลก ด้วยมาตรฐานระบบปรับอากาศภายในอาคาร มีการใช้ : AIoT Command Center มาช่วยวิเคราะห์ข้อมูล หรือ automated fault detection and diagnosis (AFDD) หาสาเหตุของปัญหาที่ถูกต้องตรงจุด ลดการเสื่อมประสิทธิภาพของระบบปรับอากาศ ลดการสูญเสียพลังงานในอาคาร ควบคุมคุณภาพอากาศในอาคารให้มีความเหมาะสม ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย และนำไปสู่การประหยัดพลังงาน
- BOMA Building Owners and Managers Association เป็นองค์กรที่รวบรวมสมาชิกด้านงานอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ (Commercial Real Estate) ประกอบด้วยเจ้าของอาคาร ผู้บริหารองค์กรต่างๆ ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2450 มุ่งเน้นมาตรฐานในการบำรุงรักษากายภาพ สภาพแวดล้อม และอายุการใช้งานของอาคาร รวมถึงการบริหารจัดการพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นมาตรฐานในการบำรุงรักษากายภาพ สภาพแวดล้อม และอายุการใช้งานของอาคาร โดยคำนึงถึงการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- CIBSE Chartered Institution of Building Services Engineers เป็นสมาคมวิศวกรรมระดับนานาชาติที่ตั้งอยู่ในสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นตัวแทนของวิศวกรในหลายสาขาอาชีพได้แก่ วิศวกรอาคาร, วิศวกรเครื่องกล, วิศวกรไฟฟ้า เป็นต้น ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2519 โดดเด่นด้านมาตรฐานทางวิศวกรรมเครื่องกล ไฟฟ้า และสถาปัตยกรรมอาคาร มาตรฐานด้านวิศวกรรมเครื่องกลและไฟฟ้าและสถาปัตยกรรมอาคาร
- BESA Building Engineering Services Association เป็นองค์กรเอกชนที่ตั้งอยู่ในสหราชอาณาจักร ก่อตั้งในปี 2447 ถือเป็นสมาคมที่รวบรวมผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมทั้งภาคการก่อสร้าง และการบริหารอาคาร มุ่งเน้นการสร้างมาตรฐานในการปฏิบัติงานด้านงานวิศวกรรม
- AHA American Hospital Association มาตรฐานด้านการดูแลสำหรับโรงพยาบาล ระบบติดตั้งเครื่องมือแพทย์ การขนย้ายอุปกรณ์ หรือจัดการในสภาวการณ์ต่างๆ ช่วยให้อาคารสามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ช่วยยืดอายุการใช้งานเครื่องจักร ลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุ รวมถึงช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ผู้ใช้อาคาร
นอกจากนั้น พลัสฯ มีการนำ Good Practice เป็นแนวทางในการปฏิบัติพร้อมด้วยมาตรฐานสากลมาประกอบเพื่อจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานขึ้นมาใช้เรียกว่า Standard Operation Procedure (SOP) ใช้เป็นคู่มือแนะนำถึงความสำคัญของระบบงาน รายละเอียดขั้นตอนที่ควรปฏิบัติ รวมถึงวิธีการที่ดี (Technique) จากผู้เชี่ยวชาญให้เกิดความเหมาะสม ตรงกับความต้องการลูกค้ามากที่สุด
การบริหารจัดการอาคารสถานที่และการดูแลระบบวิศวกรรมอาคารนั้น เป็นงานที่ต้องมีการวางแผนงานที่ดี เพราะการปฏิบัติงานทุกครั้งมีความเสี่ยงที่อาจเกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน ผู้ใช้อาคาร ส่งผลกระทบต่อการใช้อาคารทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รวมถึงค่าใช้จ่ายหรือความเสียหายจำนวนมากที่อาจจะเกิดขึ้นตามมา
ดังนั้น การมีคู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงาน การวางแผนและเตรียมการที่ดี ย่อมสนับสนุนให้การปฏิบัติงานนั้นเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ ช่วยลดอุปสรรคต่อการใช้อาคารและการดำเนินธุรกิจ นอกจากนั้นองค์กรต้องมีแผนค่าใช้จ่ายและงบประมาณบำรุงรักษาและการลงทุนตามกรอบระยะอายุใช้งานอาคารแต่ละช่วง เพื่อที่จะไม่สร้างภาระด้านการเงินที่มีผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันขององค์กรในอนาคต
พลัสฯ ยังคงมุ่งมั่นเดินหน้ายกระดับมาตรฐานการทำงาน ในงานบริหารอาคารให้ได้รับการยอมรับคุณภาพระดับสากล ที่ครอบคลุมทุกด้าน ตอบโจทย์ทุกมิติ ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ผู้ใช้อาคารนั้น ผู้ที่สนใจบริการสามารถดูข้อมูลได้ทางเว็บไซต์ Plus Property หรือโทร. 02-688-7555