ผันผวนจากความกังวลเศรษฐกิจถดถอย (1 ก.ค 65)

ผันผวนจากความกังวลเศรษฐกิจถดถอย (1 ก.ค 65)

ตัวเลขเศรษฐกิจที่ชะลอเป็นลบระยะสั้นแต่เป็นบวกระยะกลาง สหรัฐฯ รายงานตัวเลขเศรษฐกิจด้านการบริโภคเดือน พ.ค. มีสัญญาณชะลอตัวลง ทั้ง Personal spending 0.2% (ต่ำกว่าคาดการณ์ที่ 0.4% และต่ำกว่าเดือนก่อนหน้าที่ 0.90%)

และ PCE Core Deflator 4.78% YoY (ต่ำกว่าคาดการณ์ที่ 4.8% และต่ำกว่าเดือนก่อนหน้าที่ 4.90%)  แม้จะเป็นสัญญาณบวกต่อทิศทางเงินเฟ้อ แต่ก็แสดงถึงความกังวลต่อเศรษฐกิจชะลอตัวเริ่มกระทบต่อการใช้จ่ายของครัวเรือน ซึ่งเราประเมินตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาชะลอตัว รวมถึงแนวโน้มการรายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 2/65 ที่น่าจะอ่อนแอลง จะเป็นปัจจัยลบระยะสั้นต่อภาพรวมการลงทุน อย่างไรก็ตามในระยะกลาง สัญญาณดังกล่าวมีแนวโน้มที่นักลงทุนจะตีความว่าจะเป็นปัจจัยบวกให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับลดมุมมองการดำเนินนโยบายการเงินที่ตึงตัวลง // ดังนั้นแม้ภาพรวมการลงทุนระยะสั้นมีโอกาสเป็นลบจากการเกิด technical recession ในช่วงไตรมาส 2/65 แต่ก็เพิ่มโอกาสที่มุมมองการลงทุนหลังรายงานผลประกอบการไตรมาส 2/65 จะปรับดีขึ้นเช่นกัน
 

การแถลงของธปท.ไม่ได้ส่งสัญญาณเกี่ยวกับเรื่องเร่งขึ้นดอกเบี้ยก่อนการประชุมกนง. 10 ส.ค. อย่างที่นักลงทุนกังวล โดยเป็นการแถลงของฝ่ายเสถียรภาพสถาบันการเงินเป็นหลัก โดยมีเรื่องสำคัญ ได้แก่ 1) ยกเลิกเพดานจำกัดการจ่ายปันผลที่ 50% ของกำไรสุทธิ 2) ปรับเพิ่มอัตราการนำส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) กลับมาที่ 0.46%  (จาก 0.23%) เริ่มตั้งแต่ปี 2566 3) ปรับปรุงเกณฑ์ในการช่วยเหลือดูแลลูกหนี้กลุ่มเปราะบาง // ทั้งนี้ภาพรวมการแถลงคือการยืนยันถึงความเข้มแข็งของสถาบันการเงินที่ดีขึ้นมาจากช่วงวิกฤติโควิด เรามองบวกกับกลุ่มสถาบันการเงิน และประเมินก่อนอ่อนตัวเนื่องจากผลการดำเนินงานไตรมาส 2/65 ที่เกิดขึ้นจากปัจจัยฤดูกาล จะเป็นโอกาสทยอยลงทุนที่ดี  

 

 


 

ยังเน้นเลือกหุ้นรายตัวในกลุ่มที่แนวโน้มกำไรเป็นบวก โดยเน้นที่ 1) กลุ่มที่โมเมนตัมกำไรเป็นขาขึ้น อาทิ ท่องเที่ยว ห้างสรรพสินค้า อาหาร และ 2) กลุ่มที่เป็นเป้าหมาย Window dressing ได้แก่ การเงิน โรงไฟฟ้า ค้าปลีก สื่อสาร ซึ่งหุ้นที่เราชอบ ได้แก่ SPA, VRANDA, MBK, CPN, CRC, CPF, TU, KSL, MTC, TIDLOR, SAWAD, BAM, SCGP, BGRIM, GPSC, MAKRO, CPALL, ADVANC,  เป็นต้น

ประเด็นเก็งกำไรอื่น 1) กลุ่มเครื่องดื่ม อาทิ OSP, CBG, ICHI, SAPPE 2) กลุ่มท่องเที่ยว AOT, CENTEL, ERW, MINT, BAFS, AAV, SHR, VRANDA, SPA 3) กลุ่มเปิดเมือง CPALL, MAKRO, MAJOR 4) กลุ่มอาหารและเกษตร CPF, GFPT, TFG, TU, KSL, KTIS, KBS, BIS, ASIAN  5) หุ้นประกัน TIPH, BLA, TVI, THREL (แค่เก็งกำไรรับไทยประกันเข้า IPO) 6) หุ้นพลังงาน-ปิโตรที่ไม่กระทบจากการขอความร่วมมือ IVL, OR 7) หุ้นได้ประโยชน์จากการกระตุ้นเศรษฐกิจจีน BABA80, TENCENT80, CHINA

ภาพรวมกลยุทธ์: แรงทำกำไรระยะสั้นอาจกด SET ลงทดสอบ 1,545-1,557 จุด เน้นเลือกเก็งกำไรหุ้นที่โมเมนตัมกำไรเป็นบวก (ท่องเที่ยว อาหาร) ทยอยสะสมเมื่อ่อนตัวในหุ้นที่ได้ประโยชน์จากเศรษฐกิจฟื้นในช่วงครึ่งหลัง (กลุ่มธนาคาร ค้าปลีก การเงิน) และหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการกระตุ้นเศรษฐกิจจีน (DR และ ETF อิงหุ้นจีน) //หุ้นแนะนำ:  MAJOR*, PR9*, TOA*, MAKRO*

แนวรับ: 1,557-1,565 / แนวต้าน : 1,590 จุด สัดส่วน : เงินสด 50% : พอร์ตหุ้น 50%
 

 

ประเด็นการลงทุน

สหรัฐเผยตัวเลขผู้ขอสวัสดิการว่างงานสูงกว่าคาด - ลดลง 2,000 ราย สู่ระดับ 231,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว แต่สูงกว่าคาดการณ์ที่ระดับ 230,000 ราย

บอนด์ยีลด์สหรัฐร่วงต่ำกว่า 3% หลังดัชนี PCE ต่ำกว่าคาด - ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ซึ่งเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ เพิ่มขึ้น 4.7% ในเดือนพ.ค. เมื่อเทียบรายปี โดยต่ำกว่าคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 4.8% และชะลอตัวจากระดับ 4.9% ในเดือนเม.ย.

โอเปคพลัสเพิ่มการผลิต 648,000 บาร์เรล/วันในส.ค. - สอดคล้องกับมติเดิมในการประชุมเมื่อวันที่ 2 มิ.ย. ซึ่งที่ประชุมในวันดังกล่าวตัดสินใจเพิ่มกำลังการผลิต 648,000 บาร์เรล/วันทั้งในเดือนก.ค.และส.ค. หลังจากที่เพิ่มกำลังการผลิต 432,000 บาร์เรล/วันในเดือนมิ.ย.

ดัชนีเชื่อมั่นท่องเที่ยว Q2/65 เริ่มฟื้น - สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) เผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัว ในไตรมาส 2/65 อยู่ที่ระดับ 53 สะท้อนการท่องเที่ยวที่ดีขึ้นกว่าไตรมาสที่ผ่านมา 

ธปท.เผยเศรษฐกิจ พ.ค.โตขึ้นต่อเนื่อง - เครื่องชี้การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้นในเกือบทุกหมวด ส่วนจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามการผ่อนคลายมาตรการเดินทาง

 

ประเด็นติดตาม: 1 ก.ค. – EU CPI, EU Manufacturing PMI, US ISM Manufacturing PMI / 6 ก.ค. – อาจเห็นการยกเลิกคำสั่งปธน.เก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีน / 8 ก.ค. – US Nonfarm Payrolls, US Participation Rate, US Unemployment Rate / 13 ก.ค. US CPI / 13-20 ก.ค. รายงานงบกลุ่มแบงก์

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)