“ประยุทธ์” ลงนามตั้งกรรมการ 2 ชุด ดึง รมว.10 กระทรวงแก้วิกฤติเศรษฐกิจ - พลังงาน
“ประยุทธ์” ลงนามตั้งกรรมการ 2 ชุด แก้วิกฤติเศรษฐกิจ - พลังงาน ระดม รองนายกฯ 10 รัฐมนตรี ธปท. - สศช. - สมช.ตั้งคณะนโยบาย และคณะติดตาม
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 18 ก.ค. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกร ได้ลงนามในคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 170/2565
เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อบริหารสถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจ
โดยที่เกิดสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศขึ้นในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ทั้งในระดับภูมิภาค
และระดับโลก ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อทั้งเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจของไทย ทำให้หลายประเทศรวมทั้งไทยต้องประสบปัญหาที่กระทบต่อต้นทุนราคาพลังงาน และวัตถุดิบ ส่งผลต่อการปรับตัวสูงขึ้นของราคาพลังงานเชื้อเพลิง และสินค้าอุปโภคบริโภค รวมทั้งการขาดแคลนวัตถุดิบที่สำคัญในห่วงโซ่การเกษตรอันส่งผลกระทบทั้งทางตรง และทางอ้อมต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน
เพื่อให้การบริหารสถานการณ์ และการดำเนินมาตรการที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤติ
เศรษฐกิจดังกล่าวระหว่างส่วนราชการ และหน่วยงานของรัฐเป็นไปอย่างบูรณาการ ทันต่อสถานการณ์ และ
สามารถบรรเทาผลกระทบได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ (๖) แห่ง
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ
เฉพาะกิจเพื่อบริหารสถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจ โดยมีองค์ประกอบ และหน้าที่ และอำนาจ ดังนี้
องค์ประกอบ ได้แก่ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ
รองนายกรัฐมนตรีเป็นรองประธานกรรมการ ได้แก่ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ นายอนุทิน ชาญวีรกูล นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ นายดอน ปรมัตถ์วินัย และนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์
รัฐมนตรีที่เป็นกรรมการ ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงพลังงาน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ปลัดกระทรวงการคลัง
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
(นายประทีป กีรติเรขา ผู้แทนสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการและที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้ช่วยเลขานุการ มอบหมาย
ผู้แทนสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
ที่เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติมอบหมาย
หน้าที่และอำนาจ1. กำหนดแนวทางการบูรณาการ และขับเคลื่อนให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ
ถือปฏิบัติเพื่อให้การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้คลี่คลายลงโดยเร็วรวมทั้งกำหนดแผนเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์ในระดับวิกฤติเศรษฐกิจให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม ตามนโยบายที่รัฐบาลกำหนด
2.กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานตามแนวทางการบูรณาการ และขับเคลื่อน ในการแก้ไขปัญหาหรือบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน และรายงานผลการดำเนินงานต่อนายกรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรี
3.กลั่นกรอง ให้ข้อเสนอแนะ หรือความเห็นในการแก้ไขหรือบรรเทาปัญหาความเดือดร้อน
ของประชาชนจากผลกระทบของสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจต่อนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี
4.ให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องชี้แจงเท็จจริง และรายงานข้อมูล หรือผลการดำเนินการ ให้ความเห็นหรือข้อเสนอแนะรวมทั้งจัดเกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามหน้าที่ และอำนาจตามคำสั่งนี้
5.แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานได้ตาม
6.ปฏิบัติการอื่นใดตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
ให้สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการคลัง สนับสนุนและอำนวยความสะดวกใน
ปฏิบัติงานของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานที่ได้แต่งตั้งขึ้นตามคำสั่งนี้ สำหรับการเบิกจ่ายค่าเบี้ยประชุม และค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ.2547 หรือตามระเบียบของ ทางราชการที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี โดยให้เบิกจ่ายจากงบประมาณของสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการคลัง
นอกจากนี้นายกรัฐมนตรีได้ลงนามในคำสั่งนายกรัฐมนตรีเรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการติดตาม และวิเคราะห์สถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจ
ตามที่ ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 565 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อบริหารสถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจ นั้นเพื่อให้การดำเนินการของคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อบริหารสถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจในส่วนของการเตรียมแผนรองรับวิกฤติเศรษฐกิจ การกำหนดแนวทางการบูรณาการ และการขับเคลื่อนให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐถือปฏิบัติ เพื่อแก้ไขปัญหา และบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนได้อย่างรวดเร็ว เหมาะสม รวมทั้งให้การกำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
อาศัยอำนาจตามความในข้อ 2.5 ของคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อบริหารสถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจ ลงวันที่ กรกฎาคม พ.ศ. 2565 นายกรัฐมนตรีในฐานะประธานกรรมการเฉพาะกิจเพื่อบริหารสถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจ จึงแต่งตั้งคณะอนุกรรมการติดตาม และวิเคราะห์สถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจ โดยมีองค์ประกอบ และหน้าที่และอำนาจ ดังนี้
องค์ประกอบได้แก่ ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานอนุกรรมการ
อนุกรรมการได้แก่ รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ รองประธานอนุกรรมการ คนที่หนึ่ง
และสังคมแห่งชาติ ที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมอบหมาย
รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ที่เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ มอบหมาย ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้แทนกระทรวงคมนาคม เป็นรองประธานอนุกรรมการ
หน้าที่และอำนาจ ได้แก่
1.ติดตาม ตรวจสอบ วิเคราะห์ และประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจ
2.กลั่นกรอง ให้ข้อเสนอแนะ หรือความเห็นในการแก้ไขหรือบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนจากผลกระทบจากสถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจต่อคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อบริหารสถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจ
3.จัดทำแผนเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์ในระดับวิกฤติเศรษฐกิจเพื่อเสนอต่อ
คณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อบริหารสถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจ
4.เชิญผู้แทนส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องชี้แจง
ข้อเท็จจริง และรายงานข้อมูล หรือผลการดำเนินการ รวมทั้งจัดส่งเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะอนุกรรมการ
5.แต่งตั้งคณะทำงาน หรือเจ้าหน้าที่เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานของคณะอนุกรรมการได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม
6.รายงานผลการปฏิบัติงานต่อคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อบริหารสถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจ เป็นระยะๆ
พิสูจน์อักษร....สุรีย์ ศิลาวงษ์