Food and Beverage คาดว่าจะฟื้นตัวได้ในช่วงดีใน high season
บริษัทในกลุ่มเครื่องดื่ม เผยว่ามีสัญญาณการฟื้นตัวในการบริโภคเครื่องดื่มใน 2Q65 โดยเฉพาะเครื่องดื่มชูกำลังที่กลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบสองปีที่ประมาณ 7% ในขณะที่เครื่องดื่มฟังก์ชั่นนอลและวิตามินขยายตัว 4%
อย่างไรก็ตาม ในแต่ละกลุ่มมีทั้งผู้ประกอบการกลับมีผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน โดย CBG โตยอดขายในประเทศได้ดี แต่ OPS กลับลดลงเพราะการปรับขึ้นราคาขายปลีกทำให้เสียส่วนแบ่งตลาดไปให้กับ CBG ซึ่ง OSP คงต้องใช้เวลาสักระยะ และกลยุทธืใหม่เพื่อที่จะกลับมาโตได้อีกครั้ง
ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น
ราคาเม็ดพลาสติกเรซินได้พุ่งสูงขึ้นถึงเกือบ 40% ใน 2Q65 สร้างแรงกดดันต่อต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการที่ใช้ขวดพลาสติกอย่างเช่น SAPPE ในขณะที่ราคาก๊าซที่สูงขึ้นสร้างแรงกดดันต่อต้นทุนการผลิตขวดแก้ว ซึ่งส่งผลกระทบกับ OSP และ CBG อย่างไรก็ตาม ราคาอลูมิเนียมที่ลดลง 30% ใน 2Q65 ได้ส่งผลดีต่อต้นทุนการผลิตกระป๋องอลูมินัมซึ่งส่วนใหญ่ใช้ในสินค้าส่งออก โดยคาดว่า CBG จะได้อานิสงส์มากที่สุด ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจากทั้งต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และประโยชน์ของราคาอลูมิเนียมที่ลดลง เราคิดว่า CBG จะได้อานิสงส์มากกว่าและส่งผลให้มาร์จิ้นดีขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่แรงกดดันด้านต้นทุนจะส่งผลลบกับ OSP มากกว่าใน 2Q65 ในขณะเดียวกัน เราคิดว่าแรงกดดันด้านต้นทุนของ SAPPE จะหักล้างไปพอดีกันกับค่าเงินบาทที่อ่อนลงซึ่งช่วยเพิ่มมาร์จ้อนของสินค้าส่งออก
สถานการณ์ในเมียนมาร์จะทำให้ OSP และ CBG มีความไม่แน่นอนเพิ่มขึ้น
มาตรการใหม่ที่ใช้คุมอัตราแลกเปลี่ยน และการควบคุมสินค้านำเข้าที่เข้มงวดมากขึ้นของรัฐบาลเมียนมาร์ทำให้การบริโภคในประเทศอ่อนแอ และการส่งออกไปเมียนมาร์มีความยากลำบากมากขึ้น ทั้งนี้ การส่งออกไปเมียนมาร์ของ OSP/CBG คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 20%/10% ของรายได้รวม โดยนโยบายดังกล่าวยังไม่ส่งผลกระทบใน 2Q65 แต่จะทำให้ผลการดำเนินงานใน 2H65 ไม่แน่นอนมากขึ้นซึ่งผลกระทบของ OSP ทีมากกว่า เพราะ OSP มีโรงงานร่วมทุน (JV) ในเมียนมาร์ซึ่งทำให้บริษัทมีความเสี่ยงเรื่องผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนมากขึ้น และเมียนมาร์ยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตของ OSP ที่ประมาณ 20% ในช่วงปี 2564-ปัจจุบัน ในขณะที่ยอดส่งออกไปเมียนมาร์ของ CBG ลดลงมาตลอด 3-4 ไตรมาสที่ผ่านมา
....แต่ SAPPE และ PLUS จะยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่ง
ในบรรดาบริษัทในกลุ่มเครื่องดื่มเราคิดว่า SAPPE/PLUS จะสามารถบริหารจัดการต้นทุนการผลิตได้ เพราะมีรายได้จากการส่งออกถึง 75%/95% และการอ่อนค่าของเงินบาทจะทำให้รายได้เพิ่มขึ้นซึ่งจะไปหักล้างกับต้นทุนที่สูงขึ้น นอกจากนี้ อัตราค่าระวางที่ลดลงอย่างมากประมาณ 35-40% ใน 2Q65 ยังทำให้เพิ่มอำนาจการแข่งขันของบริษัทด้วย ดังนั้นเราจึงคาดว่ารายได้ของ SAPPE และ PLUS จะแข็งแกร่ง
ปรับลดประมาณการกำไรปี 2565/2566 ของ OSP ลง 5%/3%
เราปรับประมาณการส่วนแบ่งกำไรโดยสะท้อนผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนในปี 2565/2566 ที่ -70
ล้านบาท/ศูนย์ (จากศูนย์/+20 ล้านบาท) และรายได้จากเงินปันผลที่ลดลงเหลือปีละ 200 ล้านบาท ทั้งนี้
เมื่อใช้ PE ที่ 33.5x ทำให้ราคาเป้าหมายปี 2565F ลดลงเหลือ 38 บาท (จากเดิมที่ 41 บาท) เรายังคง
คำแนะนำซื้อ แต่มองว่าสถานการณ์ความไม่แน่นอนในเมียนมาร์จะกดดันให้ราคาหุ้น OSP
underperform หุ้นอื่นในกลุ่ม
Risks
ความผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก และการเปลี่ยนแปลงของ margin.