“ยาตัวใหม่” รักษาโรคฮิตหลังเกษียณวัย !

“ยาตัวใหม่” รักษาโรคฮิตหลังเกษียณวัย !

ในช่วงชีวิตหลัง "เกษียณ" ที่อายุมากขึ้น ย่อมมีโอกาสที่จะเจ็บป่วยมากขึ้นเช่นกัน และบางครั้งอาจเจ็บป่วยหลายโรคได้ในเวลาเดียวกัน หากไม่วางแผนการเงินให้ดีจะทำให้มีข้อจำกัดในการเข้ารับการรักษาได้

โรคมะเร็งสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของโลก ยังคงท้าทายวงการแพทย์มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การตรวจวินิจฉัยไปจนถึงวิธีการรักษา แม้ในปัจจุบันจะมีวิธีการรักษาที่หลากหลายขึ้นจากเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า แต่ก็ตามมาด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น 

ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ชี้ว่า ในปี พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา มีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคมะเร็งถึง 20 ล้านคนทั่วโลกและยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ในแง่อัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งกลับมีแนวโน้มลดลง โดยศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐอเมริกา (CDC) รายงานว่า ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา (ปี 2001-2020) อัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งในสหรัฐฯ ปรับตัวลงถึง 27% ทั้งนี้เป็นผลจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในวงการแพทย์เพื่อให้สามารถตรวจวินิจฉัยโรคได้อย่างรวดเร็วแม่นยำ รวมถึงสามารถรักษาโรคมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

 

ล่าสุด Nubeqa ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy) จากบริษัท Bayer ได้รับอนุมัติจากองค์กรอาหารและยา (FDA) ให้สามารถใช้รักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะแพร่กระจายได้ โดยผลข้างเคียงจากการใช้ยา Nubeqa พบว่า มีเพียง อาการอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยแขนขา และผื่นผิวหนัง ในขณะที่ยา Xtandi จากบริษัท Phizer ที่ใช้รักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแพร่กระจายในปัจจุบัน จะมีผลข้างเคียงที่เยอะกว่า เช่น อาการชัก ปวดหลัง ท้องร่วง ปวดตามข้อและกล้ามเนื้อ อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ความดันโลหิตสูง รวมไปถึงการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบน ปัสสาวะเป็นเลือด และเลือดกำเดาไหล การอนุมัติการใช้ยา Nubeqa สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแพร่กระจาย จึงเท่ากับเป็นการเพิ่มทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก 

อย่างไรก็ตาม ยา Nubeqa มีราคาค่อนข้างสูง โดยยา Nubeqa (300 มก.) สำหรับ 1 เดือน (120 เม็ด) มีราคา 12,912 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 459,409 บาท ในขณะที่ราคายา Xtandi (40 มิลลิกรัม) สำหรับ 1 เดือน (120 เม็ด) ก็มีราคาสูงเช่นกันที่ 13,698 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 487,786 บาท ทั้งนี้ โรคมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นโรคมะเร็งที่ถูกพบเป็นอันดับ 2 ของมะเร็งในเพศชายทั่วโลก โดยผู้ชาย 1 ใน 8 คน มีโอกาสถูกวินิจฉัยเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก และมักพบในผู้ชายที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 

โรคมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ในช่วงชีวิตหลังเกษียณที่อายุมากขึ้น ย่อมมีโอกาสที่จะเจ็บป่วยมากขึ้นเช่นกัน และบางครั้งอาจเจ็บป่วยหลายโรคได้ในเวลาเดียวกัน หากไม่วางแผนการเงินให้ดีจะทำให้มีข้อจำกัดในการเข้ารับการรักษาได้ การวางแผนการเงินเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตช่วงหลังเกษียณได้อย่างสบายใจอย่างหนึ่ง คือการทำ Wealth Protection โดยการทำประกันสุขภาพ ซึ่งแนะนำให้เลือกทำประกันสุขภาพและประกันโรคร้ายแรงที่คุ้มครองได้นานพอ โดยในปัจจุบันมีประกันสุขภาพที่มีระยะเวลาคุ้มครองสูงถึงอายุ 99 ปี พร้อมกับแผนประกันที่มีวงเงินคุ้มครองสูงพอที่จะให้เราสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์รวมถึงยาตัวใหม่ ๆ เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพที่สุด 

หากท่านใดมีข้อข้องใจเกี่ยวกับการวางแผนการเงินของตนเอง สามารถส่งคำถามของท่านมาได้ที่ [email protected] I บทความโดย ณัฐพร ธรวงศ์ธวัช AFPT Wealth Manager ธนาคารทิสโก้