‘บาท’ เปิดตลาดเช้านี้ ‘อ่อนค่า’ ที่ 31.25 บาทต่อดอลลาร์
ตลาดยังระมัดระวังจับตาประชุมFOMC และสหรัฐอาจกดดันจีนด้วยนโยบายภาษีก่อนการประชุม G20 มีโอกาสหนุนเงินทุนไหลเข้าสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น รวมถึงเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นได้
นายจิติพล พฤกษาเมธานันท์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุนธนาคารกรุงไทยเปิดเผยว่าค่าเงินบาทเปิดเช้าวันนี้ที่ระดับ31.25 บาทต่อดอลลาร์อ่อนค่าจากช่วงปิดสิ้นสัปดาห์ก่อนที่ระดับ31.15 บาทต่อดอลลาร์
ในสัปดาห์นี้สิ่งที่ต้องจับตาแน่นอนว่าคือการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางสหรัฐ(FOMC) และG20 ที่เมืองโอซาก้าประเทศญี่ปุ่นเราจึงเชื่อว่าตลาดจะระวังตัวและไม่เคลื่อนไหวผันผวนมากช่วงกลางสัปดาห์แต่ภาพตลาดทุนที่ปิดรับความเสี่ยง(Risk Off) และโอกาสที่บอนด์ยีลด์สหรัฐจะปรับตัวสูงขึ้นหลังการประชุมFOMC ยังคงเป็นสองปัจจัยหลักที่สามารถหนุนให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นได้
ในส่วนของFOMC จะทราบผลการประชุมในวันพฤหัสเช้าเรามองว่าที่ประชุมจะมีมติ“คง” อัตราดอกเบี้ยนโยบาย(Fed Fund Rate) ไว้ที่ระดับ2.25-2.50% แต่อาจปรับลดคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐลงเหลือ2.0% สำหรับปีนี้และ1.8% สำหรับปีหน้าพร้อมทั้งปรับลดมุมมองอัตราดอกเบี้ย(Dot Plot) จากเดิมที่“ขึ้น1 ครั้ง” เป็น“หยุดขึ้น” ไปจนถึงปี2020
นอกจากนี้ก็ต้องระวังว่าสหรัฐอาจมีการกดดันจีนด้วยนโยบายภาษีก่อนการประชุมG20 ซึ่งอาจหนุนให้มีเงินทุนไหลเข้าสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น
และสำหรับการประชุมครั้งนี้แม้เราจะมองว่าแทบไม่มีโอกาสที่สหรัฐและจีนจะสามารถหาข้อตกลงการค้ากันได้แต่ถ้าการหารือเกิดขึ้นและมีข้อสรุปบ้างสกุลเงินหยวนเอเชียรวมถึงเงินบาทก็อาจแข็งค่าขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
มองกรอบเงินบาทวันนี้31.20-31.30 บาทต่อดอลลาร์และกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้31.00-31.50 บาทต่อดอลลาร์
สำหรับเรื่องที่น่าสนใจของตลาดการเงินทั่วโลกวันที่17-21 มิถุนายนมีดังนี้เริ่มต้นที่ฝั่งสหรัฐฯคาดว่าผลสำรวจภาคการผลิตของเฟดสาขานิวยอร์ก(Empire Manufacturing Index) ในวันจันทร์จะลดลงจากระดับ17.8จุดสู่ระดับ12จุดชี้ว่าภาคการผลิตยังคงชะลอตัวต่อเนื่องจากสงครามการค้าที่ยืดเยื้อและในวันเดียวกันก็มีการทำประชาพิจารณ์(Public Hearing)เรื่องการตั้งกำแพงภาษีนำเข้ากับสินค้าจีนมูลค่ากว่า3แสนล้านเหรียญด้วย
ในฝั่งยุโรปต้องติดตามการคัดเลือกผู้เข้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอังกฤษในวันอังคารรวมถึงการคัดเลือกประธานคณะกรรมาธิการยุโรป(EC) และประธานธนาคารกลางยุโรป(ECB) ในระหว่างวันที่20-21 ส่วนในวันพฤหัสคาดว่าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางอังกฤษ(BOE) จะมีมติ“คง” อัตราดอกเบี้ยนโยบาย(Bank Rate) ที่ระดับ0.75%
สำหรับฝั่งเอเชีย ในวันพุธคาดว่ายอดส่งออกของญี่ปุ่นเดือนพฤษภาคมจะหดตัวราว8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนต่อมาในวันพฤหัสคาดว่าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางญี่ปุ่น(BOJ) จะมีมติ“คง” อัตราดอกเบี้ยนโยบาย(Policy Balance Rate) ที่ระดับ-0.1%
ฝั่งเศรษฐกิจไทยมองยอดการส่งออกและนำเข้าในเดือนพฤษภาคมที่จะรายงานในวันศุกร์จะหดตัวราว5.0% และ2.0% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนตามลำดับ