5 เรื่องต้องรู้! ‘ขอทบทวนสิทธิ์’ ก่อนอุทธรณ์ ‘เราไม่ทิ้งกัน’

5 เรื่องต้องรู้! ‘ขอทบทวนสิทธิ์’ ก่อนอุทธรณ์ ‘เราไม่ทิ้งกัน’

เตรียมตัวให้พร้อมเพื่อ “ขอทบทวนสิทธิ์” ยื่นอุทธรณ์ “เราไม่ทิ้งกัน” มีอะไรที่ต้องไม่ลืมบ้างในการลงทะเบียนรับเงินเยียวยา 5,000 บาท วันที่ 20 เมษายน 2563 นี้

ทันที่ทีกระทรวงการคลังประกาศให้มีการยื่นอุทธรณ์ ขอทบทวนสิทธิ์ ในโครงการ เราไม่ทิ้งกัน มาตรการรับเงินเยียวยา 5,000 บาท ดูจะเป็นความหวังให้กับผู้ลงทะเบียนที่ถูกระบบคัดกรองตรวจสอบตัดสินไม่ได้รับสิทธิขึ้นมาอีกครั้ง  ซึ่งมียอดประชาชนไม่ผ่านเกณฑ์จะได้โอกาสอีกครั้งถึง 12 ล้านคน โดยทางคลังยืนยันว่า การยื่นอุทธรณ์ ขอทบทวนสิทธิ์ รับเงินเยียวยาเราไม่ทิ้งกัน ครั้งนี้ จะใช้วิธีการลงทะเบียนผ่านออนไลน์ที่ www.เราไม่ทิ้งกัน.com เท่านั้น

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดขั้นตอน 'ขอทบทวนสิทธิ์' อย่างละเอียดที่นี่!

ห้ามลืม! หลักฐานสำคัญ ‘ยื่นอุทธรณ์เราไม่ทิ้งกัน’ ขอทบทวนสิทธิ รับ ‘เงินเยียวยา’ ห้าพัน!

ตรวจสอบสถานะ เงินเยียวยา 'เราไม่ทิ้งกัน' ถึงไหน ‘ขอทบทวนสิทธิ์’ ได้หรือไม่

โดยในการยื่นอุทธรณ์ ขอทบทวนสิทธิ รับเงินเยียวยา เราไม่ทิ้งกัน ในครั้งนี้นั้น ระบบจะมีความรวดเร็วในการทำงานเนื่องจากมีฐานข้อมูลของผู้ที่ลงทะเบียนเดิมไว้อยู่ก่อนแล้ว เพียงแค่ผู้ลงทะเบียนยื่นอุทธรณ์ขอทบทวนสิทธิ กรอกข้อมูลเพิ่มเติมที่จำเป็นในเมนู ขอทบทวนสิทธิ เท่านั้น กรุงเทพธุรกิจ ได้รวบรวม 5 เรื่องสำคัญที่ผู้ที่ต้องการยื่นอุทธรณ์ขอทบทวนสิทธิ รับเงินเยียวยา เราไม่ทิ้งกันจะต้องไม่พลาดก่อนเข้าลงทะเบียน ดังนี้ 

  • ใครที่มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ขอทบทวนสิทธิบ้าง

หากย้อนกลับไปดูรายละเอียดในการลงทะเบียนรับเงินเยียวยา 5,000 บาท ตามมาตรการเราไม่ทิ้งกัน นั้นจะมี 3 เกณฑ์ใหญ่ระบุเอาไว้อย่างชัดเจน คือ

  1. ต้องเป็นแรงงาน ลูกจ้าง หรือประกอบอาชีพอิสระ เช่น วินมอเตอร์ไซค์ แท็กซี่ ร้านก๋วยเตี๋ยว ค้าขาย เป็นต้น แสดงว่าต้องมีงานทำ
  2. ต้องไม่อยู่ในระบบประกันสังคม ส่วนสถานประกอบการขนาดเล็ก มีลูกจ้าง 2-3 คน เช่นร้านนวดแผนโบราณ ถ้าร้านถูกปิด แรงงานที่ทำงานในร้านนี้มีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยา
  3. ท่านได้รับผลกระทบจากโควิดอย่างไร จะต้องเป็นผลกระทบต่อรายได้ที่เป็นตัวเงิน เพราะมาตรการเป็นการชดเชยรายได้ที่หายไปจากโควิด

สรุปคือ สำหรับ คนที่ผ่านเกณฑ์ ในการ ขอทบทวนสิทธิ รับเงินเยียวยา เราไม่ทิ้งกัน คือ คนที่ประกอบอาชีพอิสระ ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม และ ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยได้คัดกรอง 4 กลุ่มอาชีพที่ได้รับการเยียวยา ได้แก่ กลุ่มผู้ค้าสลากกินแบ่งรัฐบาล แท็กซี่ วินมอเตอร์ไซค์ มัคคุเทศก์ แต่ถึงอย่างนั้น ก็ได้มีการเพิ่มกลุ่มผู้ที่ได้รับสิทธิเข้ามา เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา ได้แก่ นักเรียน กศน. และไกด์นำเที่ยวที่เป็นนักศึกษา

158723578021

  • คนที่กดยกเลิกการลงทะเบียนโดยไม่ได้ตั้งใจยื่นขอทบทวนสิทธิวันที่ 20 เมษายน นี้ได้ไหม

การเปิดให้ยื่นอุทธรณ์ขอทบทวนสิทธิในครั้งนี้ เป็นการเปิดให้ประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับผลการตรวจสอบ และคัดกรอง ได้ยื่นเรื่องก่อน สำหรับประชาชนที่กดยกเลิกการลงทะเบียนด้วยความเข้าใจผิดจะเปิดให้ลงทะเบียนในระยะต่อไป

  • ใช้หลักเกณฑ์อะไรมาตรวจสอบในการอุทธรณ์ขอทบทวนสิทธิในครั้งนี้

สำหรับผู้ลงทะเบียนที่มีความกังวลในระบบตรวจสอบกลัวว่าจะซ้ำรอยเหมือนครั้งที่ผ่านมา ทางคลังยืนยันว่าขอให้สบายใจได้ เพราะ ทางกระทรวงการคลังได้ร่วมกับกระทรวงมหาดไทยจัดเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่จริงเพื่อยืนยันตัวตน และความเดือดร้อนเพื่อความรวดเร็วในการตรวจสอบ

  • ต้องเตรียมหลักฐานอะไรเพื่อเติมบ้าง

สิ่งสำคัญที่ต้องเตรียมก็คือ รูปถ่าย หรือ หลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า ตนเองได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อาทิ ภาพถ่ายในร้านที่เคยทำงาน หากไม่มีสามารถใช้ค่าเช่าแผง ค่าน้ำ ค่าไฟ ตลอดจนหลักฐานอื่นๆ ที่แสดงให้เห็นผลกระทบจากโควิด-19 ต่อการประกอบอาชีพจริงๆ

โดย ทางเจ้าหน้าที่ที่ลงพื้นที่นั้นจะมีการติดตั้งแอพพลิเคชั่น เพื่อส่งรูปถ่าย 3 ภาพมายังส่วนกลาง ประกอบด้วย ภาพของผู้ทบทวนสิทธิ ภาพบัตรประชาชน ภาพร้านค้าหรือการทำงาน หรือรูปที่ผู้ทบทวนสิทธิเคยถ่ายรูปร้านค้า หรือใช้เอกสาร จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่า เพื่อให้เป็นหลักฐานในการขอทบทวนสิทธิ์ แนะนำว่า หากสามารถนัดพบที่สถานที่จริงจะยิ่งเพิ่มความรวดเร็วในการดำเนินการ

  • จะได้รับเงินเยียวยาล่าช้าไหม

ผู้ผ่านการทบทวนสิทธิจะยังได้รับเงินเยียวยาครบทั้ง 3 เดือน เนื่องจากการให้เงินเยียวยา เราไม่ทิ้งกัน จะใช้วันลงทะเบียนในการเริ่มนับสิทธิ์ ดังนั้นการยื่น ขอทบทวนสิทธิ ไม่กำหนดระยะเวลาอาจต้องใช้เวลาพิจาณา และหากทราบผลการพิจารณาในเดือนพฤษภาคม ผู้ผ่านการทบทวนสิทธิจะได้รับเงินเยียวยาครั้งแรก 10,000 บาท เพราะได้รวมเงินเยียวยา 5,000 บาท ของเดือนเมษายนด้วย