แนวโน้มระยะสั้นผันผวนมากขึ้นหลังตลาดตอบรับปัจจัยบวกระยะสั้นเป็นส่วนใหญ่

แนวโน้มระยะสั้นผันผวนมากขึ้นหลังตลาดตอบรับปัจจัยบวกระยะสั้นเป็นส่วนใหญ่

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ผันผวนจากหลายปัจจัย

จากบวกกว่า 400 จุด ก่อนปิด +39.44 จุด มาจาก 1) ราคาน้ำมันดิบฟื้นตัวจากกำลังการผลิตของสหรัฐฯ ที่ลดลง 2) ปธน.ทรัมป์อาจขยายระยะเวลาแนะนำสำหรับการดำรงระยะห่างทางสังคมจากสิ้นเม.ย.ไปเป็นต้นมิ.ย. (Early summer) 3) มีรายงานของ WHO เกี่ยวกับผลการรักษาที่มีประสิทธิ์ภาพไม่ดีเท่ากับรายงานก่อนหน้า ของยา Remdesivir ของบริษัท Gilead 4) ตลาดตอบรับล่วงหน้ามาตรการเยียวยาผลกระทบโควิดอีก 4.84 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ (มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ฉบับที่ 4) ไปแล้ว และประเมินจะไม่มีมาตรการเพิ่มเติมในระยะนี้ทำให้ตลาดขาดปัจจัยหนุนและจะผันผวนไปตามผลประกอบการ

ประชุมผู้นำยุโรปรอรายละเอียดมาตรการกระตุ้น ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อเม.ย.ของยุโรปต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ โดยดัชนีภาคบริการอยู่ที่ 11.7 ขณะที่ดัชนีภาคการผลิตอยู่ที่ 33.6 จากคาดการณ์ที่ 22.8 และ 38 ตามลำดับ แต่ไม่ได้มีผลมากนัก โดยตลาดให้ความสนใจกับมาตรการกระตุ้นทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป โดยขนาดของมาตรการคาดว่าจะอยู่ที่ 3.3 ล้านล้านยูโร ประกอบด้วย 1) 5.4 แสนล้านยูโร สำหรับเปิดเศรษฐกิจอีกครั้ง 2) วงเงินช่วยเหลือธุรกิจต่างๆ 7 หมื่นล้านยูโร 3) เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำและเงินอุดหนุน 2.45 ล้านยูโร และ 3) มาตรการลดหย่อนภาษีให้ธุรกิจ 3.3 แสนล้านยูโร

ผันผวน กลุ่มพลังงานอาจได้แรงส่งจากราคาน้ำมัน แต่ปัจจัยบวกระยะสั้นรับรู้เป็นส่วนใหญ่แล้ว ขณะที่ตลาดอาจยังไม่ตอบรับเต็มที่ต่อผลการดำเนินงานหลายอุตสาหกรรมที่จะชะลอตัวลงในช่วงไตรมาส 2-3/63 ดังนั้นอาจต้องระวังแรงทำกำไรในหุ้นที่เกี่ยวกับภาคธุรกิจจริง ถึงแม้ภาพรวมดัชนีอาจเคลื่อนไหวในกรอบจากแรงหนุนของหุ้นพลังงานก็ตาม

กลุ่มอาหารน่าสนใจ ผลของโควิด-19 ทำให้โรงงานผลิตเนื้อและอาหารขนาดใหญ่หลายแหล่งในสหรัฐฯ ปิดทำการ ไม่ว่าจะเป็น Smithfield, JBS, Cargill และ Tyson ส่งผลบวกต่อผู้ส่งออกอาหารไปยังต่างประเทศ รวมถึงเป็นโอกาสในการขยายตลาดในสหรัฐฯ โดยเฉพาะที่มีฐานการผลิตในภูมิภาคอื่นๆ ประกอบกับสถานการณ์ระบาดทำให้ราคาโภคภัณฑืทางการเกษตรเพิ่มขึ้น เป็นบวกต่อ CPF, TU, GFPT และ TVO 

ภาพรวมกลยุทธ์ โมเมนตัมยังดีในกลุ่มต้นทุนอิงปิโตรเลียม, ไฟฟ้า สื่อสาร และอาหาร ภาพรวมยังมองเป็นแค่ technical rebound ที่มีแนวต้าน 1270 และดีสุด 1300 จุด ตลาดอาจผันผวนหลังตอบรับปัจจัยบวกไปมากและเข้าสู่ช่วงประกาศงบ แม้ดัชนีอาจได้แรงหนุนจากหุ้นกลุ่มพลังงาน // หุ้นแนะนำวันนี้ เก็งกำไร CPF, IVL, BPP / ขายชอร์ต AOT* 

แนวรับ 1,239-1,250 / แนวต้าน : 1,270-1,286 จุด สัดส่วน : เงินสด 70% : พอร์ตหุ้น 30%

ประเด็นการลงทุน

พ.ร.ก.ฉุกเฉินยังปิด 10 จังหวัดถึง 31 พ.ค. - อาจเห็นการผ่อนปรนในบางพื้นที่ แต่จังหวัดที่มีแนวโน้มคงพ.ร.ก.ฉุกเฉิน อีก 1 เดือน ได้แก่ กทม., นนทบุรี, สมุทรปราการ, ปทุมธานี, เชียงใหม่, ภูเก็ต, ยะลา, ปัตตานี, นราธิวาส และสงขลา

คาดเป้าผลิตรถยนต์หด 50% หาก Covid-19 ยืดเยื้อ หากสถานการณ์ Covid-19 ยืดเยื้ออกไปถึงเดือน ก.ย. แต่กรณีสถานการณ์คลี่คลายเร็วภายในเดือน มิ.ย. ผลกระทบจะเหลือเพียง 30%

รัฐเตรียมแผนฟื้นฟู THAI สัปดาห์หน้า นายกฯเตรียมพิจารณาแผนฟื้นฟูการบินไทย (THAI) สัปดาห์หน้า เปิดแนวทางลดไซซ์การบินไทย แยกชิ้นธุรกิจทั้ง ครัวการบิน Thai smile ศูนย์ซ่อมบำรุง พร้อมขอกู้เงิน 5-7 หมื่นล้าน เสริมสภาพคล่อง

AOT งบจ่อขาดทุน AOT เคาะมาตรการช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการและสายการบิน ปรับลดค่าเช่า-ค่าธรรมเนียมลง 50%

AAV BA เตรียมบิน 1 พ.ค. CATT เรียก 20 สายการบินภายใน-นอก แจงมาตรการควบคุมโรคก่อนกลับมาเริ่มบินเดือน พ.ค.นี้ ด้าน 5 สายการบินในประเทศ AAV-BA พร้อทบิน 1 พ.ค. ยกเว้น Thai smile เลื่อนออกไปอีก 1 เดือน

ประเด็นติดตาม: 28 เม.ย. – BOJ meeting, 29 เม.ย. – US GDP 1Q63, 30 เม.ย. – FOMC meeting

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)