วิกฤติอุตฯสื่อ-โฆษณา ฝ่าวงล้อมโควิด

วิกฤติอุตฯสื่อ-โฆษณา  ฝ่าวงล้อมโควิด

อุตสาหกรรมสื่อ หืดจับ เมื่อลูกค้า "ชะลอ" ใช้งบ กระทบเม็ดเงินโฆษณา มี.ค.63 ติดลบ 5% สัญญาณร้าย! วงการสื่อ นีลเส็น เผยพฤติกรรมผู้บริโภค ดูทีวี เสพดิจิทัลเพิ่ม แบรนด์ควรสื่อสารเตือนความจำตราสินค้าครองใจกลุ่มเป้าหมาย รับวันประเทศฟื้นตัว

เคราะห์ซ้ำกรรมซัด “อุตสาหกรรมสื่อ” จากดิจิทัล ดิสรัปชั่น ถึงพิษโควิด-19 เม็ดเงินลดลงแย่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว สาหัสกว่าเมื่อลูกค้า “เบรก” ใช้งบ #StayHome #WorkFromHome หนุนผู้บริโภคเสพสื่อโตยกแผง นักการตลาด เจ้าของสื่อเดินเกมอย่างไร เคลื่อนธุรกิจฝ่าวงล้อมโรคระบาดให้อยู่รอด!!

ธุรกิจสื่อดั้งเดิมหรือ Traditional Media กำลังถูกท้าทายอย่างมากถึงการยืนระยะและอยู่รอดบนบริบทโลกที่เปลี่ยนแปลงเร็วและแรง อดีตที่เคยหอมหวาน อิ่มเอมกับความมั่งคั่งของการกอบโกยเม็ดเงินโฆษณาแสนล้านบาท” (ประเมินจากราคากลางหรือ Ratecard ที่ยังไม่มีส่วนลดใดๆ) ปัจจุบันสื่อใหม่” (New Media) อย่างอินเทอร์เน็ตเข้ามาแบ่งเค้กโฆษณาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ลักษณะประชากรศาสตร์ของประเทศไทยที่เปลี่ยนแปลงไป คนเจนเนอเรชั่นใหม่ Y Z เข้ามามีบทบาทมากขึ้น เจนฯ X และ Baby Boomer ขยับเข้าสู่วัยสูงอายุสิ่งเหล่านี้มีผลต่อพฤติกรรมการเสพสื่อของผู้บริโภคทั้งสิ้น

ขณะที่ออนไลน์มีอิทธิพลต่อผู้บริโภคทุกเพศทุกวัย ยิ่งโรคระบาดโควิด-19 ที่ลามโลกและไทย ส่งผลให้ทุกคนปฏิบัติตามนโยบายภาครัฐ ความกังวลออกไปนอกบ้านเสี่ยงเผชิญโรคติดต่อ ทำให้อยู่บ้านกันมากขึ้น เป็นปัจจัยเร่งให้การเสพและใช้สื่อออนไลน์จากนี้ไปกลายเป็นสิ่งปกติใหม่(New normal) โดยปริยาย

นอกจากเศรษฐกิจซบเซาต่อเนื่องหลายปี แบรนด์ต่างๆรัดเข็มขัด และ งบโฆษณา” เป็นด่านแรกที่ถูกหั่นผนวกกับ พายุดิจิทัล” ซัดสื่อเก่าให้ระส่ำ ซ้ำร้ายปี 2563 สถานการณ์ช็อก!โลกคือโรคระบาดโควิด-19 แบรนด์สินค้าเลยแตะเบรกใช้งบโฆษณาแรงกว่าเดิม เพิ่มเติมผันงบไปกู้วิกฤติโรคระบาดให้คลี่คลาย และช่วยเหลือประชาชนผู้เดือดร้อน ทั้งหมดเป็นโจทย์ยากที่ “ธุรกิจสื่อเก่า จะก้าวต่ออย่างยั่งยืน

++ย้อนอดีตอุตฯโฆษณา

ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมโฆษณามีความผันผวนไม่ต่างจากหลายธุรกิจ เพราะปัจจัยเศรษฐกิจ กำลังซื้อมีผลแปรผันต่อการใช้เงินของลูกค้าหรือแบรนด์สินค้าและบริการต่างๆ

นีลเส็น มีเดีย ประเทศไทย รายงานเม็ดเงินโฆษณาไตรมาสแรก ปี 2563มีมูลค่า 28,697 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน แบ่งตามสื่อ ทีวีมีมูลค่า 16,536 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2% อินเตอร์เน็ต 5,547 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23% สื่อโฆษณานอกบ้านและสื่อเคลื่อนที่ 3,093 ล้านบาท ลดลง 4% สื่อในโรงภาพยนตร์ 1,422 ล้านบาท ลดลง 15% สื่อสิ่งพิมพ์ 952 ล้านบาท ลดลง 33% วิทยุ 947 ล้านบาท ลดลง 10% และสื่อในห้าง 200 ล้านบาท ลดลง 18%

158783555488

เมื่อโควิดระบาด และไทยพบผู้ป่วยติดเชื้อโควิดรายแรก จนมีมาตรการล็อกดาวน์ปิดห้างร้าน สถานที่ต่างๆ เม็ดเงินโฆษณาเดือนมี.. จึงมีมูลค่า10,136 ลดลง 5% 

ปี 2562 อุตฯโฆษณามีมูลค่า 105,703 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.1%

ปี 2561 มูลค่า 105,557 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.0%

ปี 2560 มูลค่า 101,485 ล้านบาท หดตัว 6.0%

ปี 2559 มูลค่า 107,923 ล้านบาท หดตัว 11.7%

ปี 2558 มูลค่า 122,173 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.2%

ปี 2557 มูลค่า 118,380 ล้านบาท หดตัว 3.4%

ปี 2556 มูลค่า 122,532 ล้านบาท

หมายเหตุ :เม็ดเงินดังกล่าวไม่รวมกับโฆษณาจัดหางานและเจ้าของสื่อลงโฆษณาผ่านสื่อตนเอง

ในปี 2552 เป็นปีแรกที่อุตสาหกรรมโฆษณามีมูลค่าแตะ “ 1 แสนล้านบาทขณะที่สื่ออินเตอร์เน็ตเริ่มเข้ามามีบทบาทครั้งแรกเมื่อปี 2550 ไล่หลังการเกิดแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ “Facebook” เพียงไม่กี่ปี ซึ่งปีดังกล่าวอุตฯโฆษณามีมูลค่า 101,031 ล้านบาท และสื่ออินเตอร์เน็ตชิงเค้กด้วยมูลค่ากว่า 289 ล้านบาทเท่านั้น ขณะที่ทีวีครองเม็ดเงินโฆษณามากกว่า 60,765 ล้านบาท หนังสือพิมพ์กว่า 14,999 ล้านบาท

++โควิด-19 ตัวแปรธุรกิจสื่อ-โฆษณา อย่างไร 

โลกมักมีเหตุการณ์ตาลปัตรเกิดขึ้นเสมอ และการเกิดโรคโควิด-19 ระบาด ไม่แค่ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลากมิติ เฉพาะมิติของสื่อ พบความน่าสนใจมากมาย

รัญชิตา   ศรีวรวิไล  ผู้อำนวยการ บริษัท นีลเส็น มีเดีย ประเทศไทย เผยผลการศึกษาจากรายงาน โควิด-19 และสถานการณ์ของสื่อในประเทศไทย(COVID-19 AND THE STATE OF MEDIA IN THAILAND) เกิดขึ้น 3 มิติ ได้แก่ 1.พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป 2.ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมและเม็ดเงินโฆษณา และ 3.มุมมองของบริษัทต่ออุตสาหกรรมสื่อนับจากนี้ไป 

158783588222

รัญชิตา   ศรีวรวิไล

ปฏิเสธไม่ได้ว่าโรคโควิด-19ทำให้ประชาชนอยู่บ้าน ทำงานจากบ้าน ลดเสี่ยงและการแพร่ระบาดโรค ยิ่งการตรวจพบคนไทยติดเชื้อโควิดรายแรกทำให้การ เสพสื่อในบ้าน” เปลี่ยนแปลง นับจากม..-15 มี..63 เทียบกับ 16 มี..-15 เม..63 เฉพาะการกลับมา ดูทีวี” ที่ผู้ชมเทเวลาให้มากขึ้นเป็น 4.31 ชั่วโมง(ชม.)ต่อวัน จากเดิม 4.03 ชม.ต่อวัน ทำให้นาทีทองหรือช่วงไพรม์ไทม์ ตั้งแต่ 20.20-20.30 . อัตราเรทติ้งโต 29% จากเดิม 26% ส่วนหัวเมืองในต่างจังหวัดเรทติ้งโต 15% จาก 11% และช่วงเวลาที่โตขึ้นมายังมีทั้งเช้า กลางวันด้วย เพื่อติดตามข่าวสารรายงานสถานการณ์ผู้ป่วยโควิดแต่ละวัน

นีลเส็น ยังลงลึกข้อมูล(Data)ของผู้ชม พบว่า กลุ่มอายุที่ดูทีวีเพิ่ม ได้แก่ อายุ 4-14 ปี การเติบโตของเรทติ้งสูงสุด 32% ใช้เวลาดูทีวีเพิ่มเฉลี่ย 50 นาทีต่อวัน อายุ 15-24 ปี เรทติ้งโต 16% ใช้เวลาเพิ่มเฉลี่ย 12 นาทีต่อวัน และกลุ่มอายุ 35-39 ปี เรทติ้งโต 9% ใช้เวลาดูทีวีเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 21 นาทีต่อวัน ส่วนกลุ่มอายุ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นฐานคนดูทีวีหลักๆใช้เวลาในการดูทีวีเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 20 นาทีต่อวัน สะท้อนให้เห็นว่าเด็กปิดเทอม ผู้ใหญ่ทำงานที่บ้าน และการอัพเดทข่าว มีผลต่อการรับชมทีวีเพิ่ม

หากแยกตามอาชีพ ที่น่าสนใจนักเรียนชมทีวีมากขึ้น 40 นาที ส่งผลให้เรทติ้งโต 28% ตามด้วยพนักงานออฟฟิศ ใช้เวลาเพิ่ม 46 นาที เรทติ้งโต 23%

ส่วนเนื้อหารายการ(คอนเทนท์) ที่ผู้ชมดูมาก ยกให้ ข่าว” เติบโต 11% ยิ่งพิจารณาสถานการณ์ในประเทศไทยตั้งแต่ต้นปีมีเหตุการณ์เกิดขึ้นจำนวนมาก ทั้งมกราบอกลาถุงพลาสจิก ฝุ่น PM2.5 วิ่งไล่ลุง ชิงทองลพบุรี กราดยิงโคราช ยุบพรรคอนาคตใหม่ โควิด การกักตุนสินค้า หน้ากากอนามัยขาดแคลนและแพง ไข่แพง และมาตรการเยียวยาฝ่าวิกฤติต่างทำให้คนเกาะติดข่าว เป็นต้น

158783576018

ขณะที่สารคดี มีการเติบโต 12% รายการที่ให้ความบันเทิง(Light Entertainment)เติบโต12% ส่วนรายการที่คนดูลดคือ กีฬา เพราะนับตั้งแต่โรคระบาดไม่สามารถจัดกีฬาใดๆได้ ทำให้รายการถ่ายทอดสด หรือรายการต่างๆหายไปนั่นเอง

ตั้งแต่ต้นปีประเทศไทยมีเหตุการณ์มากมายที่ทำให้ผู้ชมดูข่าวมากขึ้น กระทั่งมีโรคระบาด และไทยพบผู้ป่วยโควิดรายแรกทำให้รายการข่าวเติบโตถึง 73%”

ส่วนการเสพสื่อดิจิทัล มีการเติบโตควบคู่กันไป โดยการรับชมรายการผ่านสื่อดิจิทัลทะลุ 1,000 ล้านวิว จาก23-29 มี..อยู่ที่ 994 ล้านวิว และ 2-8 มี..อยู่ที่ 712 ล้านวิว และรับชม Live Stream เติบโต 25% ในทุกช่วงเวลาทั้งเช้า กลางวัน และไพรม์ไทม์

ด้านผลกระทบต่ออุตสาหกรรมโฆษณา แม้คนจะรับชมทีวี เสพสื่อดิจิทัลมากขึ้น แต่เกือบทุกสื่อเซ่นพิษโควิด เม็ดเงินโฆษณา มี..หดตัว 5% มีเพียงอินเตอร์เน็ตยังโต 23%

ทั้งนี้ โรคโควิดระบาดทั่วโลก จึงทำให้อุตฯโฆษณาหลายประเทศดิ่ง เช่น อิตาลีดิ่ง 5% เพราะธุรกิจบันเทิงดิ่งแรง 42% การขนส่งและท่องเที่ยว หดตัว 67% ส่วนสหราชอาณาจักรหดตัว 3% แต่ประเทศที่ยังฝ่าวิกฤติโควิดโต ได้แก่ อินเดีย 13% จากลุ่มอาหาร โฆษณาโซเชียลมีเดีย และธนาคาร ท่ามกลางการล็อกดาวน์ประเทศ 1 สัปดาห์ เบลเยี่ยม 4.2% และเนเธอแลนด์อุตฯโฆณาโต 4.5%

  

  • สื่อวางแผนดึงเงินโฆษณาแบบไหน

เมื่อผู้บริโภคดูทีวี ดูรายการย้อนหลัง(Re-run) การเสพสื่อที่เปลี่ยนไปในช่วงอยู่บ้าน นักการตลาด คนในวงการสื่อ เจ้าของสื่อ จะวางแผนปรับตัวอย่างไร เพื่อสร้างประโยชน์ให้แบรนด์ เกิดความผูกพัน(Engagement)กับกลุ่มเป้าหมาย รักษาความภักดีต่อแบรนด์(Loyalty) และการมองเห็นสินค้าไว้ เพราะหากโควิดคลี่คลาย แบรนด์ที่เคลื่อนไหวครองใจผู้บริโภค จะฟื้นกลับมาเร็ว รัญชิตา ให้มุมมอง

แต่ความจริง โหดร้าย!! เพราะโควิดทุบเศรษฐกิจเกือบพินาศ คนจำนวนมากตกงานรายได้ลดลง การล็อกดาวน์ยังทำให้ค้าขายลำบาก หากจะทุ่มเงินทำการตลาด โฆษณาละลายเงิน แต่ขายสินค้าไม่ได้ จึงทำให้แบรนด์ “ประหยัด” ชะลอใช้งบโฆษณาแทบทุกธุรกิจ เพราะผลตอบแทนคงไม่คุ้มค่าการลงทุน(ROI) ตัวอย่าง โคคา-โคล่า ประกาศลดงบโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์และออนไลน์ทั้งหมด โออิชิ ยุติแคมเปญการตลาดซัมเมอร์ เป็นต้น

158783641742

ตัวอย่างแบรนด์ประกาศหยุดแคเปญการตลาด หยุดโฆษณาชั่วคราว

มี 2 เหตุการณ์(scenarios)ต่อเม็ดเงินโฆษณาว่าแบรนด์จะดึงเงิน หรือผลักดันการใช้จ่าย เพราะทุกฝ่าย(Stakeholders) ได้รับผลกระทบจากโควิด ต้องคุมค่าใช้จ่าย หนึ่งในนั้นคืองบโฆษณา ไปโฟกัสการบริหารจัดการด้านอื่น ทั้งสต๊อกสินค้า โลจิสติกส์

 ทว่า สินค้าบางหมวด(Category)ยังใช้จ่าย รับความต้องการ(Demand)ของผู้บริโภค เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค กลุ่มทำความสะอาด น้ำยาฆ่าเชื้อ ธุรกิจเดลิเวอรี ที่ส่งสินค้าแทบไม่ทัน ธุรกิจประกันชีวิต อีคอมเมิร์ซ โฮมชอปปิง โทรคมนาคม และออนไลน์สตรีมมิ่ง เป็นต้น

ช่วงนี้ทุกคนให้ความสำคัญกับการบริหารต้นทุน แต่ท่ามกลางคนหลายช่วงอายุบริโภคสื่อมากขึ้น ชวนเจ้าของสื่อ นักการตลาดคิดจะวางแผนสื่อสารการตลาดอย่างอย่างระมัดระวัง แต่มีความแม่นยำหากลุ่มเป้าหมาย แบรนด์ สื่อต้องผ่านวิกฤติไปให้ได้ หลายพันธมิตรเห็นอกเห็นใจกัน พยายามช่วยพยุงอุตสาหกรรมให้รอด จึงเห็นการหารือช่วยเหลือกันมากขึ้น

ทั้งนี้ จะช่วยเหลือเกื้อกูล รักษาสายสัมพพันธ์(Connection)อย่างไรครีเอทีฟเจ๋งๆ ในการสร้างสรรค์คอนเทนท์ให้โดนใจผู้บริโภคยังสำคัญอย่างมาก 

 

  • แบรนด์เทงบฯ คือความหวัง

ส่วนแนวโน้มอุตฯโฆษณา หลังโควิดคลี่คลาย รัญชิตา มองว่าสื่อที่จะฟื้นตัวลำดับแรกๆ คือ สื่อนอกบ้าน สื่อในห้าง สื่อโรงภาพยนตร์ เป็นต้น เพราะบางส่วนถูกปิด คนออกนอกบ้านลดลง ป้ายบิลบอร์ด แทบไม่มีผู้บริโภคเห็น ส่วนสื่อโรงหนังปิดตามห้าง การมองเห็นโฆษณาเป็นศูนย์ด้านสินค้าที่คาดว่ายังใช้จ่ายหลังโควิด สินค้าอุปโภคบริโภค ประกัน และอีกหลายหมวด เพราะเป็นจังหวะที่ต้องอัดแคมเปญเรียก ยอดขายระยะสั้น” กลับมาให้ได้

ผู้บริโภคต้องการกลับมาใช้ชีวิตปกติให้เร็วที่สุด จะเห็นการเปิดใจซื้อสินค้า ลองแบรนด์ใหม่ ส่วนแบรนด์จะกลับมาทุ่มงบโฆษณาดึงยอดขาย ทำให้อุตฯโฆษณาจะบูมอีกรอบ เหมือนหลังเกิดวิฤกติต่างๆ พอสถานการณ์คลี่คลายทุกอย่างจะกลับมาหลังจากชะลอไว้”  

อย่างไรก็ตาม ทั้งปี 2563 โฆษณาจะเติบโตหรือหดตัวในอัตราเท่าใด ยังคาดการณ์ยาก เพราะเศรษฐกิจโดยรวมชะลอตัว พฤติกรรมผู้บริโภคจะใช้ชีวิตปกติเมื่อใด หลายแบรนด์จะทำอย่างไรเพื่อกระตุ้นยอดขาย ดึงลูกค้าให้กลับมาซื้อสินค้าแบรนด์ตนเอง เพราะยอมรับว่าการระบาดของโรคโควิดครั้งนี้ กระทบความเชื่อมั่น ความกังวลใจของผู้บริโภคที่คาดการณ์จะยาวนานถึง 6 เดือน

158783677225

ผู้บริโภคกังวลใจเกี่ยวกับการระบาดของโรคโควิด

ช่วงวิกฤติผู้บริโภคระวัง พอสถานการณ์คลี่คลายจะฟื้นตัว

รัญชิตา ทิ้งท้ายว่า วิกฤติโควิดสร้างปฏิกิริยาเร่ง” ให้ทุกธุรกิจ “ปรับตัว ไม่แค่ธุรกิจสื่อ หรือสื่อดั้งเดิม สื่ออนไลน์ก็เลี่ยงผลกระทบนี้ไม่ได้เช่นกัน

  • ส่องคนไทยเสพสื่อดิจิทัล "ไลน์"

การล็อคดาวน์ ห้างร้านปิด ประชาชนอยู่บ้าน จึงเสพสื่อมากขึ้นทั้งทีวีและออนไลน์ เฉพาะฝั่งดิจิทิทัล ไลน์” เผยพฤติกรรมผู้บริโภคเกาะติดข่าวสาร สาระความบันเทิงผ่านไลน์ทูเดย์ เพิ่มเป็น 44 ล้านคนต่อวัน จาก 36 ล้านคนต่อวัน รายการ ข่าวเกี่ยวกับโควิดโต 3 เท่า อ่านจบตบด้วยแชร์ต่อดันคอนเทนท์โต 140%

ข่าวธุรกิจ ฮิตฮอต เติบโตสูงสุด 75% เพราะปัญหาปากท้องสำคัญมาก ตามด้วยคอนเทนท์ ไลฟ์สไตล์กินเที่ยว โต 35% แม้อยู่บ้าน จินตาการท่องเที่ยวชิมร้านเด็ดดัง ยังมีอยู่เพื่อช่วยจรรโลงใจ ส่วน เวลา” พีคคือ 19.00 . และ 15.00 .

158783662053

ไลน์ทีวี” แพลตฟอร์มรับชมวิดีโอออนไลน์ ผู้บริโภคเชื่อมรายการจากจอเล็งขึ้นจอใหญ่มากถึง 42% ใช้เวลานานขึ้น 30% เนื้อหายอดฮิตคือ “ซีรี่ส์วาย(ละครชุดเนื้อหาชายรักชาย) ตอบจริตผู้หญิง และขยายไปสู่ผู้หญิงอายุ 55 ปีขึ้นไป เนื่องจากดูผ่านทีวีทำให้คนทั้งครอบครัวใช้เวลาร่วมกัน ช่วงปิดเทอม เอนิเมชั่น” ได้อานิสงส์เพราะเด็กไม่ได้ไปโรงเรียน วัดยุด(Weekend)ยังเพิ่มวันศุกร์ จากเดิมแค่เสาร์-อาทิตย์

ครึ่งเดือนหลังของมี.. การรับชมไลน์ทีวีเติบโต 24% ส่วนแนวโน้มคอนเทนท์ที่จะโตมากขึ้น คาดว่าเป็นไลฟ์สไตล์ เพราะผู้บริโภคต้องการเที่ยว ผ่อนคลาย” กณพ   ศุภมานพ  รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรกิจคอนเทนต์ ไลน์ ประเทศไทย ฉายภาพ

  

  • โฆษณาดิจิทัลกระเทือนด้วย

ต้นปีสมาคมโฆษณาดิจิทัล(ประเทศไทย)หรือ DAAT ประเมินเม็ดเงินโฆษณาดิจอทัลปี 2563 จะสะพัดถึง 22,186 ล้านบาท เติบโต 13% โดย 5 อุตสาหกรรมที่ใช้เม็ดเงินสูงสุด ได้แก่ กลุ่มยานยนต์มูลค่า 3,031 ล้านบาท กลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลผิวพรรณ(สกินแคร์) 2,028 ล้านบาท กลุ่มการสื่อสาร 1,969 ล้านบาท กลุ่มธุรกิจธนาคาร 1,398 ล้านบาท และกลุ่มเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮล์ 1,335 ล้านบาท

ทว่า โควิดช็อกโลกพลิกสถานการณ์ และ ศิวัตร   เชาวรียวงษ์ นายกสมาคมโฆษณาดิจิทัลฯ ต้องประเมินตัวเลขกันใหม่ โดยรอให้สถานการณ์ทุกอย่างคลี่คลายและนิ่งขึ้น แต่ยอมรับว่า เม็ดเงินจะไม่โตอย่างแน่นอน เนื่องจากทุกแบรนด์เบรกใช้งบโฆษณา เพราะลงเงินไปกระตุ้นยอดขายไม่ได้

ตัวแปรสำคัญที่ทำให้ลูกค้าหรือแบรนด์กลับมาควักงบใช้จ่ายโฆษณา ต้องพิจารณาดีมานด์ของผู้บริโภค ที่หลังจบโควิดจะมี 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่มีอำนาจซื้อ จะใช้จ่าย ส่วนที่รายได้หดหายไม่ว่าอย่างไรกำลังซื้อไม่มีอยู่แล้ว จึงต้องรอให้หาทางยืนระยะและฟื้นตัวกลับมา

 

  • แพลนบี ลงทุนสื่อนอกบ้าน 400 ล้านบาท รอจังหวะโต 

สงครามโรคทำให้ผู้บริโภคอยู่บ้าน กระทบการมองเห็นสื่อนอกบ้าน แต่ แพลนบี” ยักษ์ใหญ่สื่อนอกบ้าน ได้ปรับตัวด้วยการดึงพันธมิตร คนดังมาสร้าง ส่งพลังใจให้คนไทยต่อสู้ และฝ่าวิกฤติโรคโควิดไปด้วยกัน

158783568274

ยังลงทุนเพื่อรอจังหวะโต โดย ปรินทร์ โลจนะโกสินทร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แพลนบี มีเดีย จำกัด (มหาชนเชื่อมั่นว่า อุตสาหกรรมโฆษณาของไทยจะกลับมาเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง หลังพ้นวิกฤติโรคระบาด ซึ่งจะเห็นภาพความสมดุลของเม็ดเงิน 3 สื่อหลักมากขึ้น ทั้งทีวี ออนไลน์ และสื่อนอกบ้าน จากปัจจุบันทีวีครองงบโฆษณาสูงสุดกว่า 50%

ล่าสุด แพลนบีชนะการประมูล ป้ายรถเมล์อัจฉริยะ Smart bus shelter จากสำนักงานการจราจรและขนส่งกรุงเทพฯ  รับสิทธิ์การสร้างและบำรุงรักษาศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทางอัจริยะทั่วทั้งกรุงเทพมหานคร รวม 691 ศาลา พร้อมบริหารจัดการพื้นที่สื่อโฆษณาประเภทป้ายกล่องไฟ จำนวนกว่า 1,170 จุด ภายใต้งบลงทุนไม่น้อยกว่า 400 ล้านบาท

 “กว่า 15 ปีที่ผ่านมา บริษัทฯ มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาสื่อภายนอกบ้านอย่างต่อเนื่อง ตอบสนองไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมุ่งเน้นขยายช่องทางสื่อที่หลายหลาย ครบวงจร และครอบคลุมในทุกเวลาของการใช้ชีวิตประจำวัน และการได้โครงการป้ายรถเมล์อัจฉริยะ จะทำให้แพลนบีมีเครือข่ายสื่อในพื้นที่กรุงเทพฯแข็งแรงขึ้น เพิ่มโอกาสสร้างรายได้ไม่น้อยกว่า 300 ล้านบาทต่อปี ตลอดระยะเวลาสัญญากว่า 10 ปี