ธปท.-สภาวิชาชีพบัญชี ผ่อนปรน เกณฑ์ปฏิบัติทางบัญชี เอื้อแบงก์-นอนแบงก์ ช่วยลูกหนี้เชิงรุก

ธปท.-สภาวิชาชีพบัญชี ผ่อนปรน เกณฑ์ปฏิบัติทางบัญชี เอื้อแบงก์-นอนแบงก์ ช่วยลูกหนี้เชิงรุก

ธปท.-สภาวิชาชีพบัญชี ออกแนวปฏิบัติทางบัญชี เอื้อแบงก์-นอนแบงก์ ช่วยเหลือลูกหนี้เชิงรุก ทันเหตุการณ์ เปิดทางจัดชั้นลูกหนี้ Stage1ได้ หากลูกหนี้ไม่เสี่ยง เปิดทางคิดอัตรดอกเบี้ยที่แท้จริงใหม่ได้ หาปรับโครงสร้างหนี้แล้วดอกเบี้ย ไม่สะท้อนกระแสเงินสด

      ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ออกหนังสือเวียนถึง สถาบันการเงิน ผู้ให้บริการทางการเงินที่ไม่ใช่สถาาบันการเงินทุกแห่ง หลังจากมีการออกแนวปฏิบัติทางบัญชี เรื่องมาตตการผ่อนปรนชั่วคราวสำหรับ กิจการที่ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจไทย สืบเนื่องจาก สถานการณ์ไวรัสโคโรนา สายพันธ์ใหม่ หรือโควิด-19 ได้ขยายวงกว้าง
     จากสถานการณ์การแพร่ระบาดมีแนวโน้มลุกลามและส่งผลกระทบที่รุนแรงในวงกว้างต่อธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นลูกหนี้ธุรกิจขนาดใหญ่ หรือลูกหนี้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงลูกหนี้รายย่อย
     ซึ่งส่งผลให้ที่ผ่านมา ธปท.มีการออกแนวทางการช่วยเหลือลูกหนี้ ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ สงครามการค้า ภัยแล้ง และโควิด-19 เพื่อให้แบงก์และนอนแบงก์ใช้เป็นแนวปฏิบัติ
     โดยทางสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ เห็นควรให้ออกแนวปฏิบัติทางการบัญชี เรื่องมาตรการผ่อนปรนชั่วคราว สำหรับกิจการที่ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในข้างต้น เพื่อให้กิจการมีข้อผ่อนปรนชั่วคราว
    ในการพิจารณาผลขาดทุนด้านเครดิต ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ให้กิจการดังกล่าวให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ในเชิงรุกอย่างทันเหตุการณ์ อันจะเป็นประโยชน์ต่อลูกหนี้ในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน
      โดย มาตรการผ่อนปรนชั่วคราว สำหรับกิจการที่ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย เช่น การให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้ ที่ยังไม่ด้อยคุณภาพ (Non-NPL) กิจการสามารถ จัดชั้นลูกหนี้ดังกล่าวเป็นชั้น ที่ไม่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต (performing หรือ Stage 1) ได้ทันที
     หากวิเคราะห์ฐานะและกิจการของลูกหนี้แล้วเห็นว่าลูกหนี้สามารถปฏิบัติตามสัญญาการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้ โดยไม่ต้องรอติดตามผลการปฏิบัติตามเงื่อนไข ให้ถือว่าการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในลักษณะเชิงป้องกัน โดยไม่ถือเป็นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา (Troubled Debt Restructuring: TDR)  
      ทั้งนี้ หากกิจการให้ ความช่วยเหลือลูกหนี้ ที่ ได้ รับผลกระทบภายใต้ มาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ขั้นต่ำตามแนวทางของธปท. ให้กิจการคงการจัดชั้นหนี้ของลูกหนี้ตามเดิมก่อนเข้ามาตรการ
    เช่น เดิมหากลูกหนี้อยู่ Stage 2 ก็ให้คงไว้ชั้นเดิมหลังการช่วยเหลือ ทั้งนี้ การให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้ ที่ด้อยคุณภาพ  กิจการสามารถจัดชั้นลูกหนี้ดังกล่าวเป็นชั้น performing ได้ หากลูกหนี้สามารถชำาระเงินตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ใหม่ได้ติดต่อกันเป็นเวลา 3 เดือนหรือ 3 งวดการชำระเงินแล้ว
     ด้านการให้ สินเชื่อประเภทเงินทุนหมุนเวียน (Working capital) แก่ลูกหนี้ เพิ่มเติม เพื่อเสริมสภาพคล่องให้ลูกหนี้ สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องในระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ กิจการสามารถจัดชั้นสินเชื่อดังกล่าว เป็นรายบัญชีได้หากลูกหนี้มีกระแสเงินสดรองรับการชำระหนี้ การพิจารณาเปลี่ยนการจัดชั้นเป็น Stage 2 กิจการสามารถนำแนวทางการพิจารณา การเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต ตามแนวทางการช่วยเหลือลูกหนี้ ตามประกาศธปท. มาใช้เป็นแนวทางเบื้องต้นได้
     อย่างไรก็ตาม กิจการยังคงต้องถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินทุกฉบับที่มีผลบังคับใช้และเกี่ยวข้องกับการจัดทำงบการเงินของกิจการในแต่ละรอบระยะเวลารายงานการกันเงินสำรอง
    สำหรับกรณีลูกหนี้มีวงเงินที่ยังไม่ได้เบิกใช้ กิจการสามารถคำนวณผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากยอดสินเชื่อคงค้างเฉพาะส่วนของวงเงินที่เบิกใช้แล้วได้
     ส่วนในกรณีที่การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง เดิมไม่สะท้อนประมาณการกระแสเงินสดที่จะได้รับจากสินเชื่อนั้นแล้ว กิจการสามารถใช้ EIR ใหม่เป็น อัตราคิดคำนวณมูลค่าปัจจุบัน ของสินเชื่อที่ปรับปรุงโครงสร้าง
หนี้ภายใต้แนวทางการให้ความช่วยเหลือตามหนังสือเวียนของธปท.
    ทั้งนี้ หากกิจการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ ได้รับผลกระทบภายใต้มาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ขั้นต่ำ ตามแนวทางในหนังสือเวียนของธปท. กิจการสามารถรับรู้รายได้ดอกเบี้ยในช่วงระยะเวลาที่ พักชำระหนี้ได้เป็นดอกเบี้ยค้างรับด้วย EIR ใหม่ได้  ในการวัดมูลค่าของผลขาดทุนด้านเครดิตที่ คาดว่าจะเกิดขึ้นโดยวิธีการทั่วไป (General approach) กิจการสามารถพิจารณาน้ำหนักของข้อมูลที่ มีการคาดการณ์ไปในอนาคต ที่ เกิดจากภาวะวิกฤตชั่วคราว
   เช่น ใช้ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการคาดการณ์ในอนาคต เป็นน้ำหนักที่น้อยกว่าข้อมูลที่สะท้อนความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ จากประสบการณ์ในอดีต หรือตามหนังสือเวียนของธปท.ที่กำหนดเพิ่มเติมต่อไป
   ซึ่งแนวปฏิบัติทางการบัญชีฉบับนี้เป็นมาตรการผ่อนปรนชั่วคราว สำหรับกิจการที่ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในข้างต้น ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 หรือจนกว่าธปท.จะมีการเปลี่ยนแปลง