“ประวิตร” ระดมมันสมองตั้งคณะทำงานผลิตน้ำจืดจากทะเล เพิ่มน้ำจืดให้พื้นที่อีอีซี
สทนช. เผย "ประวิตร" สั่งระดมมันสมองตั้งคณะทำงานพัฒนาผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเลในพื้นที่อีอีซี วิเคราะห์เทคโนโลยีที่เหมาะสม ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม พร้อมจัดหาพื้นที่นำร่องดำเนินโครงการ
ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการขนาดใหญ่และโครงการสำคัญ ภายใต้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ได้แต่งตั้งคณะทำงานทางเทคนิคการพัฒนาโครงการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล รองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยมี รองเลขาธิการ สทนช. เป็นประธานคณะทำงาน และรองเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษ เป็นรองประธานคณะทำงาน และมีคณะทำงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำบาดาล การประปาส่วนภูมิภาค การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยมีภารกิจหลักในการพิจารณา รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สัดส่วนการใช้น้ำ การกำหนดราคาค่าน้ำ เพื่อกำหนดประเภทของเทคโนโลยี พื้นที่นำร่อง และปริมาณการผลิตน้ำต่อวัน ที่เหมาะสมของโครงการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเลรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ก่อนนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการขนาดใหญ่และโครงการสำคัญ และ กนช. ตามลำดับ
เลขาธิการ สทนช. กล่าวต่อว่า พื้นที่ EEC เป็นพื้นที่ที่รัฐบาลมีเป้าหมายในการส่งเสริมการลงทุน เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจของไทยเติบโตได้ในระยะยาว จำเป็นจะต้องมีระบบสาธารณูปโภคพื้นที่ฐานที่พร้อมรองรับการลงทุน โดยเฉพาะในเรื่องน้ำซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนการผลิต จากการประเมินความต้องการใช้น้ำในพื้นที่ EEC พบว่า ในปี 2569 จะมีความต้องการใช้น้ำเพิ่มขึ้นเป็น 2,888 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) จากปัจจุบันที่มีความต้องการใช้น้ำประมาณ 2,419 ล้าน ลบ.ม. และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงมีความจำเป็นจะต้องจัดหาแหล่งน้ำต้นทุนเพิ่มขึ้นให้ได้อีกไม่น้อยกว่า 500 ล้าน ลบ.ม. ภายใน 20 ปีข้างหน้า จากปัจจุบันที่มีปริมาณน้ำต้นทุนประมาณ 2,539 ล้าน ลบ.ม. สทนช.ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดทำแผนโครงการพัฒนาแหล่งน้ำและการจัดการทรัพยากรน้ำภาคตะวันออกรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (ปี 2563 - 2580) ขึ้นเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ โดยแผนดังกล่าวผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2562 และคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563 ประกอบด้วย 1.แผนงานพัฒนาแหล่งน้ำต้นทุน ปี 2563-2570 รวมทั้งสิ้น 38 โครงการ เพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนได้ 872.19 ล้าน ลบ.ม. 2.แผนการบริหารจัดการด้านความต้องการใช้น้ำ ปี 2563-2580 จำนวน 9 โครงการ/มาตรการ 3.แผนการป้องกันและบรรเทาอุทกภัย ปี 2563–2580 จำนวน 25 โครงการ 4.แผนการจัดการคุณภาพน้ำ ปี 2563–2580 จำนวน 33 โครงการ และ 5.มาตรการอื่นๆ เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำ ปี 2563-2580 จำนวน 3 โครงการ
“การพัฒนาแหล่งน้ำจากเทคโนโลยีการกรองน้ำทะเลเป็นน้ำจืดเป็น 1 ใน 38 โครงการของแผนงานพัฒนาแหล่งน้ำต้นทุนปี 2563-2570 ซึ่งในขณะนี้เทคโนโลยีด้านนี้ประเทศไทยยังไม่มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย จำเป็นต้องศึกษารายละเอียดให้ครอบคลุมทุกด้าน คณะทำงานชุดนี้จะเข้ามาศึกษาเพื่อหาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการ ซึ่งหากสามารถจัดหาน้ำตามที่ประเมินไว้จะช่วยสร้างความมั่นคงในเรื่องน้ำให้กับพื้นที่ EEC อย่างยั่งยืน” เลขาธิการ สทนช. กล่าวในตอนท้าย
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เดินหน้าสร้างความมั่นคงน้ำให้ EEC ระดมมันสมองตั้งคณะทำงานพัฒนาผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล วิเคราะห์เทคโนโลยีที่เหมาะสม ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม พร้อมจัดหาพื้นที่นำร่องดำเนินโครงการ
นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการขนาดใหญ่และโครงการสำคัญ ภายใต้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ได้แต่งตั้งคณะทำงานทางเทคนิคการพัฒนาโครงการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล รองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยมี รองเลขาธิการ สทนช. เป็นประธานคณะทำงาน และรองเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษ เป็นรองประธานคณะทำงาน
ทั้งนี้เพื่อ รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สัดส่วนการใช้น้ำ การกำหนดราคาค่าน้ำ เพื่อกำหนดประเภทของเทคโนโลยี พื้นที่นำร่อง และปริมาณการผลิตน้ำต่อวัน ที่เหมาะสมของโครงการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเลรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ก่อนนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการขนาดใหญ่และโครงการสำคัญ และ กนช. ตามลำดับ
สำหรับพื้นที่ EEC รัฐบาลมีเป้าหมายในการส่งเสริมการลงทุน เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจของไทยเติบโตได้ในระยะยาว จำเป็นจะต้องมีระบบสาธารณูปโภคพื้นที่ฐานที่พร้อมรองรับการลงทุน โดยเฉพาะในเรื่องน้ำซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนการผลิต จากการประเมินความต้องการใช้น้ำในพื้นที่ EEC พบว่า ในปี 2569 จะมีความต้องการใช้น้ำเพิ่มขึ้นเป็น 2,888 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.)
จากปัจจุบันที่มีความต้องการใช้น้ำประมาณ 2,419 ล้าน ลบ.ม. และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงมีความจำเป็นจะต้องจัดหาแหล่งน้ำต้นทุนเพิ่มขึ้นให้ได้อีกไม่น้อยกว่า 500 ล้าน ลบ.ม. ภายใน 20 ปีข้างหน้า จากปัจจุบันที่มีปริมาณน้ำต้นทุนประมาณ 2,539 ล้าน ลบ.ม. สทนช.ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดทำแผนโครงการพัฒนาแหล่งน้ำและการจัดการทรัพยากรน้ำภาคตะวันออกรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (ปี 2563 - 2580) ขึ้นเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการขาดแคลนน้ำในพื้นที่
โดยแผนดังกล่าวผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2562 และคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2563 ประกอบด้วย 1.แผนงานพัฒนาแหล่งน้ำต้นทุน ปี 2563-2570 รวมทั้งสิ้น 38 โครงการ เพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนได้ 872.19 ล้าน ลบ.ม. 2.แผนการบริหารจัดการด้านความต้องการใช้น้ำ ปี 2563-2580 จำนวน 9 โครงการ/มาตรการ 3.แผนการป้องกันและบรรเทาอุทกภัย ปี 2563–2580 จำนวน 25 โครงการ 4.แผนการจัดการคุณภาพน้ำ ปี 2563–2580 จำนวน 33 โครงการ และ 5.มาตรการอื่นๆ เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำ ปี 2563-2580 จำนวน 3 โครงการ
“การพัฒนาแหล่งน้ำจากเทคโนโลยีการกรองน้ำทะเลเป็นน้ำจืดเป็น 1 ใน 38 โครงการของแผนงานพัฒนาแหล่งน้ำต้นทุนปี 2563-2570 ซึ่งในขณะนี้เทคโนโลยีด้านนี้ประเทศไทยยังไม่มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย จำเป็นต้องศึกษารายละเอียดให้ครอบคลุมทุกด้าน คณะทำงานชุดนี้จะเข้ามาศึกษาเพื่อหาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการ ซึ่งหากสามารถจัดหาน้ำตามที่ประเมินไว้จะช่วยสร้างความมั่นคงในเรื่องน้ำให้กับพื้นที่ EEC อย่างยั่งยืน”