"Financial" Sector (22 มิ.ย.63)

"Financial" Sector (22 มิ.ย.63)

แบงก์และนอนแบงก์ร่วมรับผลกระทบกับการที่ ธปท.ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รอบ 2

Event

ธปท. ใช้อำนาจสั่งการให้ 1.) ธนาคาร และนอนแบงก์ลดเพดานดอกเบี้ยเงินกู้ที่คิดจากสินเชื่อผู้บริโภคลง และ 2.) ธนาคารระงับการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลให้กับผู้ถือหุ้น และระงับการซื้อหุ้นคืนเพื่อรักษาระดับเงินกองทุนเอาไว้ในภาวะที่เศรษฐกิจถูกกระทบอย่างรุนแรงจากสถานการณ์โรคระบาด

lmpact

ธนาคารไม่ถูกกระทบมากนักจากการลดเพดานดอกเบี้ยเงินกู้

การลดเพดานดอกเบี้ยเงินกู้ที่คิดจากสินเชื่อผู้บริโภคจะส่งผลกระทบกับธนาคารน้อยมาก เพราะสินเชื่อผู้บริโภคในส่วนของบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคลคิดเป็นสัดส่วนเพียงแค่ 8% ของ KBANK เท่านั้น ในขณะที่ของ SCB และ KTB คิดเป็นแค่ 6% และการคิดดอกเบี้ยเงินกู้ก็จะจะต่ำกว่าเพดานอยู่แล้ว ในขณะเดียวกัน สินเชื่อจำนำทะเบียนของ TISCO และ KKP ก็คิดที่อัตราต่ำกว่า 15% ดังนั้นทั้งสองธนาคารจึงไม่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญจากการปรับอัตราดอกเบี้ยของ ธปท. ทั้งนี้ เพื่อความอนุรักษ์นิยม เราได้ทดลองปรับลด yield ลง 1% จะทำให้กำไรของ KBANK และ TISCO ลดลงเกือบ 3% ในขณะที่กำไรของ KTB และ SCB จะลดลง 2% ในขณะที่กำไรของ BBL จะลดลงไม่ถึง 1%

นอนแบงก์จะถูกกระทบหนักกว่า

ในบรรดาหุ้นกลุ่มนอนแบงก์ เรามองว่า MTC จะถูกกระทบเพียงเล็กน้อย ในขณะที่ KTC จะถูกกระทบปานกลาง แต่ SAWAD จะถูกกระทบหนัก โดย MTC กำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สินเชื่อจำนำทะเบียนไว้ที่ 20 -21% และสินเชื่อ Nanao ไว้ที่ประมาณ 25-26% ซึ่งเมื่อใช้อัตราดอกเบี้ยใหม่แล้ว yield ที่ลดลง
จากสินเชื่อ Nano จะส่งผลกระทบกับกำไรของ MTC ประมาณ 1-3% ส่วนในกรณีของ KTC ต้องลดอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตลง 2% และลดอัตราดอกเบี้ย P-Loan ลง 1% (จากปัจจุบันคิดที่ 26%) ซึ่ง yield ที่ลดลงจะส่งผลกระทบกับกำไร 5-6% แต่อย่างไรก็ตาม เราคาดว่ากำไรของ SAWAD จะถูกกระทบ
หนักกว่าที่ 7-8% หากไม่รวมสินเชื่อที่ดิน หรือประมาณ >14% หากรวม yield ที่ลดลงจากสินเชื่อที่ดิน

ไม่มีการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สินเชื่อลิสซิ่ง และเช่าซื้อ

แม้ตลาดจะมีความกังวลว่าจะลดดอกเบี้ยสินเชื่อซื้อมาก่อนหน้านี้ แต่ ธปท. ก็ไม่ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อลิสซิ่ง และเช่าซื้อ ดังนั้น จึงช่วยคลายกังวลเกี่ยวกับแรงกดดันต่อมาร์จิ้น ของธนาคารที่มีสัดส่วนสินเชื่อ H/P สูง อย่างเช่น TISCO, KKP, TMB และ TCAP

ธนาคารถูกสั่งระงับการจ่ายปันผลระหว่างกาล -ส่งสัญญาณคุณภาพสินทรัพย์มีแนวโน้มแย่ลง

เพื่อรักษาฐานเงินทุนเอาไว้สำหรับรองรับ NPL ใหม่ที่ตามความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น และเพื่อรองรับการปล่อยสินเชื่อใหม่ในวัฏจักรการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ธปท. จึงสั่งให้ธนาคารระงับการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลของธนาคาร และเตรียมความพร้อมของทุนรองรับแผน 1-3 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นการแสดงถึงมุมมองที่เป็นลบจากความกังวลเรื่อง NPL และการกันสำรอง เรามองว่าธนาคารที่จ่ายปันผลสูงอย่างเช่น BBL TISCO และ KKP จะเผชิญแรงขาย ในขณะที่ธนาคารที่มีเงินกองทุนขั้นที่ 1 และความกังวลหนี้จะกดดัน TMB SCB KBANK

Valuation and action

มาตรการช่วยเหลือรอบสองของ ธปท. ส่งผลลบต่อธนาคาร และนอนแบงก์ทุกแห่ง ซึ่งถูกบีบให้ช่วยเหลือลูกหนี้เพิ่มขึ้น และสถาบันทุกแห่งก็ต้องเตรียมตัวรับสถานการณ์เศรษฐกิจในช่วง 1-3 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ หากสถานการณ์โรคระบาดยืดเยื้อนานขึ้น ก็อาจจะมีการขยายมาตรการให้ความช่วยเหลือระยะสั้นอีก ซึ่งเท่ากับว่าประมาณการกำไรของทั้งกลุ่มธนาคาร และ non-bank ยังมี downside เพิ่มอีก

Risks

ธปท. บังคับให้ลดอัตราดอกเบี้ยที่คิดจากลูกหนี้ NPL เกิดใหม่ ความเสี่ยงด้านการกันสำรอง