'9เทรนด์' ข้ามภาพลวงตา โควิดคืนวิถี 'โอลด์ นอร์มอล'
ผลจากการระบาดของโรคโควิด-19 ที่หยุดธุรกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลก เพื่อสกัดกั้นไวรัส นำไปสู่จุดเปลี่ยน พฤติกรรมผู้บริโภควิถีใหม่ (นิวนอร์มอล) ทำให้คนอยู่บ้านมากขึ้น และเกิดพฤติกรรมบางอย่างเกิดขึ้นที่เปลี่ยนไปแล้ว จะเปลี่ยนไปตลอดกาล
บางผู้ประกอบการอาจจับประเด็นผิด ไปตีความนิวนอร์มอล ว่าเป็นเพียงแฟชั่น ภาพลวงตา จึงพลาดโอกาสดักความต้องการ (ดีมานด์) ใหม่ นั่นเพราะไม่ใช่เพียงแพลตฟอร์มออนไลน์เท่านั้นที่พลิกโลก แต่ “ทัศนคติการใช้ชีวิต”ที่เปลี่ยนไปจากช่วงกักตัว ได้หวนคืนสู่วิถีชีวิตยุคก่อนเก่า (โอลด์ นอร์มอล) เรียบง่าย ปลอดภัย ไม่เสี่ยง มีความมั่นคง ทำให้สินค้าฟุ่มเฟื่อย แบรนด์เนม จะต้องคิดให้มากกว่ากลยุทธ์การตลาดหากจะกระตุ้นกิเลสผู้คนให้ควักเงินออกจากกระเป๋า
สรินพร จิวานันต์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็นไวโร (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทวิจัยในเครือบริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด (มหาชน) เผยถึงผลสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคภายหลังโควิด -19ว่า จะเป็นจุดพลิกนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงผู้บริโภค โดยแบ่งออกเป็น 9 เทรนด์ ประกอบด้วย
1.เทคโนโลยีไม่สามารถทดแทน experience หรือ ประสบการณ์ที่ผู้บริโภคต้องการสัมผัส มีผู้บริโภคเพียง15% เข้าร่วมงานอีเวนท์ออนไลน์ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเจนY อีกสัดส่วน85% ที่ไม่เข้าร่วมออนไลน์ เพราะออนไลน์ไม่อาจทดแทนประสบการณ์สถานที่จริง(ออนกราวน์)จึงมีผู้บริโภค
“การจัดอีเวนท์ต้องปรับตัว และเลือกเฉพาะอีเวนท์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ เช่น การวิ่งสุขภาพ ส่วนงานแฟร์สินค้าจะต้องลดราคาจูงใจ หากเป็นคอนเสิร์ต อีเวนท์บันเทิงต่างๆ ควรเลือกกลุ่มเป้าหมายเจน Y และ Z ยังกล้าออกมาอีเวนท์ เทียบกับเจนYและBabyboomerเน้นปลอดภัยเป็นหลัก”
2.โลกออนไลน์มีศักยภาพแต่ก็ไม่ใช่แค่ยกกิจกรรมอีเวนท์มาทำบนออนไลน์ มีเพียงสัดส่วน12%เท่านั้นที่ชอบอีเวนท์ออนไลน์ สัดส่วน 88% ไม่ชอบอีเวนท์ออนกราวด์ ถูกแย่งชิงผู้บริโภคไปไม่ได้ แตกต่างจากการชอปปิงที่ช่องทางการซื้อ
“อีเวนท์ออนไลน์หากขาดการปฏิสัมพันธ์ทดแทนไม่ได้ โดยเฉพาะคอนเสิร์ต แต่สิ่งที่ผู้บริโภคเปลี่ยนไปคือถูกดึงไปให้ความสนใจบันเทิงด้านอื่น เช่น เกมส์อีสปอร์ต, เน็ตฟลิกซ์ หรือ หันไปทำกิจกรรมอื่น ดังนั้นออนไลน์ต้องคิดใหม่ทำใหม่ในรูปแบบเชื่อมโยงเทคโนโลยีเสมือนจริง (VR-Virtual Reality)”
3.คนส่วนใหญ่สัดส่วน 70% ยังกังวลระลอก 2 จึงยังไม่พร้อมมีอีเวนท์ขอรออย่างน้อย 6 เดือน ซึ่งหากท่องเที่ยวจะกลับมาก็ต้องเริ่มจากในประเทศ จึงเป็นโอกาสโปรโมทการท่องเที่ยวในประเทศ ลดขนาดการจัดงานให้เล็กลง แต่ถี่ขึ้น
4.จะทำการค้าขาย หรือ กิจกรรมอีเวนท์ ให้พุ่งเป้าไปที่ Gen Z, Gen Y พร้อมออกมาโลดแล่น และเป็นกลุ่มที่ไม่ยอมลดค่าใช้จ่ายกินเที่ยว ช่วงวัยใช้ชีวิตแทนเก็บออมสร้างความมั่นคง
5.ขาย Gen X Babyboomer ให้เน้นเรื่องความปลอดภัยและมั่นคง กลุ่มนี้ต้องการความมั่นคง อยู่รอด ไม่เสี่ยง สินค้าจึงเน้นสุขภาพและประกันชีวิต รวมถึงสินค้าอุปโภคบริโภคฆ่าเชื้อ
6.ต้องทำให้ผู้บริโภคไม่รู้สึกผิดที่จะใช้เงิน สัดส่วน 86% ของผู้บริโภคตัดสินใจซื้อเพราะจำเป็น และคุ้มค่ากับการใช้งาน สินค้าฟุ่มเฟือยและแบรนด์เนมจึงได้รับผลกระทบ
“ผู้บริโภคมีเงินไม่กล้าใช้เงิน ดังนั้นจะกระตุ้นการใช้จ่ายต้องทำให้ผู้บริโภคไม่รู้สึกผิดใช้เงิน ไม่ยิงโฆษณาสร้างภาพลักษณ์และกระตุ้นกิเลส เพราะไม่ต้องแต่งตัวดูดีให้คนยอมรับ แต่ทำให้รู้สึกใช้เงินคุ้มค่า เน้นโปรโมชั่นลดราคาประหยัดก็ยอมจ่าย เช่น รถเบนซ์หากลดราคาจาก 3 ล้านเหลือ 2 ล้านก็ซื้อ ถือเป็นการกำเงินมากกว่ากำไร”
7.อย่ามัวแต่Focus Online จับตามอง Community Marketplace และ TV Direct หลังโควิดจาก 5 ช่องทาง เป็น 7 ช่องทาง เพิ่ม2ช่องทางมาแรงคือชุมชนคนใกล้ชิด (Community/Marketplace) เช่น จุฬามาร์เก็ต ธรรมศาสตร์และการฝากร้าน เนื่องจากทำให้คนสนุก ไว้ใจ รู้สึกดีและสนุกที่ซื้อ เจ้าของขายเอง ประหยัด สินค้าหลากหลาย ขณะที่อีกช่องทางคือ ทีวีไดเร็คท์ (TV Direct) เห็นราคาถูกคุ้มค่าจึงมียอดซื้อพุ่งสูง
8.ทัศนคติในการใช้ชีวิตแบบพึ่งพาตนเอง และใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ช่วงกักตัวทำให้คนทบทวนและปรับเปลี่ยนทัศนคติ โดยเฉพาะกลุ่มคนเจนX และ Babyboomer หันมาทำกับข้าว ปลูกผักในบ้านและทำอาชีพเสริมมากขึ้น ไม่มีค่านิยมที่ต้องเก็บเงินสูงๆ เพื่อไปเที่ยวต่างประเทศรอบโลก หรืออยากรวย เป็นเจ้าของชีวิตหรูหรา
9.Master Classไม่ได้ Boom อย่างที่คาด มีเพียง 16% ที่ซื้อคลาสส่วนใหญ่เป็นกลุ่มGen Y, Gen X ที่ต้องการพัฒนาทักษะ สัดส่วนใหญ่มองเรียนออนไลน์ไม่ตอบโจทย์