รวม 3 'สินเชื่อ' Soft loan สำหรับ 'SMEs' พยุงธุรกิจฝ่า 'โควิด-19'

รวม 3 'สินเชื่อ' Soft loan สำหรับ 'SMEs' พยุงธุรกิจฝ่า 'โควิด-19'

ส่อง "Soft loan" จากธนาคารแห่งประเทศไทยกระจายสู่สถานบันการเงินต่างๆ พร้อมปล่อย "สินเชื่อ" ดอกเบี้ยต่ำ สำหรับผู้ประกอบการรายย่อย 'SMEs' ช่วยพยุงสภาพคล่องธุรกิจฝ่าวิกฤติ "โควิด-19"

หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (soft loan) ให้กับสถานบันการเงินต่างๆ เพื่อปล่อยกู้สำหรับธุรกิจ SMEs ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 500 ล้านบาท (สำหรับแต่ละสถาบันการเงิน) เพื่อเสริมสภาพคล่องในการบริหารจัดการธุรกิจ ท่ามกลางสถานการณ์ความไม่ปกติเนื่องจาก "โควิด-19" ระบาด 

ปัจจุบันมีสถานบันการเงินหลายแห่งออก "สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ" สำหรับผู้ประกอบการ "SME" และกลุ่ม "Non-bank" โดย "กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" รวบรวมสถานบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อดังกล่าว พร้อมเงื่อนไขสินเชื่อของแต่ละธนาคารเพื่อให้สามารถเปรียบเทียบก่อนเข้าร่วมโครงการได้ง่ายขึ้น 

159790645860

    

  •  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME DBANK 

โครงการ: สินเชื่อต้นทุนต่ำ (soft loan) เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา

วงเงินกู้: สูงสุดไม่เกินร้อยละ 20 ของยอดหนี้คงค้างของลูกหนี้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562

คุณสมบัติผู้ขอสินเชื่อ: 
- เป็นลูกค้าเดิมของ ธพว. ที่มีสถานะจัดชั้นปกติหรือจัดชั้นกล่าวถึงพิเศษ (non-NPL) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562
- ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19
- ไม่มีหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ณ วันที่ยื่นขอกู้

ดอกเบี้ยและการชำระคืน: อัตราดอกเบี้ย 2% ต่อปี ระยะเวลากู้ยืมสูงสุดไม่เกิน 2 ปี ปลอดชำระเงินต้น 6 เดือน โดยในช่วงหกเดือนแรกรัฐบาลรับภาระดอกเบี้ยแทนลูกหนี้

หลักประกัน: ไม่มี/มี หลักทรัพย์ค้ำประกัน

รายละเอียดเพิ่มเติม: call center 1357

159790642781

  •  ธนาคารออมสิน 

โครงการ: สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) สำหรับผู้ประกอบการ Non-Bank ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID–19

วงเงินกู้: ให้กู้ได้สูงสุดไม่เกินรายละ 5,000 ล้านบาท โดยพิจารณาตามความสามารถและความจำเป็นของกิจการ โดยกำหนดให้กู้ได้ไม่เกิน 10% ของพอร์ตสินเชื่อของผู้กู้แต่ละราย ณ สิ้นเดือนก่อนการอนุมัติ โดยพิจารณาเฉพาะพอร์ตลูกหนี้รายย่อยบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ที่มีสถานะปกติ และต้องไม่เกินยอดคงค้างของลูกหนี้ที่มีคุณภาพดีที่บริษัทจะให้ความช่วยเหลือ 

คุณสมบัติผู้ขอสินเชื่อ: 
- ผู้ประกอบธุรกิจการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non-Bank) ที่ให้บริการให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้รายย่อย ได้แก่  สินเชี่อบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล ลิซซิ่ง เช่าซื้อ เช่าซื้อรถจักรยานยนต์ และสินเชื่อทะเบียนรถ
- ในรอบปีบัญชี 2562 ต้องมีผลกำไรสุทธิจากการดำเนินกิจการ
- กำหนด D/E Ratio ไม่เกิน 10 เท่า และมี NPLs ไม่เกิน 5.00%
- เป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัส โคโรนา (COVID-19) ทั้งทางตรงและทางอ้อม
- ต้องมีมาตรการพักชำระหนี้เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ ในวงกว้างที่ชัดเจน และได้ประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน และต้องมีมาตรการช่วยเหลืออื่นๆ ที่ผ่อนปรนมากกว่ามาตรการขั้นต่ำ ที่ ธปท. กำหนด 

ดอกเบี้ยและการชำระคืน: อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เท่ากับ 2% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยกรณีผู้กู้ออกจากโครงการ และอัตราดอกเบี้ยกรณีผิดนัดไม่ชำระหนี้ ให้เป็นไปตามโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) สำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ระยะเวลากู้ 2 ปี 

หลักประกัน: ให้มีหลักประกัน เช่น สิทธิเรียกร้องจากลูกหนี้ของผู้กู้ (พอร์ตลูกหนี้) เท่ากับวงเงินกู้ โดยจดทะเบียนหลักประกันตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันทางธุรกิจ และ/หรือ บุคคลที่ธนาคารเชื่อถือ และ/หรือ หลักประกันอื่นๆ ตามเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด 

ระยะเวลาโครงการ: ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2563 หรือจนกว่าจะหมดวงเงินสินเชื่อรวม ในโครงการ แล้วแต่ระยะเวลาใดจะถึงก่อน

รายละเอียดเพิ่มเติม: ศูนย์บริการข้อมูลข่าวสาร 1115

159790636898

  • ธนาคารกรุงไทย

โครงการ: กรุงไทยต้านภัยโควิด สินเชื่อ SME ดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan)

วงเงินกู้: สูงสุด 20 ล้านบาท

คุณสมบัติผู้ขอสินเชื่อ: 
- ประกอบธุรกิจมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
- ไม่เคยขอสินเชื่อกับสถาบันการเงิน หรือ ไม่มีสินเชื่อคงค้างกับสถาบันการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562
- ต้องเป็นการขอสินเชื่อใหม่ หรือ สินเชื่อเพิ่มเท่านั้น (ไม่สามารถใช้ Refinance ได้)

ดอกเบี้ยและการชำระคืน: ดอกเบี้ยต่ำ 2% นาน 2 ปี

หลักประกัน: 
- สถานประกอบการ
- ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง
- ที่ดินเปล่า
- เงินฝากประจำ
กรณีที่ไม่มีหลักประกัน ให้วงเงินกู้แบบมีกำหนดระยะเวลา (T/L) สูงสุดไม่เกิน 1 ล้านบาท ให้ บสย. ค้ำประกันเต็มวงเงิน ทั้งนี้ เงื่อนไขอื่นๆ และการพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามดุลยพินิจของธนาคาร

รายละเอียดเพิ่มเติม: สอบถามได้ที่ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา หรือ Krungthai Contact Center โทร. 02-111-1111

ที่มา: ธพว. ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย