จับจังหวะ ฟื้นเจรจาเอฟทีเอ"ไทย-อียู"

จับจังหวะ ฟื้นเจรจาเอฟทีเอ"ไทย-อียู"

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เผยเตรียมชงผลศึกษาเอฟทีเอไทย-อียู ต่อ”จุรินทร์”กลางเดือนต.ค.นี้ ก่อนเสนอให้ กนศ.เคาะ เผยหลายฝ่ายสนับสนุนการเจรจา ชี้เป็นประโยชน์ด้านการค้าการลงทุนต่อไทย

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมได้จัดสัมมนาระดมความเห็น เรื่อง “ไทยพร้อมหรือยังที่จะฟื้นการเจรจา FTA ไทย-EU?” ซึ่งสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา (Institute of Future Studies for Development หรือ IFD) ได้นำเสนอผลการศึกษาวิจัยประโยชน์และผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับไทยจากการฟื้นการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (FTA) กับสหภาพยุโรป (อียู) 27 ประเทศ (ไม่นับสหราชอาณาจักร) โดยการลดภาษีนำเข้าสินค้าทุกรายการทั้งของไทยและอียูในระยะยาวจะช่วยให้เศรษฐกิจของไทยขยายตัวได้ถึง 1.28% หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 2.05 แสนล้านบาท โดยคาดว่าการส่งออกจากไทยไปอียูจะสูงขึ้น 2.83% หรือ 2.16 แสนล้านบาท และการนำเข้าจากอียูสูงขึ้น 2.81% หรือ 2.09 แสนล้านบาท โดยสินค้าส่งออกของไทยมีโอกาสขยายตัว เช่น ยานยนต์และชิ้นส่วน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้าและสิ่งทอ ผลิตภัณฑ์อาหาร เคมีภัณฑ์ ยาง และพลาสติก เป็นต้น

 ทั้งนี้การฟื้นการเจรจา FTA กับอียู จะช่วยขยายตลาดการค้าและการลงทุนของไทย สร้างแต้มต่อทางภาษี และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของสินค้าไทยกับสินค้าส่งออกจากประเทศที่มี FTA กับอียู อาทิ สิงคโปร์และเวียดนาม แต่ไทยจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมปรับตัวเพื่อรับมือกับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้น และพัฒนามาตรฐานและคุณภาพการผลิตสินค้าไทยให้ทัดเทียมกับมาตรฐานของสินค้าในตลาดอียู

160077564284

สำหรับภาคประชาสังคมยังคงห่วงใยในเรื่องการยกระดับมาตรฐานการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงยาและการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ ซึ่งเป็นประเด็นที่ไทยต้องตัดสินใจอย่างรอบคอบเพื่อแก้ไขข้อห่วงกังวลและเตรียมการเจรจาอย่างรัดกุมต่อไป โดยกรมฯ จะนำผลการศึกษาและความเห็นที่ได้จากการสัมมนาครั้งนี้ เสนอระดับนโยบายเพื่อพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์อยู่ระหว่างพิจารณาแนวทางพัฒนากองทุนช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า (FTA) ให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

หลังจากนี้ทางกรมฯ จะนำผลสรุปการรับฟังความเห็นทั้งที่เห็นสอดคล้องสนับสนุนให้เปิดการเจรจาเอฟทีเอไทย-อียูและ ข้อกังวลทั้งหมดพร้อมทั้งมาตรการการเยียวยา เสนอให้จุรินทร์ ลักษณะวิศิฏฐ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์พิจารณาเพื่อพิจารณา ภายในกลางเดือนต.ค.มนี้ เพื่อดูว่ามีข้อมูลมากเพียงพอ หรือไม่ที่จะตัดสินใจ และจากนั้นจะเสนอไปที่คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) เพื่อการพิจารณา และจากนั้นจะเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อตัดสินใจกำหนดท่าทีการเจรจา โดยคาดว่า ภายใน สิ้นปีนี้จะทราบว่าทั้งฝ่ายไทยจะพร้อมหรือไม่ที่จะเปิดการเจรจากับทางอียู

อย่างไรก็ตามการเปิดการเจรจาจะต้องเป็นการเห็นชอบด้วยกันของทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่ง หากทั้งสองฝ่ายพร้อมก็สามารถเปิดการเจรจาได้แต่ขณะนี้ ยังเร็วเกินไปที่จะบอกได้ว่าหากจะมีการเปิดการเจรจากัน จะต้องใช้เวลาในการเจรจากี่ปีเนื่องจากจะต้องขึ้นอยู่กับความยากง่าย ของหัวข้อที่จะเจรจาด้วย ซึ่งเบื้องต้น ยังมีข้อกังวลเรื่อง ทรัพย์สินทางปัญญา ,การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐและในภาคเกษตรเรื่องการเข้าร่วมในข้อตกลงUPOV 1991ที่ต้องดูความพร้อมของไทย ด้วย,การปรับปรุงกฎระเบียบมาตรฐานต่างๆ ให้สอดคล้องกับกฎระเบียบของอียู

160077568347

นายชูศักดิ์ ชื่นประโยชน์ รองประธานหอการค้าไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมการเจรจาเอฟทีเอไทย-อียู ล่าช้า เนื่องจากมีปัญหาทางการเมือง ซึ่งทางหอการค้าไทยสนับสนุนการเดินหน้าเจรจาเอฟทีเอไทย-อียู และไม่ต้องการให้การเจรจาล่าช่าออกไปอีก เพราะเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อประเทศ สำหรับข้อกังวลต่างๆก็ต้องมีการแก้ไขและให้ข้อมูลที่ชัดเจน รวมทั้งอาจต้องมีการแก้ไขกฎหมาย เช่น เรื่องของการจัดซื้อจัดจ้าง แรงงงาน เป็นต้น ซึ่งต้องยอมรับว่าเอฟทีเอไทย-อียู กระทบอยู่บ้างโดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดเล็กหรือเอสเอ็มอี ซึ่งจะต้องเร่งปรับตัว ที่สำคัญคือ ข้อมูลที่ เราศึกษา ต้องถูกต้องและชัดเจนเพื่อ ให้ การตัดสินใจ เปิดเจรจา เป็นประโยชน์กับเกษตรกร และ ผุู้ประกอบการ

เอสเอ็มอีเพราะ ต้องยอมรับว่าเอฟทีเอไทย-อียู จะกระทบอยู่บ้างโดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดเล็กหรือเอสเอ็มอีและ เกษตรกร ซึ่งจะต้องเร่งปรับตัวเพราะ อียู เป็น เจ้าแห่งมาตรฐาน ของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรฐานด้านสินค้าค่อนข้างสูง  ทั้งเรื่องของสิ่งแวดล้อม แรงงาน สุขอนามัย ที่ผู้ประกอบการไทยต้องพัฒนามาตราฐานสินค้าให้ได้ตามมาตราฐานของอียู หากผุู้ประกอบการรายเล้กและเกษตรกรไม่พร้อมจะ ผลิตสินค้าส่งออกไปขายอียู ก็ให้ ขายสินค้า ตามมาตรฐานอาเซียนไปก่อน ส่วนคนที่พร้อมปรับปรุงคุณภาพ ตามมาตรฐานอียู ก็จะขายสินค้าได้

นายชนินทร์ ชลิศราพงศ์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย กล่าวว่า ไทยควรเจรจาเอฟทีเอไทย-อียู และเอฟทีเอไทย-ยูเค ไปพร้อมๆกันเพราะเป็นประโยชน์ต่อประเทศ  แต่ประเมินว่า หากมีการทำเอฟทีเอไทย-ยูเค จะดำเนินการเสร็จก่อน เพราะการเจรจาจะง่ายกว่าและใช้เวลาน้อย ส่วนเอฟทีเอไทย-อียู คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 4-5 ปี อย่างไรก็ตามเอฟทีเอไทย-อียูนั้นไทยจะได้ประโยชน์มากโดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารไทย โดยในแต่ละปีมูลค่าการส่งออกอาหารไทยอยู่ที่ 1.5 ล้านล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ในเรื่องของการลงทุนก็จะได้รับประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่อียูมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ซึ่งไทยสามารถใช้เทคโนโลยีจากอียูได้เลย

160077580181