‘วัคซีน’ปลดล็อก‘เชื่อมั่น-กระตุ้นใช้จ่าย’ดันธุรกิจ-เศรษฐกิจฟื้น

‘วัคซีน’ปลดล็อก‘เชื่อมั่น-กระตุ้นใช้จ่าย’ดันธุรกิจ-เศรษฐกิจฟื้น

“โควิด-19” กลายเป็นมฤตยูที่ทำลายล้าง ไม่ใช่แค่สุขภาพ ชีวิตผู้คนทั่วโลก แต่ยังสร้างความเสียหายแก่เศรษฐกิจ ธุรกิจมหาศาล จนถูกยกให้เป็นวิกฤติรอบศตวรรษ

โดยตลอดระยะเวลาเกือบ 1 ปี  การอยู่ท่ามกลางวิกฤติโรคระบาด ทำให้ทุกภาคส่วนตั้งตารอ วัคซีนความหวังใหญ่! ที่จะมากำราบไวรัสร้าย ทันทีที่มีกระแสข่าววัคซีนออกมา ทำให้มองเห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ขึ้นมาทันที ยิ่งมีการทดลอง “ฉีด ให้กับผู้คนในหลายประเทศ ความเชื่อมั่นมีมากขึ้น แม้โรคโควิดจะเกิดการระบาดระลอกใหม่อย่างต่อเนื่องในหลายประเทศ รวมทั้งเมืองไทย ที่การระบาดลุกลามไปทั่วประเทศอย่างรวดเร็ว 

ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานการตลาด บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นทรัลพลาซา เซ็นทรัลเฟสติวัล เซ็นทรัล ภูเก็ต และเซ็นทรัลวิลเลจ กล่าวว่า แสงสว่างธุรกิจอยู่ที่ “วัคซีน” จะทำให้สถานการณ์คลี่คลายมากขึ้น และ ปลดล็อก” ทุกอย่างได้อย่างชัดเจน สามารถวางแผนขับเคลื่อนธุรกิจภายใต้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดความกังวลในการแพร่ระบาดและติดเชื้อ

เมื่อธุรกิจขับเคลื่อนได้ จะสามารถรักษาการจ้างงาน ประคองกำลังซื้อ หรือมีความมั่นใจที่จะจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น เป็นโอกาสในการฟื้นฟูธุรกิจ กระตุ้นเศรษฐกิจกลับมาขยายตัว” 

โดยเฉพาะ "อุตสาหกรรมท่องเที่ยว" การมี วัคซีน” และประสิทธิภาพของวัคซีน จะทำให้ความมั่นใจในการเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศกลับมา!  เร็วเท่าไร จะยิ่งส่งผลต่อธุรกิจเกี่ยวเนื่องในการฟื้นตัว เป็นฟันเฟืองสำคัญขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย  

ไม่ต่างจาก เกรียงไกร กาญจนะโภคิน ผู้ก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด (มหาชน)  มองว่า วัคซีน” เป็น ความหวังสำคัญ”สำหรับธุรกิจอีเวนท์ทั้งไทยและทั่วโลก หลังพิษโควิด ทุบธุรกิจอีเวนท์สาหัสอย่างมาก จากการ ล็อกดาวน์”  ต้องงดจัดกิจกรรมต่างๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้กลับมาจัดงานได้ แต่มาตรการดูแลความปลอดภัย เว้นระยะห่าง ทำให้ใช้พื้นที่ไม่เต็มร้อย! 

วัคซีนเป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจอีเวนท์กลับมาเหมือนเดิม เพราะการมีวัคซีนรักษาโรคจะทำให้ผู้คนกลับมาเดินทางอีกครั้ง เกิดกิจกรรมต่างๆ ได้ปกติ"

ส่วนวัคซีนที่ฉีดแล้วจะมีผลข้างเคียงหรือไม่นั้น เกรียงไกร” บอกว่าสิ่งที่ต้องเกาะติดคือผลลัพธ์การรักษามากกว่าว่าผู้ป่วยโควิดมีจำนวนที่ลดลงหรือไม่อย่างไร

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจจะรอแค่มียารักษาอาการไข้ไม่ได้ การปรับตัว คิดนอกกรอบ” สำคัญไม่แพ้กัน และกลยุทธ์สร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันหรือ Creating For Now สร้างโอกาสได้เช่นกัน

ที่ผ่านมา อินเด็กซ์ฯ จัดอีเวนท์ไม่ได้ แต่ได้สร้างโมเดลธุรกิจใหม่ “Kill&Klean” บริการพ่นเปรย์ฆ่าเชื้อแบบพรีเมียมที่ขยายแฟรนไชส์ไปยัง 6 ประเทศ ส่วนช่วงโควิดระบาดทำให้มีลูกค้าใช้บริการจำนวนมากถึงเดือนเม.ย. และชะลอตัวบ้างช่วงสถานการณ์โควิดดีขึ้น แต่การแพร่ระบาดรอบใหม่ ทำให้ความต้องการเพิ่มขึ้นอีกครั้ง

ในมุมมองของ บุญเกียรติ โชควัฒนา ประธานกรรมการ บริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ซึ่งขับเคลื่อนธุรกิจเสื้อผ้า แฟชั่นฯ ในเครือสหพัฒน์ องค์กรยักษ์ใหญ่แสนล้าน หากถามว่า วัคซีนเป็นความหวังเดียวของภาคธุรกิจไหม? ...คิดว่าเป็นตัวแปรที่ช่วยระงับการแพร่ระบาดโรคโควิด-19แต่ไม่ใช่ความหวังเดียว เพราะความหวังยังมีคือคนไทยสามารถดูแลสุขภาพให้ดี ปรับตัวในการทำงาน

แม้เฉพาะหน้า วัคซีน คือตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้คนทั้งโลกเบาใจกับโรคระบาด แต่ในมิติการทำธุรกิจ การปรับตัวเป็นสิ่งสำคัญมาก ผู้ประกอบการต้องกล้าตัดสินใจ พัฒนาองค์กรให้มีความสามารถค้าขายดีขึ้น

ไอ.ซี.ซี.ฯ อยู่ในธุรกิจเสื้อผ้าที่เคยมองเป็น ปัจจัยสี่” ปัจจุบันเสื้อผ้าเป็นเรื่องของ แฟชั่น” และจำเป็นลดลง ทำให้ผู้บริโภคอาจมีชุดสวมใส่จำนวนมาก เมื่อเกิดโควิด จึงเห็นการชะลอการซื้อสินค้าอย่างมาก

นอกจากนี้ บริษัทมีแบรนด์สินค้าจำนวนมาก หลายรายการพึ่งพานักท่องเที่ยวต่างชาติ แต่เมื่อลูกค้าหดหายจากผู้คนไม่สามารถเดินทางได้ จึงต้องปรับตัวหันมาจัดกิจกรรมกระตุ้นการขายมากขึ้น กระจายไปสู่จุดต่างๆ ที่มี คนไทย” เป็นกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงขยายช่องทางจำหน่ายจากหน้าร้านไปสู่ ออนไลน์” ทำให้สินค้าที่อาจติดลบหนัก บรรเทาผลกระทบได้ดี

ปี 2563 ไอ.ซี.ซี.ฯ เผชิญภาวะ “ขาดทุน” เป็นครั้งแรก โดยผลการดำเนินการ 9 เดือน ขาดทุนกว่า 90 ล้านบาท แต่การปรับตัว เป็นความหวังที่ทำให้บริษัท ขาดทุนลดลง

สิ้นปีเราอาจขาดทุนเล็กน้อย หรืออาจจะไม่ขาดทุนเลย

 ขณะที่ ภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จำกัด หรือ เอ็มไอ ย้ำชัดว่า ไม่มีอะไรเป็นความหวังไปมากกว่าวัคซีน!” 

ระหว่างที่โลกมีการทดสอบวัคซีนในหลายประเทศ “ไทย” รอความหวังจะได้รับวัคซีนในเดือน พ.ค.2564 แต่ต้องเผชิญการแพร่ระบาดรอบใหม่ อาจฉุดให้การใช้จ่ายเงินโฆษณาซบเซาเบิกฤกษ์ปีฉลูก็เป็นได้ และหากความเสี่ยงการแพร่ระบาดขยายวงกว้างไปจังหวัดต่างๆ กิจกรรมการตลาดหดหาย จนสูญเม็ดเงินในไตรมาสแรก  ไฮซีซันเงินสะพัด 30-40% ของทั้งปี จากคาดการณ์ปี 2563 อุตสาหกรรมโฆษณาจะติดลบราว 20% หรือมีเม็ดเงินสะพัดราว 7 หมื่นล้านบาท 

ปีหน้าบริษัทจึงจำลอง 2 สถานการณ์ หากตัวเลขผู้ติดเชื้อในไทยลดลงก่อน 4 ม.ค.2564 สะท้อนรัฐคุมการระบาดได้ โอกาสเห็นโฆษณา โต10%” จากฐานที่ต่ำมากปีนี้ แต่หากเหตุการณ์ตรงข้าม การติดตลบอาจยังมีต่อ

แม้จะมีความกังวลต่อวัคซีนที่ทดสอบมีผลข้างเคียง ภวัต” เชื่อว่าการมีวัคซีนออกมา ย่อมดีกว่าไม่มี!