TISCO กำไรปี63 ร่วงเหลือ 6.06 พันล้าน วูบ 16.6% เหตุ สำรองพุ่ง
TISCO ประกาศผลการดำเนินงาน ปี63 กำไรสุทธิมาอยู่ที่ 6,063 ล้านบาท ลดลง16.6% หลังมีภาระสำรองพุ่ง3พันล้านบาท
ล่าสุด บริษัททิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จํากัด (มหหาชน)TISCO ประกาศผลการดำเนินงานปี 2563 โดยบริษัท มีกำไรสุทธิในส่วนของบริษัท ลดลงจำนวน 1,206.75 ล้านบาท หรือ16.6% จากปีก่อนหน้า มาอยู่ท่ี 6,063.48 ล้านบาท
ตามสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อการชะลอตัว ของเศรษฐกิจ กดดันรายได้จากธุรกิจหลักของธนาคาร รวมถึงภาระการต้ังค่าเผื่อสารองผลขาดทุนด้านเครดิตที่สูงข้ึนเพื่อสะท้อน สถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน
สำหรับรายได้ดอกเบี้นสุทธิปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 จากการบริหารจัดการต้นทุนทางการเงินที่มีประสิทธิภาพในภาวะ ดอกเบี้ยขาลง ส่วนรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลงร้อยละ12.6
โดยเฉพาะรายได้ค่าธรรมเนียมจากธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ทั้งธุรกิจ นายหน้าประกันภัย และค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวกับการปล่อยสินเชื่อ จากการปล่อยสินเชื่อใหม่ที่ลดลง
อย่างไรก็ดี รายได้ ค่าธรรมเนียมของธุรกิจตลาดทุนปรับตัวดีขึ้นร้อยละ12.8 ตามปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ที่เพิ่มข้ึน และการออกกองทุนใหม่ที่ ตอบสนองความต้องการของนักลงทุนในภาวะที่ตลาดทุนผันผวน
สำหรับค่าใช้จ่ายจากการดาเนินงานลดลง สอดคล้องกับรายได้ ที่ชะลอตัว ในส่วนของผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 1.42 ของยอดสินเชื่อเฉลี่ย เพื่อรองรับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ
ในขณะเดียวกัน บริษัทยังคงติดตามและดูแลลูกหน้ีทุก กลุ่มอย่างใกล้ชิด ส่งผลให้อัตราส่วนสินเช่ือท่ีมีการด้อยค่าด้านเครดิตต่อสินเช่ือรวม (NPL Ratio) ปรับเพิ่มข้ึนเพียงเล็กน้อยจาก สิ้นปีก่อนหน้า มาอยู่ท่ีร้อยละ 2.50 ณ ส้ินปี 2563
บริษัทมีกาไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน (Basic earnings per share) สำหรับปี 2563 เท่ากับ 7.57 บาทต่อหุ้น ลดลงจาก 9.08 บาทต่อหุ้นในปี 2562 โดยมีอัตราผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นเฉลี่ย(ROAE) ของปี 2563 อยู่ที่ร้อยละ 15.4
ด้าน ค่าใช้จ่ายผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น(ECL) อยู่ที่จานวน 3,330.60 ล้านบาทเพิ่มข้ึนเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายหน้ีสูญจานวน 1,109.10 ล้านบาทในปี 2562 และคิดเป็นอัตราร้อยละ 1.42 ของยอดสินเชื่อเฉลี่ย เป็นผลมาจากภาวะ ความเสี่ยงด้านเครดิตที่เพิ่มสูงขึ้น จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19
สำหรับ ค่าใช้จ่ายผลขาดทุนด้านเครดิตท่ีคาดว่าจะเกิดขึ้นของงวดไตรมาส 4 เพิ่มสูงขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า แม้ว่าสินเช่ือที่มีการด้อย ค่าด้านเครดิตปรับตัวดีขึ้น
แต่จากสถานการณ์การระบาดระลอกใหม่ที่กลับมาเร่งตัวขึ้นในช่วงปลายปี บริษัทเห็นความจาเป็นใน การตั้งสารองเพื่อรองรับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์การระบาดดังกล่าว
นอกจากนี้ ในปี 2563 บริษัทมีการปรับลดเงินสารองส่วนเกิน (Excess Reserve) จานวน 1,056 ล้านบาท (หรือคิดเป็นจานวน 264 ล้านบาทต่อ ไตรมาส) ซึ่งทยอยปรับลดด้วยวิธีเส้นตรงทุกไตรมาสเท่าๆ กัน เป็นระยะเวลา 2 ปี (ปี2563-2564) เป็นไปตามนโยบายของ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)