BBL - ซื้อ

BBL - ซื้อ

กำไรปีนี้โตจากฐานกำไรตํ่าในปีที่แล้ว

Event

ประชุมนักวิเคราะห์, ปรับประมาณการกำไร และราคาเป้าหมาย

lmpact

วัฏจักรดอกเบี้ยตํ่ากดดันรายได้

CEO ของ BBL เผยว่าการที่ธนาคารมุ่งเน้นจากธุรกิจขนาดใหญ่ ทำให้รายได้ถูกกดดันทั้งจากฝั่งรายได้ดอกเบี้ย และมิใช่ดอกเบี้ย โดยส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM) อาจจะลดลงเล็กน้อยเหลือ 2.1% (จาก 2.24% ในปี 2563) จากผลของรายได้ดอกเบี้ยสินเชื่อ และการลงทุนในพันธบัตรลดลงตามวัฏจักรดอกเบี้ย ในขณะ
ที่อัตราการเติบโตของรายได้จากค่าธรรมเนียมก็ยังมีแนวโน้มอ่อนแอ และมีเพียงรายได้ค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน และประกันเท่านั้นที่ขับเคลื่อนการเติบโต (คิดเป็น 21-22% ของรายได้ค่าธรรมเนียมทั้งหมด) ดังนั้น ธนาคารจึงตั้งเป้ าอัตราการเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียมเอาไว้แค่ 3-4%

ลูกหนี้ในโครงการผ่อนผันหนี้ไม่ได้มากอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับพอร์ตสินเชื่อ

BBL เปิดเผยว่าลูกหนี้ที่เข้าร่วมโครงการผ่อนผันหนี้อยู่ที่ประมาณ 10%+/- ของพอร์ตสินเชื่อรวมของธนาคารเท่านั้น และส่วนใหญ่กลับมาชำระหนี้ต่อแล้วหลังสิ้นสุดโครงการ และลูกหนี้ที่เข้าข่ายเสี่ยงในโครงการนี้คิดเป็นแค่ 1% ของสินเชื่อรวมเท่านั้น นอกจากนี้ ลูกหนี้ของ Permata ที่เข้าร่วมโครงการผ่อนผันหนี้คิดเป็นประมาณ 11-12% ซึ่งน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของธุรกิจธนาคาร และคุณภาพสินทรัพย์ก็ยังอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ดีกว่าค่าเฉลี่ย

จะตั้งสำรองน้อยลงในปี 2564

ธนาคารยังคงมีมุมมองที่ระมัดระวังกับแนวโน้มเศรษฐกิจปีนี้ โดยคาดว่าจะโตได้ไม่ถึง 3% และธนาคารจะยังคงใช้นโยบายการตั้งสำรองแบบอนุรักษ์นิยมที่ 2.2 หมื่นล้านบาทในปี 2564 (ต่ำกว่าประมาณการของเราที่ 2.5 หมื่นล้านบาท) ลดลงจาก 3.1 หมื่นล้านบาทในปี 2563 เนื่องจากสัดส่วนสำรองหนี้เสีย/สินเชื่อสูงถึงเกือบ 8% (จากค่าเฉลี่ยของกลุ่มที่ประมาณ 6%) ซึ่งสะท้อนถึงส่วนผสมของการบริหารจัดการ NPL และสำรองส่วนเกิน (management overlay) ในภาวะที่ GDP อ่อนแอ

ปรับลดประมาณการปี 2564/65 -12%/-8%, ปรับลดราคาเป้าหมายปี 64F เหลือ 156 บาท (P/BV 0.65x)

เราปรับสมมติฐานประมาณการปี 2564/65 โดย 1.) ปรับลดค่าใช้จ่ายกันสำรองเหลือ 2.2 หมื่นล้านบาท/2 หมื่นล้านบาท (จากเดิม 2.5 หมื่นล้านบาท/2.2 หมื่นล้านบาท) 2.) ปรับลดอัตราการเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียมเหลือ 3%/8% (จากเดิม 8%/10%) 3.) ปรับลดกำไรจากการปรับมูลค่าเหมาะสมเป็น 5
พันล้านบาท/7 พันล้านบาท (จากเดิมที่ 9.0/9.5 พันลบ.ในปี 2663/2564) ทั้งนี้ ธนาคารตั้งเป้ าสัดส่วน C/I ลดลง เนื่องจากฐานค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสูงในปี 2563 จากค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการทำดีล M&A ในขณะที่สัดส่วนที่ประมาณ 50% (จาก 55% ในปีที่แล้ว) ก็ยังสูงกว่าธนาคารใหญ่อื่น ๆ ที่อยู่แค่ประมาณ 45% โดยสรุปแล้ว จากฐานกำไรที่ต่ำในปี 2563 อัตราการเติบโตที่สูงในปี 2564 และราคาหุ้นที่ค่อนข้างแพง เราจึงยังคงคำแนะนำ ซื้อ และใช้ P/BV ที่ 0.65x ด้วยราคาเป้ าหมายปี 2564F ที่ 156 บาท (จากเดิม160 บาท)

Risks

ความผันผวนของกำไรจากการลงทุน และรายได้จากการปริวรรตเงินตรา, NPL