'มกอช.' ดันฟาร์มหมูเป็นมาตรฐานบังคับ
"มกอช." ยกระดับ“ฟาร์มสุกร” เป็นมาตรฐานบังคับ พร้อมออกแนวปฏิบัติใช้มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อการบริโภคอย่างถูกต้อง กำชับ มกอช. เร่งยกระดับมาตรฐานการผลิตจิ้งหรีด รับส่งออกตลาดเม็กซิโก
นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบมาตรฐานสินค้าเกษตร ด้านปศุสัตว์ คือ การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสุกร เป็นมาตรฐานบังคับ และเห็นชอบมาตรฐานสินค้าเกษตร ด้านประมง คือ แนวปฏิบัติในการใช้มาตรฐานสินค้าเกษตรการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อการบริโภค ประกาศเป็นมาตรฐานทั่วไปของประเทศต่อไป
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบร่างประกาศคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาต การขอใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาต และการขออนุญาตและการอนุญาตย้ายสถานที่ทำการที่ระบุไว้ในใบอนุญาตของผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐาน พร้อมแบบ มกษ. 14 แบบ มกษ. 15 และแบบ มกษ. 16 รวมทั้งได้เห็นชอบให้เลื่อนระยะเวลาปรับเปลี่ยนการปฏิบัติตาม มกษ. 9035-2563 และร่างประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : การปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงคัดบรรจุผักและผลไม้สด ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 (ฉบับที่ 2)
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กระทรวงเกษตรฯ ได้มีการส่งเสริมเกษตรกรเลี้ยงจิ้งหรีด เพราะต้นทุนการเลี้ยงต่ำและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญเป็นอาหารแห่งอนาคตที่สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคสมัยใหม่ มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เช่น โปรตีนสูง และตลาดแมลงกินได้ในอนาคตมีมูลค่าสูง ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 12 ก.พ. 2564 ไทยสามารถเปิดตลาดผลิตภัณฑ์จิ้งหรีดเม็กซิโกอย่างเป็นทางการได้สำเร็จ โดยส่งออกจิ้งหรีดไปยังเม็กซิโกได้ 3 รายการ ได้แก่ ผงแป้งจิ้งหรีด (cricket flour) จิ้งหรีดที่ผ่านการทำให้สุก (cooked crickets) และจิ้งหรีดแช่แข็ง (frozen cricket)
ดังนั้น ได้มอบหมายให้สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ไปดำเนินการส่งเสริมการยกระดับมาตรฐานการผลิตทั้งเกษตรกรและผู้ประกอบการแปรรูป ให้ได้มาตรฐาน GAP ฟาร์มจิ้งหรีด โรงงานแปรรูปก็ต้องปฏิบัติตามหลักสุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหาร (Good Hygienic practice: GHP) ตามที่กรมปศุสัตว์กำหนด และสอดคล้องกับกฎระเบียบของเม็กซิโก
นอกจากนี้สารของจิ้งหรีดนั้นสามารถนำมาเป็นส่วนผสมของกลุ่มธุรกิจเพื่อความงาม เครื่องสำอางต่างๆ จึงต้องเร่งวางมาตรฐานจิ้งหรีดเพื่อยกระดับและสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ได้อย่างทั่วถึงและยั่งยืน
โดยสุกรขุน ตั้งแต่ 1,500 ตัว ขึ้นไป หรือ สุกรแม่พันธุ์ ตั้งแต่ 120 ตัวขึ้นไป ระยะเวลาปรับเปลี่ยน 180 วัน และ 2.สุกรขุน ตั้งแต่ 500–1,499 ตัว หรือ สุกรแม่พันธุ์ ตั้งแต่ 95 - 119 ตัว ระยะเวลาปรับเปลี่ยนไม่เกิน 3 เดือน เพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตตั้งแต่ระดับฟาร์ม สร้างความมั่นใจถึงความปลอดภัยต่อผู้บริโภค สามารถป้องกันและควบคุมโรคระบาดที่สำคัญในสุกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพิ่มศักยภาพในการผลิตและการค้าผลิตภัณฑ์สุกรของไทยอย่างยั่งยืน
นายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการ มกอช. กล่าวว่า สาระสำคัญเรื่องการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสุกร (มกษ. 6403) ที่ผ่านมา มกอช. ได้ประกาศมาตรฐานสินค้าเกษตรดังกล่าว เป็นมาตรฐานทั่วไป แต่เนื่องจากการเลี้ยงสุกรได้รับความนิยมจากเกษตรกรไทย มีจำนวนผู้เลี้ยงสุกรมากกว่า 1.6 แสนราย ทั่วทุกภูมิภาค ทั้งที่เลี้ยงไว้เพื่อการบริโภคหรือเพื่อการค้า จึงสมควรกำหนดให้การเลี้ยงเป็นมาตรฐานบังคับ
ทั้งนี้ มกอช.ได้จัดสัมมนาระดมความเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อเสนอคณะกรรมการวิชาการ (กว.) พิจารณา และได้มีมติเห็นชอบกำหนดให้มาตรฐานฟาร์มสุกร เป็นมาตรฐานบังคับ โดยมีขอบข่ายการบังคับใช้และระยะเวลาปรับเปลี่ยน แบ่งเป็น 2 ระยะ แตกต่างกันตามขนาดการเลี้ยงสุกร ดังนี้
ส่วนเรื่องแนวปฏิบัติในการใช้มาตรฐานสินค้าเกษตร การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อการบริโภค ได้กำหนดขอบเขตการปฏิบัติเพื่อให้เป็นตามมาตรฐานกำหนด ได้แก่ สถานที่ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำต้องไม่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ห้ามเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น เขตอนุรักษ์ของป่าชายเลน และไม่ควรตั้งอยู่ในเขตที่อาจส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ เช่น
เขตพื้นที่ชุ่มน้ำ การจัดการการเลี้ยง ต้องมีเอกสารแสดงแหล่งที่มาของลูกพันธุ์ การจัดการสุขภาพสัตว์น้ำ เฝ้าระวังและดูแลสุขภาพสัตว์น้ำที่เลี้ยงอย่างสม่ำเสมอ การใช้ยาสัตว์ สารเคมี และผลิตภัณฑ์จุลชีพ ดูแลสุขภาพสัตว์น้ำ ต้องใช้อย่างเหมาะสมและถูกต้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การจัดการสุขลักษณะภายในฟาร์ม
ต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องและคำนึงถึงการเลี้ยงอย่างมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม การจับและการปฏิบัติหลังการจับก่อนการขนส่งออกจากฟาร์ม ต้องดำเนินการอย่างถูกสุขลักษณะ เพื่อป้องกันการเสื่อมคุณภาพและการปนเปื้อนที่จะส่งผลต่อคุณภาพของผลิตผลและความปลอดภัยของผู้บริโภค