เงินเฟ้อเดือนเม.ย.ขยายตัวสูงสุดในรอบ 8ปี 4 เดือน

เงินเฟ้อเดือนเม.ย.ขยายตัวสูงสุดในรอบ 8ปี 4 เดือน

พลังงาน อาหารสด ดันเงินเฟ้อเดือนเม.ย.พุ่ง 3.41%

นายวิชานัน  นิวาตจินดา รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค หรือเงินเฟ้อเดือนเม.ย. ขยายตัว 3.41 %เป็นการกลับมาขยายตัวในรอบ 14 เดือน และขยายตัวสูงสุดในรอบ 8ปี 4 เดือน โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากราคาพลังงาน ราคาอาหารสดที่ปรับตัวสูงขึ้น และมาตรการลดค่าครองชีพของรัฐสิ้นสุดลง

เงินเฟ้อที่กลับมาขยายตัวในเดือนนี้ นอกจากปัจจัยด้านราคาน้ำมันและการสิ้นสุดของมาตรการของรัฐดังกล่าวแล้ว ยังมีสัญญาณด้านสถานการณ์เศรษฐกิจที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐที่สนับสนุนการใช้จ่ายของประชาชน และอุปสงค์ในตลาดโลกที่เริ่มฟื้นตัวตามลำดับ โดยด้านอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศปรับตัวดีขึ้น สะท้อนได้จากยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม และมูลค่าการส่งออกที่กลับมาขยายตัวได้อีกครั้ง ประกอบกับรายได้เกษตรกรที่ยังคงขยายตัวได้ดีตามราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวดีขึ้น สอดคล้องกับดัชนีอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ยอดจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ รถยนต์นั่ง และรถจักรยานยนต์ ที่กลับมาขยายตัวได้อีกครั้ง

ขณะที่ด้านอุปทานปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน สะท้อนจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่กลับมาขยายตัวได้อีกครั้ง และอัตราการใช้กำลังการผลิตปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ในขณะนี้ ส่งผลกระทบในวงกว้าง ทั้งภาคการผลิต และภาคการบริโภค และเป็นประเด็นข้อกังวลที่อาจทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไม่ต่อเนื่อง ซึ่งต้องติดตามและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดว่าจะสามารถควบคุมให้กลับมาสู่ภาวะใกล้เคียงปกติได้เมื่อไหร่

162019042787

ายวิชานัน กล่าวว่า  อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนพ.ค. 2564 มีแนวโน้มขยายตัวสูงต่อเนื่องจากเดือนเม.ย.หากไม่มีมาตรการลดค่าครองชีพอื่นเพิ่มเติมจากรัฐ  โดยมีปัจจัยสำคัญจากราคาพลังงานที่ยังอยู่ในระดับสูง และฐานราคาพลังงานที่ยังต่ำมากในปีก่อน ขณะที่สินค้าและบริการอื่น ๆ ยังเคลื่อนไหวตามผลผลิตและความต้องการ โดยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ ของรัฐที่คาดว่าจะออกมาอย่างต่อเนื่อง น่าจะช่วยเพิ่มอุปสงค์ในประเทศ ชดเชยอุปสงค์ที่ลดลงจากการท่องเที่ยวได้ ขณะที่การฟื้นตัวของโลกน่าจะช่วยให้การส่งออกของไทยขยายตัวได้ต่อเนื่อง สำหรับผลผลิตสินค้าเกษตรยังมีโอกาสผันผวนตามสภาพอากาศ ซึ่งส่งผลต่อราคาอาหารสด อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบันยังคงเป็นแรงกดดันต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อของประเทศ ซึ่งต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดต่อไป

นทั้งนี้ คาดว่าเงินเฟ้อในปี 2564 จะเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 0.7 – 1.7 โดยมีค่ากลางอยู่ที่ 1.2%  ซึ่งเป็นอัตราที่น่าจะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้อย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ จะมีการทบทวนอีกครั้ง