BANPU - ซื้อ (1 มิ.ย.64)
ได้เวลาของถ่านหิน
ความต้องการที่แข็งแกร่งจากโรงไฟฟ้าและซัพพลายตึงตัวจะหนุนให้ดัชนี NEX ขึ้นสู่ US$119/t สูงสุดตั้งแต่ก.ค. 2018 26% ของยอดขาย BANPU มีการล๊อคราคาแล้ว สะท้อนอัพไซด์การขายถ่านหินในปีนี้ ปรับคำแนะนำสู่ ซื้อ และปรับเป้าหมายเป็น 16.0 บาท (จาก 13.0บาท); คาดตลาดจะปรับคาดการณ์กำไรขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ความต้องการที่แข็งแกร่งหนุนดัชนี NEX สู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่ก.ค. 2018
ความต้องการจากการผลิตไฟฟ้า, ซัพพลายถ่านหินในจีนตึงตัว และห้ามนำเข้าถ่านหินจากออสเตรเลีย ทำให้ราคาถ่านหินภายในจีนเพิ่มสู่ US$150/t (5,500kcal) และดัชนี NEX US$119/t (6,300kcal) สูงสุดตั้งแต่ก.ค. 2018 ผู้ผลิตไฟฟ้าในจีนสต๊อกถ่านหินพอต่อความต้องการในฤดูร้อน ขณะที่สต๊อกที่ท่าเรือถ่านหิน Qinhuangdao อยู่ที่ 4.7mt ในพ.ค. สะท้อนความตึงตัวในตลาด แม้ว่าความกังวลด้านสภาพแวดล้อม, ตลาดที่ตึงตัวและเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวจะหนุนราคาถ่านหินในปีนี้ นอกจากนี้ราคาสปอต LNG ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานทางเลือกของการผลิตกระแสไฟฟ้าเพิ่มสู่ US$10.5/mmbtu เทียบกับ US$7/mmbtu ใน 1Q ทำให้พลังงานถ่านหินแข่งขันได้ และหากแปลงค่า kcal ของพลังงานถ่านหินสู่ mmbtu ราคาถ่านหินคิดเป็นเพียงครึ่งนึงของราคา LNG วันนี้
ปรับราคาขายเฉลี่ยใน FY21-23F สู่ US$82/75/70 จาก US$65/67/67
ความต้องการที่แข็งแกร่งยังทรงตัวต่ออีกหกเดือนข้างหน้าก่อนที่โรงไฟฟ้าจะสต๊อกถ่านหินสำหรับฤดูหนาว BANPU ลอคราคา 26% ของปริมาณขายในปีนี้ ไว้ที่ US$70/t ที่เหลืออีก 74% ยังไม่ขายหรือขายที่ระดับส่วนลด 20% จากดัชนี NEX สะท้อนราคาขายเฉลี่ย BANPU ที่ US$80-85/t ใน 2Q และใน 3Q21 ดัชนี NEX จะอยู่เหนือ US$100/t ปรับราคาขายเฉลี่ยแหล่ง ITM ในปี FY21-23F สู่ US$82/75/70 สะท้อนความต้องการที่เพิ่มขึ้นในประเทศอาเซียน ทำให้คาดกำไรเพิ่มขึ้น 126%/70%/54% ตามลำดับ คาดกำไร FY21 เราสูงกว่าตลาด 40%
ปรับคำแนะนำสู่ ซื้อ และปรับราคาเป้าหมาย SoTP สู่ 16.0บาท
นักลงทุนในตลาดถือครองหุ้นยังไม่มาก (under-owned) จากความกังวลสิ่งแวดล้อม คาดกำไร 2Q ที่ 2.5-2.8พันลบ. ทำให้ตลาดปรับคาดกำไรขึ้น งบดุลที่ตึงเป็นความเสี่ยงในระยะกลาง net gearing ของ BANPU อยู่ที่ 1.6x ณ สิ้น 1Q ปรับเป้าหมาย SoTP สู่ 16.0บาทต่อหุ้น เทียบเท่า 8.8x FY21F PE และผลตอบแทนปันผล 5.0%