'การบินไทย' เดินหน้าแผนฟื้นฟูฯ ลุยเพิ่มเที่ยวบิน ไตรมาส 3-4 สร้างรายได้

'การบินไทย' เดินหน้าแผนฟื้นฟูฯ ลุยเพิ่มเที่ยวบิน ไตรมาส 3-4 สร้างรายได้

"การบินไทย" เดินหน้าแผนฟื้นฟูฯ หลังศาลล้มละลายอนุมัติแผน ลุยเพิ่มเที่ยวบิน ไตรมาส 3-4 สร้างรายได้ เผยสัญญาณจองตั๋วบินตรงเข้าภูเก็ต แนวโน้มดี

นายนนท์ กลินทะ ประธานเจ้าหน้าที่สายการพาณิชย์ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยผ่าน Facebook LIVE ในกลุ่ม "TG Media Room" เรื่อง "ผลการพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการของศาลล้มละลายกลาง และการดำเนินการตามแผน" โดยระบุว่า หลังจากศาลล้มละลายกลาง ได้นัดพิจารณาแผนฟื้นฟูบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ในวันที่ 15 มิ.ย.2564 เวลา 10.00 น. และ ศาลฯ เห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการของการบินไทยแล้ว การบินไทย จะเดินหน้าขับเคลื่อนธุรกิจตามแผนฟื้นฟู

โดยระบุว่า การบินไทย จะเดินหน้าขับเคลื่อนธุริกจตามกลยุทธ์ด้านรายได้ ใน 4 ด้าน คือ 1. เร่งปรับรูปแบบอัตราค่าโดยสาร และทีมขายใหม่ให้ยืดหยุ่น 2. เร่งหารายได้เสริม ด้านที่นั่ง กระเป๋าสัมภาระ 3. ทำการขาย และการตลาดผ่านระบบดิจิทัล ผ่านแอพพลิเคชั่นมากขึ้น ทั้งการจองตั๋ว จ่ายเงิน เปลี่ยนวันเดินทางและการขอคืนเงิน และ 4. นำระบบติจิทัลมาใช้ในบริการขนส่งสินค้า (คาร์โก้)

สำหรับในช่วงไตรมาส 3 ถึง ไตรมาส 4 ปีนี้ มีจะผลักดันเที่ยวบินตรงเข้าสู่ภูเก็ต ภายใต้โครงการ ภูเก็ต แซนด์บอกซ์ (phuket sandbox) ตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาล โดยไตรมาส 3 จะเริ่ม 5 เมืองจากยุโรป ได้แก่ แฟรงค์เฟิร์ต, ลอนดอน, โคเปนเฮเกน, ปารีส และซูริค บินตรงเข้าภูเก็ต และไตรมาส 4 มีแผนจากเดลี หากสถานการณ์โควิด-19 ดีขึ้น ก็จะมีเที่ยวบินตรงเข้าภูเก็ตเพิ่มขึ้น และเกาหลี ญี่ปุ่น

ส่วนไทยสมายล์ ที่จะบินตรงเข้าภูเก็ต มีแผนจะบินตรงจากฮ่องกง และสิงคโปร์ด้วย ก็จะเป็นเที่ยวบินเชิงพาณิชย์ที่จะเข้ามาเพิ่มรายได้ให้กับการบินไทย

“ตอนนี้ ไฟลท์บิน ยังไม่เต็ม 100% เทียบปี 2562 โดยปี ไตรมาส 3 ไฟลท์บินขึ้นได้อยู่ที่ประมาณ 30-35% และไตรมาส 4 อยู่ที่กว่า 40% คาดว่า ภายในปี 68 การบินไทยจะกลับมาบินได้ 85% ฉะนั้น รายได้ปีนี้ ยังไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยเท่ากับปี 2562 แต่ก็ถือว่ายังมีกระแสเงินสดเข้ามาใช้จ่ายในบริษัท แต่รายได้ที่จะเข้ามาปีนี้ มากกว่าไตรมาส 1-2 แน่นอน”

162375772822

ทั้งนี้ สถานการณ์ยอดจองเที่ยวบิน (Booking) ปัจจุบัน เที่ยวบินแรกที่ออกจากเมืองแฟรงค์เฟิร์ต เยอรมนี เมื่อวันที่ 2 มิ.ย.64 มาถึงไทย 3 มิ.ย. 64 เข้าภูเก็ตแล้ว อยู่ที่ประมาณกว่า 100 คน เป็นตัวเลขที่ดีพอสมควร คาดว่า ภายในเดือน มิ.ย.นี้ ที่เริ่มบินเข้าภูเก็ต จำนวนผู้โดยสารจะอยู่ที่ประมาณหลัก 1,000 คน ถือเป็นแนวโน้มที่ดีในสำหรับเริ่มทำการหารายได้

ขณะที่การลดค่าใช้จ่ายในเรื่องของการซ่อมบำรุง เพื่อเตรียมความพร้อมเที่ยวบินตามแผนการบินฯ ฝ่ายช่างได้จัดเตรียมเครื่องบินให้ตอบสนองต่อแผนงาน ขอให้มั่นใจได้ว่าตัวฝูงบินใหม่ที่เลือกไว้จะมีประสิทธิภาพ และการซ่อมบำรุงก็จะมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และมีความปลอดภัย

นอกจากนี้ ในเชิงธุรกิจฝ่ายช่างการบินไทย ก็เป็นอีกหน่วยงานที่สามารถทำรายได้ให้กับการบินไทยได้ ซึ่งก่อนเกิดโควิด-19 ได้ทำการซ่อมบำรุงให้กับสายการบินอื่นด้วย เช่น สนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นสนามบินขนาดใหญ่ในภูมิภาคนี้ เครื่องบินนานาชาติที่ลดจอดที่สนามบินสุวรรภูมิ ก็ถือเป็นตลาดใหญ่ และฝ่ายช่างฯ ในภาวะปกติสามารถทำรายได้ประมาณ 1,000 ล้านบาทจากการให้บริการซ่อมบำรุงแบบวงรอบสั้นๆ ก็ถือเป็นธุริกจที่สำคัญที่จะทำรายได้เสริมให้การบินไทย รวมถึงได้มีการซ่อมบำรุงในสนามบินอื่นๆด้วย เช่น ภูเก็ต เชียงใหม่ ก็ใช้บริการสายการบินต่างชาติที่เข้ามาและทำรายได้ด้วย

ส่วนต่างประเทศ เช่น เมืองเสียมราฐ ย่างกุ้ง และกาฐมาณฑุ ก็ให้บริการซ่อมบำรุงที่ประเทศเหล่านั้น สามารถทำรายได้ภาวะปกติประมาณ 200-300 ล้านบาทต่อปี นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี โดยหลังเข้าสู่แผนฟื้นฟูฯ ก็มีแผนจะขยายธุรกิจนี้เพิ่มสร้างรายได้เพิ่มขึ้น

สำหรับธุรกิจครัวการบิน ที่เกี่ยวข้องกับ 3 หน่วยงาน คือ ฝ่ายครัวการบิน ฝ่ายบริการภาคพื้น และฝ่ายคลังสินค้าฯ ที่ผ่านมาช่วงโควิด-19 ก็ดำเนินการทุกหน่วยธุรกิจ และตามแผนฟื้นฟูฯที่กำหนดให้ใน 5 ปีข้างหน้าจะต้องหารายได้เพิ่มนั้น ก็ได้วางแผนศึกษาการตั้งหน่วยธุรกิจใหม่ขึ้น ซึ่งจะต้องเป็นธุรกิจที่มีอนาคต มีศักยภาพ และมีขนาดตลาด เพื่อจะรุกเข้าไปสร้างกำไรกลับเข้าสู่บริษัท เช่น ที่ผ่านมา ครัวการบินไทย ได้เปิดภัตตาคารอร่อยล้นฟ้า ไม่ต้องบินก็ฟินได้ ล่าสุด ปลายเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา ก็เปิดสาขาใหม่ที่ภูเก็ต เพื่อรองรับภูเก็ต แซนด์บอกซ์

นอกจากนี้ การพัฒนาภาคพื้นต่างๆ ก็ดูเรื่องของสปา เลานจ์ว่า จะสามารถขยายไปยังพื้นที่ใดได้บ้างทั้งในประเทสและต่างประเทศ พร้อมมองหาผู้ร่วมทุนเพื่อมาต่อยอดธุรกิจร่วมกัน รวมถึง คาร์โก้ ไม่ได้มองแค่เป็นคลังสินค้า และจะพัฒนาสู่ธุรกิจโลจิสติกส์ ที่ครบวงจรทั้งต้นน้ำถึงปลายน้ำ ซึ่งตอนนี้ก็อยู่ในแผนการศึกษา คาดว่าจะมีความชัดเจนในระยะต่อไป