ระเบิดเวลาหลังโควิด-19 Post-Pandemic Economic Boom ผนวกกับ K-shaped Recovery
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เหมือนกำลังจะเข้าถึงช่วงปลายของการแพร่ระบาดของหลายๆ ประเทศหรือ Post-Pandemic Economic Boom นำไปสู่ต้องมาพูดถึง Recovery
ยุคที่เรากำลังจะก้าวสื่อคือยุคที่เรียกว่า ยุคเศรษฐกิจบูมหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 หรือ Post-Pandemic Boom ก่อนที่จะก้าวเข้าสู่ยุคเศรษกิจบูมนั้น เราต้องเรียนรู้และปรับตัวกับการดำเนินชีวิตที่จะอยู่กับไวรัสโควิด-19 และแนวทางการดำเนินชีวิตในที่สาธารณะ เช่น การฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ และเตรียมความพร้อมด้านยารักษาโรค แต่ก็ยังมีอีกหลายคำถามที่เกี่ยวข้องกับความไม่แน่นอนของอนาคต เช่น เมื่อไหร่เราจะเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจบูม เศรษฐกิจบูมจะไปทางทิศไหน แล้วจะมีสัญญาณอะไรที่บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้น แต่สิ่งที่เราสามารถคาดการณ์เกี่ยวกับเศรษฐกิจของประเทศได้ โดยอาศัยหลักทฤษฎีการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในรูปตัวเค (K-Shaped)
หากประเมินแล้ว เหมือนทิศทางเศรษฐกิจหันไปในทางที่ดีหรืออย่างน้อยดีขึ้นกว่าช่วงของวิกฤติ แล้วระเบิดเวลาที่กล่าวถึงคืออะไรกัน ระเบิดเวลาที่กล่าวถึงคือ การเกิดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่และเห็นได้ชัดยิ่งขึ้น เนื่องจากผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 และผลลัพท์จากการบริหารจัดการนโยบายต่างๆ ที่ผ่านที่มา จนเกิดการเรียกร้องจากผู้ที่ได้รับผลการทบที่เริ่มขยายเป็นวงกว้างมากขึ้น จากความไม่พอใจ (politics of resentment) จนนำไปสู่การประท้วง (political protest) และการจัดการชุมนุม (political demonstration) และสามารถลุกลามไปถึงความวุ่นวายทางการเมือง (political chaos) ถ้าภาครัฐไม่สามารถลดผลกระทบทางเศรษฐกิจ ทางสาธารณสุข ทางการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ บวกกับไม่สามารถสื่อสารกับประชาชนเกี่ยวกับการรับรู้เรื่องนโยบายของรัฐได้ชัดเจนเพื่อให้เกิดความเข้าใจได้สำเร็จ ถ้าจะกล่าวแบบตรงๆ คือ ถ้าจุดติด (ประเด็นทางการเมือง) ก็จะเกิดความวุ่นวายที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ แล้วปัจจัยด้านใดบ้าง ที่จะส่งผลให้ถึงขัดเกิดความวุ่นวายทางการเมือง มีหลายปัจจัยและหลายมิติที่จะทำให้เกิดความวุ่นวายทางการเมืองที่จะส่งผลต่อภาคลักษณ์และภาคร่วมของเศรษฐกิจ รวมถึงปัจจัยที่ส่งผลถึงระยะเวลาของการเกิดความวุ่นวายทางการเมือง ลองมาพิจารณาว่าความสงสัยว่าจากความไม่พอใจนโนบายภาครัฐทางเศรษฐกิจ การประท้วงชุมมุม จะส่งผลถึงต่อความวุ่นวายทางการเมืองได้อย่างไร ลองมองถึงปัจจัยหนุนที่ส่งผลอาจจะทำให้เกิดความวุ่นวายทางการเมือง คือ ผลกระทบของเศรษฐกิจจากวิกฤติโควิด-19 ผนวกกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจแบบ K-Shaped และ วัฒธรรมทางการเมืองของมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบไม่ปกติ (unconventional political behavior) ของประเทศเรา
ผลกระทบของเศรษฐกิจจากวิกฤติโควิด-19 ผนวกกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจแบบ K-Shape ประเด็นสำคัญคือทิศทางเศรษฐกิจของประเทศที่การคาดการณ์โดยนักเศรษฐศาสตร์ว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในรูปตัวเค (K-Shaped) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไปเป็นสองทิศทางแบบ K-shaped ที่ขึ้นอยู่พื้นฐานปัจจัยของธุรกิจ กลุ่มนั้นคือภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ปัจจัยการฟื้นตัวแบบตัวเค K-shaped ที่กล่าวถึงคือการเกิดของการกลุ่มบุคคลใหม่ที่จะไปร่วมหรือรวมตัวกับอีกกลุ่มที่ทำการเรียกร้องประท้วงรัฐบาลอยู่ปัจจุบัน กลุ่มบุคคลใหม่คือผลที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 ที่ไม่รับหรือเข้าถึงการดูแลจากภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพ ก็คือกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว อีกประเด็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจคือความก้าวหน้าของโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษอีอีซีที่มีแนวโน้มไปในทิศทางที่ดีหลายประการ ซึ่งจะยิ่งจะส่งผลสะท้อนให้เห็นความเหลื่อมล้ำ และจะกลายเป็นอีกระเบิดเวลาของสองนครา (A Tale of the Two Cites) ที่ก่อให้เป็นที่มาของการต่อด้านทางการเมืองของภาครัฐ (Politics of Resentment) จากกลุ่มธุรกิจขาลงของการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจอาจจะส่งผลการกระทบโดยตรงต่อการลงทุนในเขตเศษฐกิจพิเศษอีอีซีในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศเพราะความวุ่นวายทางการเมือง (political chaos)
อีกปัจจัยหนึ่งก็คือวัฒธรรมทางการเมืองของการมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบไม่ปกติ (unconventional political behavior) หากจะกล่าวถึงพฤติกรรมการเมืองของกลุ่มบุคคล Mass Political Behavior ในมิติของการมีส่วนร่วมทางการเมือง (political participation) สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภท แบบบการมีส่วนร่วมแบบปกติ (conventional political behavior) เช่น การเลือกตั้ง การลงเลือกตั้ง การแสดงความคิดผ่านผู้แทน และ การมีส่วนร่วมแบบไม่ปกติ (unconventional political behavior) เช่น การประท้วง การชุมนุม การไม่ทำตาม ต่อด้าน หรือ คว่ำบาตร นโยบายหรือกฎหมาย ดังนั้นการเกิดของการมีส่วนร่วมแบบไม่ปกติที่เราเริ่มที่จะคุ้นเคยจะส่งผลต่อความเสี่ยงให้เกิดความวุ่นวายทางการเมือง
การที่ภาครัฐสามารถรับมือกับผลกระทบของวิกฤติในมิติต่างๆร่วมถึงสามารถสื่อสารให้มีประสิทธิภาพนั้นไม่ใช่เพื่อป้องกันให้เกิดกลุ่มคนใหม่ที่จะส่งผลต่อการเกิดความวุ่นวายทางการเมืองแต่ต้องเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศที่จะส่งผลต่อการลดความเลื่อมล้ำของคนชาติอย่างแท้จริง โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษอีอีซีเป็นหนึ่งนโยบายและทางที่คาดว่าจะยกระดับเศรษฐกิจรวมถึงส่งเสริมคุณภาพชีวิตไม่ใช่เพียงแต่เขตอีอีซีและต้องของคนในประเทศอีกด้วย
บทความโดยดร.ศิริวัลยา คชาธาร
ผู้ช่วยคณบดีคณะบริหารธุรกิจ
สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์