โลจิสติกส์สหรัฐสะดุด ทำดีมานด์-ต้นทุนอาหารพุ่ง
ระบบโลจิสติกส์ ของโลกที่สะดุดจากโควิด-19ระบาด ทำให้การขาดแคลนอาหารพุ่งสูงโดยเฉพาะสหรัฐฯ โดยสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแองเจลิส ระบุว่า ความต้องการสินค้าเกษตรกลุ่มอาหารมีสูงขึ้นมากอย่างไมเคยพบมาก่อน
ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ปัจจุบันทุกประเทศในโลก กำลังเร่งฉีดวัคซีน เพื่อบรรเทาสถานการณ์โควิด- 19 ระบาด ดังนั้นคาดว่าอีกไม่นาน ภาคการขนส่งจะเริ่มฟื้นตัว กระทรวงเกษตรฯจึงสั่งให้สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ แต่ละแห่ง ศึกษาและสำรวจตลาด เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงและพัฒนาผลผลิตสินค้าของไทยให้สอดคล้องกับความต้องการ ล่าสุดรายงานความต้องการของตลาดสหรัฐซึ่งการระบาดของโควิด 19 นั้นส่งผลให้ความต้องการสินค้าเกษตรพุ่งขึ้นอย่างมากในกลุ่มผักและผลไม้ จึงเป็นโอกาสของไทยที่จะส่งสินค้าในตลาดแห่งนี้ แต่ยังติดปัญหาด้านโลจิสติกส์ ที่ทำให้การขนส่งล่าช้า อย่างไรก็ตาม ในระหว่างนี้ต้องพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทั้งระบบ
ประเมินว่าหลังโควิดคลี่คลาย ในปี 2565 ระบบโลจิสติกส์จะกลับมาคึกคักและผลักดันให้ภาคการส่งออกพุ่งขึ้นอีกครั้งโดยการขนส่งสินค้าทางอากาศ คาดว่าจะฟื้นตัวได้เร็ว เพื่อสนองตอบความต้องการของผู้บริโภค ได้เร็วที่สุด ซึ่งการขนส่งคาร์โกนั้น ไม่ได้หมายถึงการบินตรงให้ถึงเป้าหมายในทันที แต่เป็นการบินเชื่อมไปยังเมืองต่างๆก่อน ดังนั้นการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารของไทยต้องเชื่อมโยงกับการแปรรูป ด้วยเพื่อยืดอายุสินค้าและสะดวกต่อการขนส่ง มากที่สุด
สำนักงานที่ปรึกษา ประสถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแองเจลิส รายงานว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมผักและผลไม้กำลังเผชิญกับความท้าทายระดับโลกครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา ส่งผลให้ผู้ประกอบการทุกรายในห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่เกษตรกรไปถึงจะลูกค้า ตองประสบปัญหาหาความล่าช้าของระบบการขนส่ง ที่สืบเนื่องมาจากโควิด-19 ส่งผลต่อทุกอุตสาหกรรมและทุกธุรกิจทั่วโลกที่ไม่ได้เตรียมตัว โดยรายงานอ้างข้อมูลจากบริษัท Vanguard International USA ซึ่ง เป็นซัพพลายเออร์ ผักและผลไมรายใหญ่ ระบุว่าความต้องการผลิตภัณฑ์สินคาจากภูมิภาคเอเชียมีสูงมากจนทำให้อัตราการขนส่ง ณ เวลา ที่ซื้อขายจริงดีดตัวขึ้นไปสูงกว่า 2 หมื่นดอลลาร์ต่อตูคอนเทนเนอร์ หรือ 4 เท่าจากอัตราปกติตามความต้องการตูคอนเทนเนอรที่เพิ่มขึ้น และยังมีปัญหาความต้องการขนส่งที่มีสูงมาก จนเรือขนส่งสินค้าต้องบรรทุกตู้คอนเทรนเนอร์เปล่าขึ้นเรือเพื่อให้สามารถกลับไปยังเอเชียให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้โครงสร้างพื้นฐานของระบบห่วงโซ่อุปทานในตลาดสหรัฐ กำลังล่มสลายอย่างสิ้นเชิง ตูคอนเทนเนอร์ ได้กลายเป็นที่เก็บสินคาชั่วคราวที่มีค่าใช้จ่ายสูงมากเพราะระบบขนส่งสินค้าจากท่าเรือไปยังโกดังติดขัด นอกจากนี้ยังเห็นการขาดแคลนแชสซี(chassis)ที่ใช้สำหรับตูคอนเทรนเนอร์อีกด้วย ซึ่งโดยปกติแล้วตู้คอนเทรนเนอร์นำออกจากเรือ แต่การนำกลับคืนมามีความล่าช้ามาก ดังนั้น จึงทำให้ไม่สามารถนำตู้คอนเทรนเนอร์ออกจากเรือได้ และหากทำได้ก็ไม่สามารถรับประกันได้ว่า จะมีแชสซีสำหรับการเคลื่อนย้ายตู้คอนเทรนเนอร์
ในขณะเดียวกันอุตสาหกรรมรถบรรทุกขนส่งสินค้าก็ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเนื่องจากระยะเวลาการรอที่ยาวนานที่ท่าเรือ และการขาดแคลนอุปกรณ์เช่น แซสชีที่ใช้ใน การลากตู้ไปยังจุดโหลด ทั้งหมดนี้คือสาเหตุของความระส่ำระสายความล่าช้าและราคาค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ลูกค้าไม่ได้รับสินค้าตามเวลาที่กำหนด
สำหรับการขนส่งผักและผลไม้ ที่ต้องเข้มงวดเรื่องระยะเวลาการขนส่ง เนื่องจากเป็นสินค้าที่เน่าเสียง่าย ดังนั้นการขนส่งจึงต้องตรงตามตารางที่วางไว้ เพื่อบริหารความเสี่ยงและเวลาการส่งมอบสินค้า ดังนั้น ซัพลายเออร์ จึงต้องมองทางเลือกการขนส่งที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อรักษาผลประโยชนให้กับทั้งผู้ผลิตและลูกค้า
การขนส่งทางเครื่องบิน เป็นทางเลือกเพื่อเลี่ยงความไม่แน่นอน เกี่ยวกับตารางการเดินเรือและการขาดแคลนอุปกรณ์ อย่างไรก็ตาม การขนส่งทางอากาศส่งผลให้ราคาสินค้าสูงขึ้น และต้นทุนดังกล่าวถูกส่งต่อไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่อุปทาน และผู้บริโภคในที่สุด นอกจากนี้ ยังมีผลกระทบต่อปริมาณที่สามารถจัดส่งและจำหน่ายด้วย
“ปัญหาดังกล่าว ผู้นำอุตสาหกรรมจำนวนมากได้หารือและได้ข้อสรุปว่า หากไม่มีปัจจัยอื่นๆ เข้ามาแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับห่วงโซ่อุปทาน ที่เป็นอยู่ เป็นไปได้ที่สถานการณ์จะยืดเยื้อไปจนถึงไตรมาส2 ของปี 2565”