แบงก์ชาติปลดล็อก แอลทีวี กระตุ้นอสังหาฯถึงสิ้นปี 65

แบงก์ชาติปลดล็อก แอลทีวี กระตุ้นอสังหาฯถึงสิ้นปี 65

ธปท. ผ่อนคลายเพดาน LTV เป็น 100% สำหรับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่ปัจจุบันเป็นเพดาน LTV ที่ 70-90% ถึงสิ้นปี 2565 สำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัยปล่อยใหม่ ทั้งการ รีไฟแนนซ์และสินเชื่อ Top-Up หวังกระตุ้นเศรษฐกิจ ครอบคลุมถึงแบงก์รัฐด้วย ช่วยฟื้นดีมานด์อสังหาฯ

21 ต.ค. 64 นางรุ่ง มัลลิกะมาส ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประะทศไทย( ธปท.) เปิดเผยว่า แม้เศรษฐกิจไทยทยอยฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด 19 แต่ยังคงเปราะบางจากความไม่แน่นอนสูงและฐานะการเงินของบางภาคธุรกิจและครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบหนัก 

ดังนั้น จึงต้องมีมาตรการเพื่อกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจและพยุงการจ้างงานเพิ่มเติม โดยธปท. ผ่อนคลายเพดาน LTV เป็น 100% สำหรับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่ปัจจุบันมีเพดาน LTV ที่ 70-90% ถึงสิ้นปี 2565
สำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัยปล่อยใหม่ (รวมถึงการ refinance และสินเชื่อ Top-Up)

แบงก์ชาติปลดล็อก แอลทีวี กระตุ้นอสังหาฯถึงสิ้นปี 65

ทั้งนี้หวังประโยชน์ว่า จะกระจายเม็ดเงินใหม่และพยุงการจ้างงานผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจเกี่ยวเนื่องที่มีสัดส่วนกว่า 9.8% ของ GDPและมีการจ้างงานรวมประมาณ 2.8 ล้านคน

ขณะที่ทางด้านความเสี่ยงประเมินว่า

 1. การเก็งกำไรในภาคอสังหาริมทรัพย์อยู่ในระดับต่ำและสถาบันการเงินยังมีมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อที่ดี
2. สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยไม่ซ้ำเติมปัญหาาหนี้ครัวเรือนของไทย เนื่องจากปัญหาหนี้ครัวเรือนของไทยอยู่ที่สินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิต

"การผ่อนคลายLTV เดิมเรามีมาตรการหากบ้านหลังแรกไม่เกิน 10ล้านบาท กู้ได้เต็ม 100% แต่มีมาตรการที่ผ่านมา จำกัดด้านสินเชื่อกรณีบ้านหลังที่ 2และ 3 จึงจำกัด LTV ไว้ รวมถึงบ้านราคาแพงเกิน 10ล้านบาท ที่ออกมาช่วงอสังหาริมทรัพย์ร้อนแรง แต่วันนี้การเก็งกำไรอยู่ในระดับต่ำ และหลายภาคส่วนมีวินัยดี ทำให้เรากังวลน้อยลงเกี่ยวกับความเสี่ยงต่างๆดังนั้นมีความเหมาะสมที่จะปลดล็อกมาตากรLTV ดังกล่าวเป็นการชั่วคราว ซึ่งจะบังคับรวมถึงในส่วนของแบงก์รัฐด้วย"

นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเสถียรภาพระบบการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า   ส่วนมาตการใหม่ครั้งนี้ เป็นมาตรการเฉพาะจุด โดยเฉพาะจุดในรอบนี้ มุ่งไปที่อสังหาริมทรัพย์ เพราะภาคอสังหาฯ มีส่วนสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย มีซัพพลายเชนต้นน้ำปลายน้ำในห่วงโซ่จำนวนมาก มีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องค่อนข้างมาก

โดย ภาคอสังหาฯ มีสัดส่วนต่อจีดีพีราว 2% แต่หากรวมกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องมีส่วนต่อจีดีพีถึง 10% และมีการจ้างงาน 2.8ล้านคน หรือมากกว่าครึ่งอยู่ในภาคก่อสร้าง จึงเป็นสาเหตุหลักต้องกระตุ้น

ขณะที่มาตรการLTVเดิม ที่เคยกำหนดไว้ดังนี้

แบงก์ชาติปลดล็อก แอลทีวี กระตุ้นอสังหาฯถึงสิ้นปี 65