20ปี “คาเฟ่ อเมซอน” ทุ่ม 20 ล้าน เนรมิตร้านกาแฟรับไลฟ์สไตล์ยุคดิจิทัล
ก้าวสู่ปีที่ 20 สำหรับการเปิดให้บริการคาเฟ่ อเมซอน จากแรกเริ่มที่ยอดขายวันละ 40 แก้วต่อสาขา จนปัจจุบันแปลงโฉมรับกับไลฟ์สไตล์ยุคดิจิทัลดันขายได้ถึงวันละ 1,000 แก้ว ในแคมโบเดีย
นางสาวจิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ เปิดเผยว่า คาเฟ่ อเมซอน ถือว่าก้าวสู่ปีที่ 20 แล้วจากจุดเริ่มต้นมียอดขายสาขาแรกวันละ 40 แก้ว ด้วยวิสัยทัศน์ของผู้บริหารที่อยากให้ร้านกาแฟช่วยสร้างความสดชื่นกับนักเดินทาง จึงปักหมุดร้านกาแฟในปั๊มน้ำมัน โดยใช้หลักการใน 4 เรื่อง เพื่อสร้างความแตกต่างคือ 1. กรีนโอเอซีส สร้างความรู้สึกว่าเมื่อเข้ามาที่ปั๊มน้ำมันแล้วยังได้พักผ่อนด้วย 2. รสชาติที่แตกต่าง 3.สะดวกสบาย หาซื้อได้หลายแห่ง เริ่มต้นจากสถานีบริการ และ 4.ราคาที่ทุกคนเข้าถึงได้ในคุณภาพที่ได้มาตรฐาน
ทั้งนี้ โออาร์ใช้เวลา 10ปี เปลี่ยนความพร้อมของธุรกิจโมเดลมาเป็นคาเฟ่ กาแฟ เพื่อเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ในปี2555 จนมีสาขาคาเฟ่ อเมซอนแล้ว 3,500 สาขา แบ่งเป็นในปั๊มราว 2000 ปั๊ม และได้ขายไปยัง10ประเทศ อยู่ในบริษัทย่อยของโออาร์ อาทิ พีทีทีลาว พีทีทีฟิลิปปินส์ หรือแม้แต่แคมโบเดียที่ขายได้ถึงวันละ 1,000 แก้วต่อสาขา ส่วนในประเทศไทยเฉลี่ยสาขาละประมาณ 300 แก้วต่อวัน
“การขายแฟรนไชส์ในประเทศโออาร์จะอนุมัติปีละ500 แห่ง แต่มีการสมัครขอทำแฟรนไชส์เดือนละกว่า 500 ราย ดังนั้น โออาร์จะพิจารณาอย่างรอบคอบโดยเฉพาะสถานที่ตั้งเพื่อให้คืนทุนภายใน 3ปี”
นอกจากนี้ ด้วยแนวคิดอยากให้ลูกค้าได้ผ่อนคลายจึงใช้งบลงทุน 20 ล้านบาท เปิด Café Amazon Concept Store แห่งแรกในประเทศไทย ถือเป็น Landmark แห่งใหม่ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สาขาพหลโยธิน กม.56 ที่ออกแบบเพื่อมารับกับร้านกาแฟที่เมื่อเข้ามาแล้วจะไม่รู้สึกว่าอึดอัด ใช้พื้นที่ทั้งชั้นบน-ล่างอย่างคุ้มค่า ได้สัมผัสกับบรรยากาศโดยรอบ ลดความตรึงเครียด ตอบรับไลฟ์สไตล์ร้านคาเฟ่ปัจจุบันที่ตกแต่งมาเพื่อที่นอกจากจะมาดื่มกาแฟแล้วยังได้ถ่ายรูปในมุมต่างๆที่
โดย Concept ที่ต้องการให้ร้านคาเฟ่ อเมซอน ที่ตั้งอยู่ในท้องถิ่นตามจังหวัดต่างๆ สามารถเป็นตัวแทนบอกเล่าเรื่องราว โดยได้นำไอเดียและความน่ารักของท้องถิ่นนั้นๆ บางอย่างมาผสาน เพื่อถ่ายทอดเอกลักษณ์ต่างๆผ่านร้านคาเฟ่ อเมซอน โดยธีมของสาขานี้คือ “The door to the local culture”
ร้านแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ดังนั้นคาเฟ่ อเมซอนจึงหยิบเอาวัตถุดิบจากชุมชนที่ตั้งของร้าน มาสร้างสรรค์เป็นเมนูพิเศษที่จำหน่ายเฉพาะสาขานี้เท่านั้น อย่าง Unicorn Cotton Candy Frappe เมนูยูนิคอร์นสายไหมอยุธยา เคียงคู่กับ Americoco อเมริกาโนมะพร้าวหอมชื่นใจ อีกทั้งยังมีสินค้าพิเศษที่คาเฟ่ อเมซอนรับซื้อมาจากวิสาหกิจชุมชน หรือ SME ท้องถิ่น แล้วนำมาสร้างสรรค์ให้กลายเป็นสินค้าพรีเมียมสุด Exclusive ที่หาไม่ได้จากร้านอื่นๆ
และยังมีบาร์เครื่องดื่มแบบพิเศษที่เรียกว่า ‘Concept bar’ โดยใช้เมล็ดกาแฟคัดพิเศษจากภาคเหนือ ใช้นมสดจากวิสาหกิจชุมชน อำมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี เมนูที่แนะนำคือ ‘The Local’ ที่ถือได้ว่าเป็นเมนู Signature ของ Concept Bar เลยก็ว่าได้ สำหรับสายดริป ก็มีทั้งดริปเย็นและดริปร้อน ให้บริการโดยเมล็ดกาแฟที่ใช้ดริปจะเป็นแบบ Seasonal เปลี่ยนตามฤดูกาล ที่ไม่ว่ามาฤดูไหน ก็สามารถลิ้มลองเมล็ดกาแฟได้หลากหลายรูปแบบ
สำหรับการออกแบบร้านนั้นก็มีสวยงามตามแบบฉบับคาเฟ่ อเมซอน ที่ตกแต่งแบบเน้นความร่มรื่ม สัมผัสได้ถึงธรรมชาติ มีน้องซนซน มาสคอตของคาเฟ่ อเมซอน คอยทักทายตามจุดต่างๆ ที่สำคัญคือ เฟอร์นิเจอร์ ทั้งโต๊ะ เก้าอี้ เป็นวัสดุ Upcycling ที่นำเอาขยะหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วนำกลับมาสร้างเป็นเฟอร์นิเจอร์ ตามแนวทางการรักษ์โลกแบบ Circular Living ที่คาเฟ่ อเมซอนใส่ใจเสมอ มีโครงการตู้เก็บแก้วกลับ ที่จะนำเอาแก้ว PET ที่ใช้แล้วเข้าสู่กระบวนการ Upcycling เพื่อเพิ่มมูลค่าให้ขยะ รวมถึงมีสินค้าพรีเมียมจากวัสดุ Upcycling ที่หาซื้อไหนไม่ได้จากสาขาอื่นๆ
“สาขานี้มีการจ้างงานผู้สูงอายุในตำแหน่งบาริสต้าเช่นกัน ซึ่งถือเป็นการขยายแนวคิดการให้โอกาสไปยังร้านคาเฟ่ อเมซอน สาขาต่างๆซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายด้านความยั่งยืนของคาเฟ่ อเมซอน ไม่ว่าจะมาตอนเช้า สาย บ่าย เย็น ก็ตอบโจทย์ด้วยเมนูที่หลากหลาย เบเกอรีมากมาย อีกทั้งยังมี Light Meal เบเกอรีอบร้อน ทั้งครัวซอง ทั้งซุป ให้บริการทั้งวัน เมนูกาแฟที่หลากหลาย สินค้ารักษ์โลก ไปจนถึงวัสดุตกแต่งร้านก็ถูออกแบบมาเพื่อโลกของเรา การเข้าไปอยู่ในชุมชนและสนับสนุนการจ้างงาน วัตถุดิบ ตลอดจนกระตุ้นการท่องเที่ยวในพื้นที่ด้วย และเตรียมพบกับคาเฟ่ อเมซอน สาขาเวียงจันทน์และสาขาวิภาวดี62 ได้ในเร็วๆ นี้”
นอกจากนี้ เพื่อสอดรับกับธุรกิจครบวงจรโออาร์ได้เปิดให้บริการศูนย์ธุรกิจค้าปลีกโออาร์ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา บนพื้นที่ 200 ไร่ มีบุคลากรรวม 400 คน ด้วยงบลงทุนกว่า 6,000 ล้านบาท แบ่งเป็น
1. ศูนย์กระจายสินค้า (ดีซี) จะจ่ายสินค้าออกไปสู่สาขาต่างๆอยู่ที่ประมาณ 22 ล้านกล่องต่อปี และจัดเก็บในคลังราว 15 ล้านกล่องต่อปี ด้วยการแยกสินค้าไปตามสาขาอัตโนมัติ มีหุ่นยนต์ 50 กว่าตัว
2. โรงคั่วกาแฟ ที่มีเครื่องคั่ว 2 ตัว มาจากอิตาลีและเยอรมัน กำลังการผลิต 15 ตันต่อวัน เครื่องคั่วทำงานอัตโนมัติในเวลา 15-20 นาที โดยการคั่ว 1 ครั้งจะใช้กาแฟ 300 กิโลกรัม
3. โรงผงผสม กำลังผลิตทั้งผลโกโก้ ผงชาเขียว ครีมเทียม และน้ำตาลอยู่ที่ 1.2 หมื่นตันต่อปี โดยปีหน้าอาจจะเห็นผงโกโก้วางจำหน่ายที่สาขาอเมซอนด้วย
4. โรงงานเบอเกอรี่ ที่อนาคตจะผลิตขนมออกสู่สาขาของอเมซอนด้วย โดยตั้งเป้าผลิตขนมได้ 20 ตันต่อปี หรือ 40 ล้านชิ้น ใน 3ปีต่อจากนี้