กรุงศรี เร่งเสริมแกร่งธุรกิจไทย สร้างโอกาสใหม่ สู่การเติบโตยุคดิจิทัล
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เดินหน้าเสริมสร้างศักยภาพด้านธุรกิจเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ผ่านการจัดงานสัมมนาออนไลน์ Krungsri Business Forum เปิดมุมมองอนาคตธุรกิจไทย กับโอกาสใหม่ในภูมิภาคอาเซียนยุคดิจิทัล
นายเซอิจิโระ อาคิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวเปิดงานและนำเสนอความพร้อมของกรุงศรีในการขับเคลื่อนการเติบโตของพันธมิตรธุรกิจในอาเซียนภายในงานนี้ว่า
การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลก แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้หลายเทรนด์ในโลกธุรกิจเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
โดยเฉพาะเรื่องการค้าการลงทุนระดับภูมิภาค การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของดิจิทัล และการดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นความท้าทายที่ธุรกิจต้องเร่งปรับตัวตามให้ทัน สำหรับกรุงศรี จากการประกาศพันธกิจในการเป็นสถาบันการเงินไทยที่เป็นที่หนึ่งในใจลูกค้า
พร้อมเชื่อมโยงความต้องการของลูกค้าทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียน เราได้ประสานความร่วมมือกับ MUFG และทำงานร่วมกับธนาคารพันธมิตรเพื่อสร้างความแข็งแกร่งและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในอาเซียนอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งทำให้กรุงศรีมีเครือข่ายธนาคารพันธมิตรครอบคลุมบริการและพื้นที่มากที่สุดในภูมิภาค นอกจากนั้นเรายังเดินหน้าลงทุนในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเงินเพื่อทำให้การทำธุรกรรมข้ามประเทศสะดวกสบาย รวดเร็ว และทำได้ง่ายยิ่งขึ้น ทั้งด้วยการพัฒนาเทคโนโลยี Blockchain และ API
ซึ่งไม่เพียงช่วยยกระดับประสบการณ์ด้านบริการของผู้ใช้งาน แต่ยังตอกย้ำความเป็นผู้นำของกรุงศรีด้านเทคโนโลยีการเงินการธนาคารในอาเซียน ซึ่งทำให้กรุงศรีมีความพร้อมในการช่วยผลักดันการเติบโตของลูกค้าธุรกิจในอนาคต
ด้านการส่งเสริมการดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืน เป็นอีกความแข็งแกร่งที่กรุงศรีสามารถครองความเป็นผู้นำอันดับหนึ่งในตลาดด้วยส่วนแบ่ง 29% และเรายังคงพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินเพื่อการดำเนินธุรกิจด้าน ESG อย่างต่อเนื่อง ด้วยความมุ่งมั่นในการส่งเสริมการเติบโตในก้าวต่อไปของธุรกิจที่มีปัจจัยเรื่องความยั่งยืนเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค
หนุนนำเทคโนโลยีดิจิทัลหนุนธุรกิจ-สร้างการเติบโต
ด้านนายสยาม ประสิทธิศิริกุล ประธานกลุ่มสนับสนุนธุรกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวบรรยายในหัวข้อ “The NEXT Wave of FinTech” ว่า ในอนาคต Digital Disruption เข้ามาเปลี่ยนแปลงทุกอย่างในชีวิตประจำวัน ทั้งการใช้ชีวิต และการดำเนินธุรกิจ
ซึ่ง ดิจิทัลดิสรับชั่น ถือเป็นโอกาส ที่จะทำให้ธนาคารเข้าถึง ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้มากขึ้น
ดิจิทัลเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น อาทิ 1.เทคโนโลยีพิสูจน์ยืนยันตัวตน (Biometrics) ที่ธนาคารนำมาใช้ยืนยันตัวตนการเปิดบัญชี หรืออื่นๆ
2.ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่นำมาช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้า หรือ AIML นำมาพัฒนาในการช่วยเรื่องการเติมเงินสดเข้าเครื่องเอทีเอ็มแต่ละจุดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
3.Open API ที่มีการเชื่อมโยงต่อพันธมิตร (Partnership) และทำให้การทำธุรกรรมง่ายและสะดวกมากขึ้นผ่าน 3 ช่องทาง ทั้งออนไลน์ เอทีเอ็ม และสาขาธนาคาร
4.Blockchain เทคโนโลยีการเก็บข้อมูล และก่อให้เกิดเทคโนโลยีอีกมากมาย เช่น คริปโตเคอร์เรนซี
5.Metaverse หรือโลกเสมือนจริงที่ถูกสร้างขึ้นมา และมีหลายธุรกิจนำไปใช้ในธุรกิจ
อย่างไรก็ดี เทคโนโลยีที่ประเทศไทยจะโฟกัสและกำลังเกิดขึ้น
เช่น SME Debt Crowdfunding รวมไปถึง Smart finance & Payment Infrastructure for Business ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐกระทรวงการคลัง ธปท.และธนาคาร เป็นการปฏิรูปการชำระเงินภาคธุรกิจไปสู่ดิจิทัล
โดย จากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ของดิจิทัลหลายด้านกรุงศรีได้นำมาปรับใช้ เพื่อให้ธนาคารสามารถเติบโตได้บนโลกใหม่
อีกทั้งธนาคารได้มีการขยายความร่วมมือต่อเนื่องกับพันธมิตร รวมถึงการลงทุนใหม่ๆในสตาร์ทอัพผ่านกรุงศรีฟินโนเวต เพื่อขยายศักยภาพการเติบโตกับธนาคารในระยะข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง
ธุรกิจต้องReimagine เพื่ออยู่รอดในโลกใหม่
ด้านดร. สมประวิณ มันประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานวิจัย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า กล่าว่า หากย้อนประวัติศาสตร์ในอดีต พบว่ามีการเปลี่ยนผู้เล่นมากมาย จากวิกฤติที่เกิดขึ้นหลายระลอก ทั้งต้มยำกุ้ง โควิด-19 ที่มักทำให้เกิดผู้เล่นรายใหม่ และผู้เล่นเก่าๆที่ล้มหายตายจาก จากการปฏิวัติของอุตสหกรรม
และการก้าวสู่โลกดิจิทัล ที่เราเผชิญอยู่ คือ The Great Reset ที่มีทั้งผู้เกิดและดับของภาคธุรกิจไทย จากโลกที่เปลี่ยนแปลงไป
หากย้อนดูประวัติชั้นนำของบริษัทในอดีต พบว่า อายุไขของบริษัทต่างๆมีอายุไขน้อยลงเรื่อยๆ จากเดิมมีอายุไขถึง 40 ปี ปัจจุบันเหลือเพียง 15-20 ปีเท่านั้น และวัฏจักรการเกิดและการดับเกิดขึ้นในช่วง 15-20ปี ดังนั้นเป็นโอกาสเดียวสำหรับภาคธุรกิจ ที่จะเปลี่ยนแปลง
แต่สิ่งที่น่ากลัววันนี้ คือ เราเจอสองเหตุการณ์พร้อมกัน คือเจอวิกฤตโควิด และเผชิญกับเมกะเทรนด์ ที่กำลังทำให้เกิด The Great Reset ที่เกิดขึ้นกับทั่วโลก
โควิดทำให้เราคุ้นชินกับการเปลี่ยนพฤติกรรม ขณะที่การเกิดขึ้นของเมกะเทรนด์ทำให้เกิด 6 ประการที่เกิดขึ้นพร้อมกัน ซึ่งส่งผลมากมากสินค้าและบริการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ด้านแรกคือ เรามีการเกิดขึ้นของประเทศใหม่ๆ เช่น จีน อินเดีย อาเซียน ที่มีควาต้องการสินค้าไม่เหมือนเดิม
เมกะเทนรด์ที่สอง เรารู้ว่ากำลังเข้าสู่สังคมสูงวัย สังคมชราภาพ คนมีอายุยืนยามากขึ้น ทำให้ความต้องการสินค้าและบริการจะเกิดขึ้นจากคนหลายเจเนเรชั่นมากขึ้น
เมกะเทรนด์ที่สาม เราอยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ที่เป็นของจริง ที่ไม่ใช่โฆษณา ที่จำเป็นต้องคำนึงถึงมากขึ้น
เมกะเทนด์ที่สี่ เราอยู่บนโลกที่ไม่แน่นอนมากขึ้น ที่กระทบต่อการบริโภค ต่อการผลิต
เมกะเทรนด์ที่ห้า เราอยู่ท่ามกลางโลกที่สู้รบตบมือกัน ดังนั้นการค้าในอนาคต คงไม่ใช่มีแค่วงเดียว และสุดด้ายคือ ดิจิทัลดิสรับชั่นที่เกิดขั้น มีผลต่อชีวิตคน และอนาคต
“ เหล่านี้ คือหน้าต่างของโอกาสในการเข้าสู่ธุรกิจใหม่ในอนาคตที่มีไม่มาก เพราะคนเริ่มคุ้นชินกับการปรับตัวเริ่มมีการจับจองพื้นที่ในการทำธุรกิจหลังโควิดแล้ว ทำให้พื้นที่ในการทำธุรกิจในอนาคตมีเหลือน้อยลงเรื่อยๆ”
มี 3 ประเด็นที่สำคัญที่ภาคธุรกิจต้องปรับตัว คือการจินตนาการใหม่ (Reimagine) เพราะสิ่งที่เกิดข้น เป็นโอกาสมากกว่าความท้าทาย สอง reflex และสุดท้ายคือ การรีเซท ตัวเองเพื่อเข้าสู่ธุรกิจใหม่ในอนาคตได้หลังโควิด
โดยเฉพาะ reimagine สำคัญมาก บนโลกในอดีต การค้าแลการผลิตมีเพียงวงเดียว ทุกคนมีบทบาทเพียงหนึ่งข้อ บน Global value chain
แต่วันนี้เศรษฐกิจทำให้เกิดหลายวง จีน อาเซียน อินเดีย มีกำลังซื้อ มีกำลังการผลิต อาจเป็นไปได้ว่าในอนาคต ประเทศเหล่นี้อาจสร้างของตัวเอง หรือเรียกว่า regional value chain
ดังนั้นธุรกิจในโลกอนาคตจะลักษณะ 4ประการ จะมีการกระจายตัวมากขึ้น มีคนที่มีส่วนร่วมในการผลิตมากขึ้น สายพานการผลิตสั้นลงและเทคโนโลยีที่จะเป็นสิ่งที่สำคัญในการทำธุรกิจ
เมื่อมองโลกแล้วกลับมามองตัวเอง กรุงศรีมีการคำนวณดัชนี ศักยภาพการผลิต เพื่อบอกว่าเราเก่งแค่ไหนเทียบกับคนอื่นๆ โดยดูจาก 3มิติ เราผลิตด้วยต้นทุนที่ถูก มีประสิทธิภาพตอบโจทย์หรือไม่ ผลิตแล้วมีกำไรหรือไม่
หากดูข้อมูลของ OCD พบว่า หากดูการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย เทียบขนาดโลก เราอยู่ที่อันดับที่ 35 ถือว่าไม่น่าเกียจแต่ก็ไม่หล่อ
ในแต่อาเซียน เราอยู่อันดับสองรองสิงค์โปร และหากดูรายการผลิต เรามีถึง 7 อุตสหกรรมที่ติดท็อปของโลกเช่นยาง อาหาร แต่มีหลายอุตสาหกรรมที่เราสูญเสียความสามารถการแข่งขันที่รวดเร็ว จากการเข้ามาแข่งขันบนเวทีโลกของประเทศต่างๆมากขึ้น
“เราเก่งอะไร เรามีทรัพยากรที่ดี มีส่วนร่วมมีความยืดหยุ่น ในการผลิต แต่ปัญหาคืออะไร เรามีปัญหาในการสร้างมูลค่าเพิ่มในประเทศได้ สร้างมูลค่าเพิ่มได้ต่ำ อินโนเวทต่อไปไม่ได้มาจิ้นต่ำเรื่อยๆ อดีต อุตสาหกรรมที่ไทยเก่างเช่นอิเล็กทรอนิกส์ แต่เหล่านี้ตอบสนองความต้องการบนโลกเก่า แต่วันนี้ใช่ไม่ได้แล้ว ดังนั้น เราอาจต้องคิดใหม่ ว่าสินค้าที่ขายดีในอดีต แต่ไม่ได้แปลว่าในอนาคตจะขายได้”
สุดท้าย การรีเซทธุรกิจทำไม่ได้ง่าย เราจะอยุ่รอดในโลกข้างหน้าได้ จำเป็นต้องพัฒนาองค์กรของเรา พัฒนาเครื่องมือ พัฒนาองค์ความรู้ขององค์กร เหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ช่วยองค์กรได้
นอกจากนี้ สิ่งที่จะช่วยคือการหาพาร์ทเนอร์ที่ดี ที่จะเข้ามาช่วยในการทำธุรกิจ หาตลาดใหม่ หาองค์ความรู้ใหม่ซึ่งการหาพาร์ทเนอร์ชิฟเป็นสิ่งสำคัญมาก ที่ต้องคำนึงถึง
ดังนั้นกาต่อยอดธุรกิจ ต้องผสมระหว่างการพัฒนาตัวเอง และหาเพื่อนร่วมทางคือการหาพาร์ทเนอร์ชิฟ ท่ากลางการอยู่บนรอยต่อสำคัญ ที่จะเป็นโอกาสในการรีเซท รีอิมาจิ้นของการทำธุรกิจ และการร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ เพื่อทำให้เกิดการแปลี่ยนแปลงและอยู่รอดได้ ในโลกอนาคต