EPG - รายได้แกร่ง (วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565)

EPG - รายได้แกร่ง (วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565)

กำไรสุทธิต่ำกว่าคาดการณ์ของเราและตลาด 4% และ 2% ตามลำดับ หากไม่รวมรายการพิเศษ (อัตราแลกเปลี่ยน, ค่าใช้จ่ายพิเศษ) กำไรปกติ +3% qoq ยอดขายยังอยู่ในระดับที่ดี -1% qoq แต่ +14% yoy เป็น 2.95พันลบ.

หนุนจากฉนวนยาง (+7% qoq, +19% yoy) และบรรจุภัณฑ์ (+8% qoq, +15% yoy) ยอดขายชิ้นส่วนรถยนต์ลดลง 9% qoq (+10% yoy) เนื่องจากผลกระทบของการขาดแคลนชิป ยอดขาย TJM ลดลง 11% qoq EPG ซื้อร้านค้า TJM ใหม่ 1 ร้านค้าในต.ค.-ธ.ค. 21 และรับรู้รายได้เพียงหนึ่งเดือนในธ.ค. แต่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าซื้อ ทำให้ TJM พลิกเป็นขาดทุน 4ลบ. จากกำไร52.6ลบ. ในก.ค.-ก.ย. 21 อัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ฉนวนยางอยู่ในระดับที่ดี 40.8% (-0.8ppt qoq) และชิ้นส่วนรถยนต์ 32.5% (-1.3% qoq) ส่วน GPM บรรจุภัณฑ์ฟื้นตัวเป็น 19.7% (+7.4ppt qoq) ทำให้ GPM รวมเพิ่มเป็น 31.4% จาก 30.7% ไตรมาสก่อนหน้า EPG มีกำไรสุทธิที่ 400ลบ., -3% qoq และ -4% yoy กำไรสุทธิ 9M ที่ 1.26พันลบ. (0.45บาท EPS) คิดเป็น 75% ของคาดการณ์ทั้งปีของเราและสูงกว่ากำไรปี FY21 ไปแล้ว (1.22พันลบ.)

 

ยอดขายฉนวนยางและบรรจุภัณฑ์แข็งแกร่งในม.ค.

ใน ม.ค. - มี.ค. 22 เราคาดจะเห็นผลของการปรับราคาขายขึ้นฉนวนยางในสหรัฐฯ ซึ่งมีสัดส่วนเป็น 40% ของยอดขายฉนวนยางทั้งหมด ยอดขายบรรจุภัณฑ์ยังแข็งแกร่งในม.ค.โดยมีอัตรากำไรขั้นต้นที่ 20% สถานการณ์การขาดแคลนชิปจะดีขึ้นในปีนี้ เห็นได้จากยอดผลิตและส่งออกรถยนต์ฟื้นตัวตั้งแต่ ต.ค. - ธ.ค. 21 คาด TJM จะฟื้นตัว qoq เนื่องจากมีวันหยุดยาวในธ.ค. 21 และไม่มีค่าใช้จ่ายพิเศษ

 

คงคำแนะนำ ซื้อ DCF TP ที่ 16.0บาทต่อหุ้น

เราคาดยอดขายและ GPM ของ EPG จะฟื้นตัว qoq ในม.ค. - มี.ค. 22 เนื่องจากซัพพลายชิปที่มากขึ้นในตลาด ยอดขาย TJM จะฟื้นตัว qoq เนื่องจากการส่งออกรถยนต์จากไทยฟื้นตัวตั้งแต่ต.ค. - ธ.ค. 21 แต่จะยังไม่เห็นผลชัดเนื่องจากระยะเวลาในการขนส่ง TP 16.0บาท เทียบเท่า 26.5x/24.4x FY22/23F PE