“ไออาร์พีซี” ชี้ปัญหา “รัสเซีย-ยูเครน” ไม่กระทบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงไทย
“ไออาร์พีซี” ชี้ ปัญหา “รัสเซีย-ยูเครน” ไม่กระทบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงไทย ปลื้ม ผลดำเนินการปี 64 ดีที่สุดตั้งแต่ตั้งบริษัท ส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงพุ่ง
นายชวลิต ทิพพาวนิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC เปิดเผยว่า สำหรับปัญหาทางการเมืองระหว่างรัสเซียและยูเครน ยืนยันว่าประเทศไทยจะไม่มีผลกระทบต่อการนำเข้าตัวน้ำมันดิบกับกลุ่มบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) อาจจะเป็นแรงผลักดันให้อเมริกาปฏิบัติร่วมกับอิหร่านมากขึ้นเพื่อชดเชยส่วนที่ขาดหายไปของน้ำมันรัสเซีย แต่ผลที่เกิดขึ้นแล้วคือราคาน้ำมันในภาวะแบบนี้ ตอนนี้ทะลุกว่า 100 ดอลลาร์ต่อบาเรล ตอนนี้อยู่ในช่วงของการผันผวนจึงจะต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ถือเป็นแรงกดดันราคาน้ำมันสำหรับภาครัฐ เพราะประเทศไทยจะต้องนำเข้า เป็นเรื่องทั่วไปที่จะต้องเจอ
สำหรับภาพรวมผลกระทบของสงครามจะขยายตัวออกไปหรือไม่ หากไม่ขยายทำให้การค้ากลับมาหลังโควิดของประเทศต่างๆ อยู่ในภาวะปกติ หรือหากน้ำมันดิบจะหายไป 4 ล้านบาร์เรล จะต้องหาแหล่งอื่นมาทดแทน โอเปกยังมีคาร์ปาซิตี้ที่ยังไม่ได้ผลิตหรือปั๊มออกมาและปริมาณใกล้เคียงที่ 2-4 ล้านบาร์เรล อาจจะชดเชยตรงนี้ขึ้นมาได้
“สถานการณ์ตอนนี้ต้องดูเป็นรายวัน และยังมองไม่เห็นว่ารัสเซียจะถอยลงยังไง ทางตะวันตกจะต้องมาดูในเรื่องของศักดิ์ศรีและเหตุผล เราเป็นประเทศเล็กๆ จะต้องอยู่ให้เป็น โควิดทำให้ภาคผลิตมีการสะอึก หลายธุรกิจ เช่น ก่อสร้างคนงานไม่กลับมาเพราะเมื่อกลับไปใช้ชีวิตที่บ้านเกิด และสามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้”
ทั้งนี้ แต่ละประเทศโลกนี้พบว่าการผลิตจะไม่กลับมาเท่าเดิมแต่ตัว Demand เพิ่มขึ้น เมื่อถึงเวลากลับมาลงทุน โดยเฉพาะสินค้าโภคภัณฑ์ที่เป็น Community และมีปัจจัยบวกในเรื่องของเอ็นเนอร์จีและถ้าพลังงานที่แพงไปอีก จะมีผล ดังนั้น จะต้องหาแผนรองรับให้สามารถดำรงธุรกิจต่อเนื่อง ซึ่งแรงกดดันทางด้านพลังงานจะมีสูง เพราะไทยเจอในเรื่องของราคานำเข้าก๊าซ LNG ที่สูงขึ้นจากเดิม 3-4 เท่า จึงชะลอและหยุดการนำเข้าและหันมาใช้น้ำมันดีเซลแทน เป็นต้น และท้ายที่สุดจะต้องปรับขึ้นราคาค่าไฟฟ้าด้วย
ทั้งนี้ จากราคาน้ำมันดิบปี 2564 ปิดที่ 78 ดอลลาร์ต่อบาเรล เฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 69 ดอลลาร์ต่อบาเรล ถือว่ามากกว่าที่คาดการณ์ ส่งผลให้รายได้รวมบริษัทฯ ปี 2564 มีกว่า 2 แสนล้านบาท กำไรก่อนหักภาษี 2.6 หมื่นล้านบาท กำไรสุทธิที่ 1.4 หมื่นล้านบาท สูงสุดเป็นครั้งแรกตั้งแต่จัดตั้งบริษัท ถือว่าทำได้ดีในสถานการณ์ท่ามกลางปัญหาโควิด-19
อย่างไรก็ตาม ทีมวิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้วิเคราะห์ก่อนที่จะมีปัญหารัสเซียบุกยูเครน มองพื้นฐานครึ่งปีนี้ ราคาไม่น่าขึ้นขนาดนี้ และด้วยผลนโยบายด้านพลังงานสะอาด การปรับตัว และการแบนพลังงานจากถ่านหินอินโดนีเซีย ส่งผลให้ราคาก๊าซฯ แพงขึ้น หลายฝ่ายใช้ดีเซลมาเป็นพลังงานแทน เมื่อดีมานด์เพิ่ม ปัญหาโควิดดีขึ้นจะเห็นว่าการจราจรติดขัดในชั่วโมงเร่งด่วน กลับสู่ภาวการณ์ดำเนินชีวิตตามปกติทั่งโลก ราคาพลังงานสูงดีขึ้นตามลำดับ