Bank Sector เน้นปล่อยกู้ในตลาดเงิน (25 มี.ค. 65)
การลงทุนในตลาดตราสารหนี้มีทั้งเพิ่มขึ้นและลดลง เนื่องจากมีอุปสงค์จำนวนมากสำหรับการ refinance พันธบัตรรัฐบาล และเพื่อใช้สนับสนุนงบลงทุนของรัฐบาลในช่วงที่ COVID-19 ระบาด
กิจกรรมในตลาดตราสารหนี้ และตลาดเงินจึงดำเนินไปอย่างคึกคักในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ โดยสถานะลงทุนในตลาดตราสารหนี้รวมของทุกธนาคารลดลงเล็กน้อย 2.8% MoM และ 1.8% YTD เนื่องจากการลงทุนของ KTB และ TTB ลดลงอย่างมาก ในขณะที่การลงทุนในตราสารหนี้ของ SCB เพิ่มขึ้นอย่างมาก (+9% MoM และ +22% YTD) รองลงมาคือ BBL (+4% MoM และ 7% YTD) ส่วนสถานะของ KBANK ลดลงเล็กน้อย
ธนาคารปล่อยกู้ในตลาดเงินอย่างคึกคัก
เนื่องจากมีอุปสงค์เงินกู้ระยะสั้นสำหรับการใช้จ่ายภาครัฐในช่วงที่เกิดสถานการณ์โรคระบาด จึงมีการปล่อยกู้ในตลาดเงินอย่างคึกคักในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 โดยยอดปล่อยกู้รวมเพิ่มขึ้น 16% MoM และ 14% YTD โดย KTB, TTB และ KBANK ปล่อยกู้มากที่สุด สอดคล้องกับธุรกรรมที่ลดลงในตลาดตราสารหนี้ ทั้งนี้ KTB และ TTB ลดสถานะลงทุนในตราสารหนี้ลง แล้วนำสภาพคล่องส่วนเกินมาปล่อยกู้ในตลาดเงินแทน ส่วน BBL ไม่ได้ร่วมปล่อยกู้ในตลาดเงินด้วย แต่ยังคงลงทุนในตลาดตราสารหนี้
ต่อไป
สินเชื่อยังขยายตัวอย่างซบเซา
สินเชื่อรวมเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย (+0.5% MoM และ +0.2% YTD) โดยสินเชื่อของ KBANK ขยายตัวอย่างสม่ำเสมอ (+0.9% MoM และ +1.7% YTD) ตามด้วย KTB และ SCB ซึ่งสินเชื่อขยายตัวในอัตราเท่ากัน
Valuation and action
ภาวะเศรษฐกิจมหภาคโลกที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้เศรษฐกิจในประเทศมีความเสี่ยงมากขึ้น ในขณะที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่พุ่งสูงขึ้นทำให้แนวโน้มการบริโภคในประเทศ และอัตราการขยายตัวของ GDP แย่ลงอย่างมากในระยะสั้น ส่งผลให้ธนาคารมีความเสี่ยงมากขึ้นในแง่ของหนี้ที่ประสบปัญหา (TDR) จาก COVID และการตั้งสำรองที่สูงกว่าปกติใน 1H65 ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ 10bps จะทำให้กำไรของธนาคารลดลงประมาณ 4% ถึงแม้ว่าเราจะยังคงให้น้ำหนักหุ้นกลุ่มธนาคารที่ Overweight แต่เราแนะนำให้ซื้อเมื่อราคาย่อลงมาก่อน
Risks
NPLs และค่าใช้จ่ายในการกันสำรองเพิ่มขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแอลง, แรงกดดันทางด้าน yielde