10 อันดับกองทุน 'ผลตอบแทน' สูงสุด ไตรมาส 1/65
กองทุนน้ำมัน -หุุ้นลาตินอเมริกา ผลตอบแทนพุ่งแรงในไตรมาส 1/65 รับอานิสงส์ เงินฟ้อสหรัฐปีนี้พุ่งในรอบ 40 ปี และสงครามยูเครน-รัสเซียตึงเครีย ดันราคาน้ำมัน -สินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวสูง "กองทุนTUSOIL" ผลตอบแแทนนำโด่ง 33.61 % มอร์นิ่งสตาร์ ้เตือนระวังเป็นปัจจัยชั่วคราว
หลังจากความขัดแย้งทางการเมืองระหว่าง รัสเซียและยูเครน เริ่มกลับมาตึงเครียดขึ้นอีกครั้งในช่วงปลายเดือนก.พ.ที่ผ่านมานี้ ส่งผลให้ "ราคาน้ำมัน" เพิ่มสูงขึ้นได้ภายใต้สถานการณ์ที่ ดีมานด์ (Demand) และซัพพาย ( Supply) ของน้ำมันยังจำกัดอยู่ ส่งผลให้ "ราคาน้ำมัน" สูงขึ้นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมานี้" และยังมีความกังวลต่อปริมาณน้ำม้นดิบของโลกที่อาจปรับลง ทำให้ราคาน้ำมันดิบยังยืนเหนือระดับ 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
ขณะเดียวกัน ก่อนที่จะมีความขัดแย้งของยูเครน-รัสเซีย สหรัฐก็เผชิญต่อแรงกดดันของ "เงินเฟ้อ"ที่เพิ่มขึ้นสูงอยู่ และหลังจากที่มีสงครามเกิดขึ้นระหว่างยูเครน-รัสเซีย ก็ยิ่งเป็นตัวเร่งให้เกิดแรงกดดันของอัตราเงินเฟ้อเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ "ราคาสินค้าโภคภัณฑ์" ปรับเพิ่มขึ้น และในสหรัฐไม่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งดังกล่าว
จึงเห็น "ดัชนีกลุ่มลาตินอเมริกา" ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2560 และมีการฟื้นตัวต่อเนื่องในช่วง 2-3 ปีมานี้ จากสัญญาณที่เศรษฐกิจโลกเริ่มมีการฟื้นตัวอยู่ในขณะนี้ จึงเป็นปัจจัยบวกต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลัก ให้มีราคาสูงขึ้นตามไปด้วย
ดังนั้น จากเงินเฟ้อสหรัฐปีนี้พุ่งสูงสุดในรอบ 40 ปี และความขัดแย้งของยูเครน-รัสเซียตึงเครียดมากขึ้น ส่งผลให้ราคาพลังงานและราคาสินคัาโภคภัณฑ์ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เป็นบวกต่อผลตอบแทนกกองทุน 2 กลุ่มนี้ปรับตัวในระดับสูง
ล่าสุด มอร์นิ่งสตาร์ รีเสิร์ช (ประเทศไทย) รายงานกองทุนรวมที่มีผลตอบแทนสูงสุด 10 อันดับ ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2565 ดังนี้
1.กองทุนเปิด ทิสโก้ ยูเอส ออยล์ (TUSOIL) มีผลตอบแทน 33.61 %
2. กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล ออยล์ ฟันด์ ( I-OIL) มีผลตอบแทน 33.59%
3.กองทุนเปิด ทิสโก้ ออยล์ ทริกเกอร์ 8% #6 (TOIL6) มีผลตอบแทน 33.08%
4.เอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล เทน (I-10) มีผลตอบแทน 30.60 %
5.กองทุนเปิดเคแทม เวิลด์ เอ็นเนอร์จี ฟันด์ ( KT-ENERGY) มีผลตอบแทน 28.73%
6.กองทุนเปิดเค ออยล์ (K-OIL) มีผลตอบแทน 28.72%
7.กองทุนเปิด ทิสโก้ ละติน อเมริกา (TISCOLAF) มีผลตอบแทน 28.45%
8.กองทุนเปิดกรุงศรีลาตินอเมริกาอิควิตี้ (KF-LATAM) มีผลตอบแทน 28.10%
9.กองทุนเปิด วรรณ แอคทีฟ6/2 ฟันด์ (ONE-ACTIVE6/2) มีผลตอบแทน 27.19%
10.กองทุนเปิดกรุงศรี ออยล์ (KF-OIL ) มีผลตอบแทน 26.94%
สำหรับ 8 กองทุนทุนรวมน้ำมัน (Commodities Energy) ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2565 มีผลตอบแทนสูงสุดระดับ 20-30% ปัจจัยหลักมาจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ขณะที่กองทุนต่างประเทศที่ลงทุนในดัชนีหุ้นลาตินอเมริกา มีผลตอบแทนปรับตัวขึ้นมาสูงติดอันดับ 1ใน 10 กองทุนรวมให้ผลตอบแทนสูงสุดในช่วงไตรมาส 1 ปีนี้ ถึง 2 กองทุน
อย่างไรก็ตามทิศทางตลาดการลงทุนในปีนี้มีความผันผวนสูง และปัจจัยดังกล่าวที่ส่งผลตอบแทนอยู่ในระดับสูงอาจเป็นปัจจัยชั่วคราวเท่านั้นและระดับ NAV ปรับขึ้นมาค่อนข้างมากในช่วงนี้ ดังนั้นต้องระมัดระวังและพิจารณาถึงการรับความเสี่ยงก่อนตัดสินใจเข้าลงทุนด้วยเช่นกัน
"ชญานี จึงมานนท์" นักวิเคราะห์อาวุโส บริษัท มอร์นิ่งสตาร์ รีเสิร์ช (ประเทศไทย) กล่าวว่า สถานการณ์ความขัดแย้งในยูเครนเป็นเหตุให้ราคาน้ำมันปรับสูงขึ้นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากความกังวลต่อปริมาณน้ำมันดิบของโลกที่อาจปรับลง
อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นจากประเด็นดังกล่าวน่าจะยืนอยู่ได้ไม่นานเว้นแต่ว่าความรุนแรงจะเกิดขึ้นจริงและส่งผลต่อปริมาณน้ำมันดิบลดลงหลังจากนี้
ดังนั้น ความเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้นจากประเด็นดังกล่าวส่งผลให้เกิด Risk premium ของราคาน้ำมันซึ่งเป็นส่วนต่างระหว่าง Marginal cost และราคาในตลาดโลก (ราคาตลาดเป็นผลจากประเด็นอื่นๆนอกเหนือจากต้นทุนในการผลิต)
โดยงานวิจัยของ Norwegian energy research คาดว่า Marginal cost ของน้ำมันดิบ Brent อยู่ที่ $65 (สูงกว่าคาดการณ์ของ Morningstar ที่ $60) และเมื่อนำมาเทียบกับราคาน้ำมันดิบเมื่อต้นเดือนที่ประมาณ $89 เท่ากับว่า Risk premium ที่เพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันสูงขึ้นเฉลี่ย 35% และสูงกว่าค่าเฉลี่ยของ Risk premiumในอดีตที่ 8% ในช่วงปี 2008-2021ที่ผ่านมา
ในช่วงที่เคยเกิดเหตุความรุนแรงในลิเบียทำให้ปริมาณน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับลดลงประมาณ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
"ราคาน้ำมัน" นั้นมักถูกกระทบจากปริมาณน้ำมันที่ลดลงหรืออาจเกิดจากภาวะ Demand shocks โดยเหตุการณ์ในอดีตที่กระทบด้านปริมาณน้ำมันดิบที่ผ่านมาเช่น ความขัดแย้งในอิรักและคูเวต หรือวิกฤตในประเทศเวเนซูเอลา
แต่ในบางสถานการณ์ที่ไม่ได้กระทบต่อปริมาณน้ำมันดิบจริงอย่างเช่น สงครามระหว่างรัสเซียและจอเจียร์ ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันดิบมากนั้นในช่วงดังกล่าว แม้ว่าตลาดจะให้ Risk premium ที่สูงขึ้นแต่ก็เป็นเพียงสถานการณ์ชั่วคราวตราบใดที่ปริมาณน้ำมันในระบบไม่ได้หายไปจริง
"นาวิน อินทรสมบัติ" รองกรรมการผู้จัดการ สายงานจัดการลงทุนต่างประเทศ บลจ.กสิกรไทย กล่าวว่า แม้ "ราคาน้ำมัน"จะมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับสูงนานกว่าที่ตลาดคาดการณ์ แต่ปัจจัยหนุนในระยะถัดไปมีน้อยลง โดยเฉพาะการที่ทลายประเทศทั่วโลก มีเป้าหมายในการลดคาร์บอนไดออกไชด์และแก้ปัญหาโลกร้อนที่จริงจัง เป็นโอกาสดีสำหรับการลงทุนในธุรกิจพลังงานทางเลือก ที่มีโอกาสเติบโตได้มากกว่า และสอดคล้องกับเมกะเทรนด์ใหญ่ของโลกอย่าง ESG ที่คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
ขณะเดียงกัย แนวโน้มตลาดการลงทุนในไตรมาส 1 ที่ผ่านมานี้ "ตลาดหุ้นโลก" โดยรวมได้ปรับตัวลงสะท้อนประเด็นข่าวร้ายต่างๆไปมากแล้วทั้งเรื่องสงครามรัสเซียกับยูเครนและการแนวโน้มการดำเนินนโยบายที่ตึงตัวกว่าตลาดคาดของเฟด จึงเริ่มเห็นการฟื้นตัวในระยะสั้นที่ผ่านมา
หากมองในระยะถัดไป ความเสี่ยงหลักยังคงเป็นเรื่อง "ราคาพลังงาน" ที่ทำให้เงินเฟ้อลากยาว ทำให้อัตราเงินเฟ้อจะยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง และท้ายที่สุดจะส่งผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลก และโดยรวมความผันผวนในระยะสั้นยังมีสูง แต่จากเศรษฐกิจโลกที่ยังมีทิศทางเติบโต ดังนั้น "หุ้น" จะฟื้นตัวได้ตามปัจจัยพื้นฐานที่แตกต่างไปในแต่ละภูมิภาค ราคาที่ปรับตัวลงมาค่อนข้างมากในช่วงที่ผ่านมา จึงเป็นระดับที่น่าทยอยสะสมสำหรับการลงทุนระยะยาว