หมัดต่อหมัด DIF –JASIF คู่ปันผลสุดเร้าใจ
ดีลใหญ่ปลายปี 2564 ระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE ควบรวมบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC สามารถผ่านความเห็นชอบจากผู้ถือหุ้นและเดินหน้าไปสู่การแลกหุ้นเพื่อจัดตั้งบริษัทใหม่ภายในปีนี้
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นโอกาสให้ทั้ง 2 โอปอเรทเตอร์ก้าวขึ้นไปแข่งขันกับเบอร์ 1 ในตลาดได้ทันที และยังรวมไปถึงการก้าวเข้าสู่การเป็นเทคคอมพานีอย่างเต็มตัว ตามแผนธุรกิจที่ทั้ง 2 บริษัทประกาศไว้ก่อนหน้านี้
นอกจากปัจจัยบวกดังกล่าวแล้วย่อมปฎิเสธไม่ได้ว่าโอกาสการเพิ่มศักยภาพด้านทุน ทั้ง 2 บริษัทตามมาโดยเฉพาะการ เพิ่มโอกาสขายสินทรัพย์เข้ากองทุนโครงสร้างพื้นที่ที่ TRUE มีอยู่แล้ว และถือว่าเป็นกองทุนที่สร้างผลตอบแทนในด้านอัตราการจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอมาตลอด
กองทุนโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ดิจิทัล หรือ DIF ซึ่งมี TRUE เป็นผู้ถือหน่วยรายใหญ่และมีเจ้าสัวน้อย “ศุภชัย เจียรวนนท์” เป็นผู้คุมบังเหียนได้พลิกสถานกาณณ์ให้กองทุน DIF ในระยะหลังพลิกกลับมาเป็นกำไร และอีกด้านยังสามารถจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นได้อีกด้วย
ปี 2561 -2562 TRUE มีการทยอยขายสินทรัพย์เข้ากองทุนดังกล่าวจำนวนที่สูง โดยในปี 2561 ได้มีการขายสินทรัพยเข้ากองทุนมูลค่า 56,000 ล้านบาท จนทำให้ในปีนั้น TRUE มีกำไรพิเศษและมีผลต่อกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 7,000 ล้านบาท ที่สำคัญ TRUE และประกาศจ่ายปันผลเป็นครั้งแรก
ถัดมาปี 2562 ช่วงเดือนส.ค. TRUE ขายสินทรัพย์เข้ากองทุนเป็นครั้งที่ 4 มูลค่า 15,676 ล้านบาท ซึ่งทาง DIF ได้ใช้วิธีการเพิ่มทุน 10,500 ล้านบาท ด้วยการออกหุ้นเพิ่มทุนใหม่ 1,050 ล้านหน่วย เสนอขายหุ้นเพิ่มทุนในอัตรา 9.4 หน่วยลงทุนเดิมต่อ 1 หน่วยลงทุนใหม่ เพื่อเตรียมเข้าลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเพิ่มเติมครั้งที่4
และปี 2563 เกิดปรากฎการณ์ TRUE ขายหน่วยลงทุน DIF 2 ครั้ง มูลค่าถึง 8,000 ล้านบาทราคา 13.50 -14.70 บาท ลดสัดส่วนถือหน่วยลงทุนเหลือ 23.38 % จากเดิม 28.11 % ท่ามกลางกระแสข่าวการขายสินทรัพย์เข้ากองทุนถึงทางตันจากการเร่งขายสินทรัพย์เข้ากองทุน DIF ติดกันๆ เพื่อหนุนราคาหุ้นและปันผล
ดังนั้นหาก DTAC เข้ามาเป็นพันธมิตรที่แนบแน่โอกาสการขายสินทรัพย์เข้ากองทุน ด้วยเสาสัญญาณที่ DTAC มีประมาณ 12,750 สถานีฐาน สำหรับคลื่น 700 MHz และ 21,300 สถานีฐานในคลื่น 4G-2300 MHz ด้วยจำนวนผู้ใช้บริการเกือบ 20 ล้านราย มีโอกาสสูงที่จะขายสินทรัพย์เข้ากองทุน DIF ในอนาคต
กองทุนโครงสร้างพื้นฐานที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันและมีประเด็นน่าสนใจ กองทุนโครงสร้างพื้นฐานบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ต (JASIF) ของฝั่งบริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ JAS ซึ่งมีผู้ถือหุ้นใหญ่ “ พิชญ์ โพธารามิก ” เจ้าพ่อสุดเซอร์ไพรส์คุมธุรกิจ
ด้านหนึ่งหาก TRUE มีคู่แข่งด้านโอปอเรทเตอร์สำคัญคือ มีบริษัท แอดวานซ์ อินโฟเซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC แล้ว ธุรกิจหลักอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ แข่งขันไม่แพ้กัน จากอันดับ 1 คือ TRUE และอันดับ 2 คือ 3BB ของ JAS หากแต่ ADVANC ขยับเข้ามามีส่วนแบ่งในตลาดนี้เช่นกัน
สำหรับ JASIF แล้วถือว่ามีความโดดด่นในการให้เงินปันผลสูงตั้งแต่รอบปี 2560 -2564 ด้วยการเร่งขายสินทรัพย์เข้ากองทุนและรีดจ่ายปันผลอย่างหนักส่งผลทำให้อัตราการจ่ายเงินปันผลของ JAS เฉลี่ย 10 % มาตลอด และงวดปันผลงวดปี 2564 คิดเป็นอัตราปันผล 9.61 % เรียกได้ว่าติดอันดับต้นๆกองทุนที่จ่ายปันผลที่สูงต่อเนื่องอีกกอง
มุมมองแนะนำลงทุน บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) มีแนวโนมเป็นบวกหลงจากที่ผ่านช่วงสถานการณ์ COVID19 เลวร้ายที่สุดในประเทศไทยไปแล้ว ซึ่งน่าจะทำให้กองทุนส่วนใหญ่ฟื้นตัวได้ตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2564 เพราะได้ อานิสงส์จากการที่มีการผ่อนคลายข้อจำกัดทางธูรกิจ และภาวะของธุรกิจดีขึ้น
จากผลประกอบการประกาศออกมา ส่วนใหญ่มีผลประกอบการดีขึ้น ( QoQ )ในไตรมาส 4ปี 2564 โดยประเด็นสำคัญ สำหรับ JASIF มีอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลอยู่ในระดับสูง กำไรสุทธิ Jasmine Broadband Internet Infrastructure Fund (JASIF.BK/JASIF TB) อยู่ที่ 2.50 พันล้านบาท (-3.8% YoY, +49.5% QoQ) โดยกองทุนประกาศจ่ายเงินปันผลงวด ไตรมาส 4 ที่ 0.25 บาท/หน่วย ทำให้อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลอยู่ที่ 8.6%
ขณะที่ DIF ยังคงจ่ายปันผลไตรมาสละ 0.26 บาท/หน่วย กำไรสุทธิ Digital Telecommunications Infrastructure Fund (DIF.BK/DIF TB) อยู่ที่ 4.04 พันล้านบาท (-17.7% YoY, +37.3% QoQ) โดยกองทุนประกาศจ่ายเงินปันผล ที่ 0.26 บาท/ หน่วย ทำให้อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลปีอยู่ที่ 7.4%