Fed ชี้ภาวะ "Inverted Yield Curve" ไม่น่ากังวล เศรษฐกิจยังคงห่างไกล "Recession"
การปรับเพิ่มดอกเบี้ยนโยบายช่วงเดือน มี.ค. และท่าทีเข้มงวดของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) จากวิกฤติโควิด และสถานการณ์ยูเครน-รัสเซีย ส่งผลให้เกิดภาวะ Inverted Yield Curved สร้างกังวลว่าเศรษฐกิจอาจเข้าสู่ภาวะถดถอย แต่นักวิเคราะห์คาดการณ์ เศรษฐกิจยังคงห่างไกลภาวะ Recession
ภาวะ Inverted Yield Curve กับโอกาสในการเกิด Economic Recession
จากการอัดฉีดเงินเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูกิจกรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมทั้งสถานการณ์ความไม่สงบระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลทำให้ปัญหา เงินเฟ้อ ในสหรัฐฯ อยู่ในระดับสูง ซึ่งทำให้ให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) อาจจำเป็นที่จะต้องปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอีกหลายครั้งในปีนี้ เพื่อรักษาสเถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ
การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ทำให้ตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในเดือนที่ผ่านมา ก่อให้เกิดภาวะ Inverted Yield Curve ซึ่งเป็นภาวะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้น (2ปี) อยู่ในระดับที่สูงกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาว (10ปี) ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจอาจเข้าสู่ ภาวะถดถอย (Recession) ได้ในอนาคต
โอกาสในการเกิด Economic Recession
ที่มา : Ksecurities data as of 1 April 2022
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ในตลาดมองว่าโอกาสที่เศรษฐกิจสหรัฐฯจะเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) ยังอยู่ในระดับต่ำ และจากเก็บรวบรวมข้อมูลของ Goldman Sachs ตั้งแต่ ปี 1965 พบว่าหลังเกิดภาวะ Inverted Yield Curve แล้ว เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) โดยมีระยะเวลาเฉลี่ย 20 เดือน และ S&P 500 Return ยังคงเป็นบวกหรือตลาดยังคงสามารถปรับตัวขึ้นได้
ระยะเวลาเฉลี่ยการเกิด Recession หลังเกิดภาวะ Inverted Yield Curve
ที่มา : TISCO Economic Strategy Unit
Fed ออกโรงเตือนว่า ภาวะ Inverted Yield Curve ไม่สามารถที่จะใช้คาดการณ์เศรษฐกิจหรือเชื่อถือได้เหมือนในอดีต
Fed ได้ออกมาเตือนว่าการพิจารณาส่วนต่าง yield พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10/2 ปี (2s/10s spread)นั้น ไม่สามารถที่จะใช้คาดการณ์เศรษฐกิจหรือเชื่อถือได้เหมือนในอดีต ซึ่งได้แนะนำให้นักลงทุนหันมาพิจารณา Near-term forward spread ในการติดตามเศรษฐกิจแทน ซึ่งเป็นสัญญาณคาดการณ์ของตราสารหนี้ล่วงหน้าไป 18 เดือน – ตราสารหนี้ อายุ 3 เดือน ถ้าหาก Near-term forward spread มีค่าติบลบ จะเป็นการคาดการณ์ว่าหลังจากนี้ เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) แต่ในครั้งล่าสุดนี้ Near-term forward spread ยังคงมีค่าเป็นบวก ซึ่งหมายความว่าเศรษฐกิจจะยังไม่เกิดการเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) สอดคล้องกับกราฟรูปที่ 1 ที่แสดงให้เห็นว่า นักวิเคราะห์ในตลาดคาดการณ์ว่าโอกาสที่จะเกิด Recession ยังอยู่ในระดับต่ำ
Near-term forward spread curve ที่ Fed ใช้ในการติดตามคาดการณ์ตลาด
ที่มา : Bloomberg
ตลาดหุ้นยังคงน่าสนใจ หุ้นกลุ่ม Tech สร้างผลตอบแทนได้ดีในช่วงนโยบายการเงินเข้มงวด
TISCO ESU ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลในอดีตและวัดผลตอบแทนเฉลี่ยต่อเดือน (Average Monthly Return) ของแต่ละ sector ในดัชนี S&P500 โดยเปรียบเทียบในแต่ละช่วงวัฏจักรเศรษฐกิจในอดีตที่เคยเกิดขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าหุ้นกลุ่ม Tech คือกลุ่มหุ้นที่มีผลตอบแทนเฉลี่ยต่อเดือน (Average Monthly Return) ชนะตลาดในทุกช่วงของวัฏจักรเศรษฐกิจ หรือกล่าวได้ว่า หุ้นกลุ่ม Tech จะมีสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่าดัชนี S&P 500 โดยช่วง Yield curve แบบ Bear Flattening (ช่วงวัฏจักรที่เรากำลังเผชิญอยู่) ที่สามารถสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยได้มากที่สุดที่ 2.2% ต่อเดือน และถ้าหากเศรษฐกิจเข้าสู่ช่วง Slowdown หรือช่วง Yield curve แบบ Bull Flattening สามารถสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยได้เท่ากับ 1.2% ซึ่งยังถือว่าเป็นผลตอบแทนที่มากกว่าดัชนี S&P 500
ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อเดือน(Average Monthly Return) ในแต่ช่วงวัฏจักรเศรษฐกิจ
ที่มา : TISCO Economic Strategy Unit
จากการปรับเพิ่มดอกเบี้ยนโยบายช่วงเดือน มี.ค. และ ท่าทีเข้มงวดของ Fed จนส่งผลให้เกิด ภาวะ Inverted Yield Curved ก็ยังคงไม่ใช่สิ่งที่จะการันตีได้ว่าเศรษฐกิจจะเกิด Recession (ภาวะถดถอย) ซึ่งจากการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์รวมถึงการใช้ Near-term forward spread curve ของ Fed ยังคงมองอัตราการเกิด Recession (ภาวะถดถอย) ยังอยู่ในระดับต่ำ และจากการรวบรวมข้อมูลผลตอบแทนเฉลี่ยต่อเดือน ( Average Monthly Return) ก็พอจะสรุปได้ว่าตลาดหุ้นโดยรวมยังคงดูน่าสนใจ โดยเฉพาะกลุ่ม Tech ที่ทำผลตอบแทนได้ดีกว่าตลาดในทุกๆวัฏจักรเศรษฐกิจ
ที่มา: Bloomberg, Ksecurities data as of 1 April 2022, Goldman sachs, TISCO Economic Strategy Unit
ข้อมูล บทความ บทวิเคราะห์และการคาดหมาย รวมทั้งการแสดงความคิดเห็นทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้ทำขึ้นบนพื้นฐานของแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุดที่ได้รับมาและพิจารณาแล้วเห็นว่า น่าเชื่อถือ แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความถูกต้อง ความสมบูรณ์ แท้จริงของข้อมูลดังกล่าว ความเห็นที่แสดงไว้ในรายงานฉบับนี้ได้มาจากการพิจารณาโดยเหมาะสมและรอบคอบแล้ว และอาจเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งล่วงหน้าแต่อย่างใด บทความ บทวิเคราะห์ และการคาดหมายทั้งหลายที่ปรากฏ อยู่ในรายงานฉบับนี้เป็นการนำไปใช้โดยผู้ใช้ยอมรับความเสี่ยงและเป็นดุลยพินิจของผู้ใช้แต่เพียงผู้เดียว
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บลจ.ทิสโก้ หรือ TISCO Contact Center โทร. 0 2633 6000 กด 4, 0 2080 6000 กด 4 และ www.tiscoasset.com หรือ แอปพลิเคชัน TISCO My Funds