Sideways Up ซื้อเก็งกำไร KBANK BLA SINGER

Sideways Up ซื้อเก็งกำไร KBANK BLA SINGER

คาดดัชนีฯ Sideways Up แนวต้าน 1,639 / 1,642 จุด แนวรับ 1,613 (EMA 25 / 200 วัน) / 1,605 จุด แนะนำ ซื้อเก็งกำไร KBANK BLA SINGER ทางเทคนิค จะเกิดรูปแบบ Bearish Divergence ซึ่งเป็นสัญญาณขาย

หากดัชนีฯ วันนี้ไม่สามารถวกกลับเป็นแนวโน้มขาขึ้นได้ หรือหากหลุดแนวรับสำคัญ 1,613 จุด (EMA 200 วัน) โมเมนตัมลบ คือ แรงขายสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลก หลังขาขึ้นดอกเบี้ยของเฟดอาจสูงกว่าคาดการณ์ และเพิ่มความเสี่ยงเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ไฮไลท์วันนี้ คือ มุมมองต่อนโยบายการเงินของประธานเฟด สาขานิวยอร์ก Williams (มีสิทธิ์โหวต) และรายงานการต้องการจ้างงาน (Jolt’s Job Opening) เดือน ก.ค. ซึ่งอาจเป็นโมเมนตัมบวกต่อการรีบาวนด์ หากส่งสัญญาณไม่เร่งปรับขึ้นดอกเบี้ย เพื่อสกัดเงินเฟ้อ

 

กลยุทธ์การลงทุน แนะนำ

+ KTX Portfolio: พอร์ต Big Cap แนะนำ GULF CRC AWC JMART TCAP JMT CENTEL BEM AOT WHA KKP CPN MINT KTB TTB BDMS FORTH พอร์ต Mid-Small Cap แนะนำ KSL RS TWPC SAT TMT PORT TK (ซื้อ NYT)

+ Daily Recommendations: KBANK BLA (รับ Bond Yield ปรับตัวสูงขึ้น หลังจากถ้อยแถลงของเฟดมีท่าที Hawkish กว่าที่คาด) SINGER (ปัจจัยบวกจากการที่ JMART เข้าถือหุ้น BRR ทำให้บริษัทฯ เข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ หนุนการเติบของรายได้ในระยะยาว)

+ หุ้นที่ได้ประโยชน์จากการปรับสูงขึ้นของ Bond Yield: KBANK TTB BLA TIPH

+ หุ้นกลุ่มได้ประโยชน์จากการอ่อนค่าของเงินบาท: TFG ASIAN BH BDMS

+ หุ้นกลุ่ม Smart Phone รับอานิสงส์งานเปิดตัว iPhone 14: COM7 CPW SPVI JMART SIS SYNEX

+ หุ้นกลุ่มพลังงานต้นน้ำและโรงกลั่นน้ำมัน: PTTEP ESSO SPRC TOP BCP

 

ปัจจัยบวก

+ Oil: ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง หลังจาก OPEC+ ส่งสัญญาณปรับลดกำลังการผลิตน้ำมัน หากอิหร่านกลับมาส่งออกน้ำมันดิบ หลังจากบรรลุข้อตกลงนิวเคลียร์ (+หุ้นกลุ่มโรงกลั่นน้ำมัน)

 

ปัจจัยลบ

- FED: ตลาดหุ้นโลกยังคงได้รับแรงกดดัน จากความกังวลว่าเฟดจะเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อิงยิลด์ Bond Yield สหรัฐฯ ยังคงปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยลบต่อหุ้นกลุ่ม Growth Stock

 

 

- ค่าเงินบาท: เงินบาทกลับมาอ่อนค่าอย่างรวดเร็ว หลังจากประธานเฟดเน้นย้ำการปรับขึ้นดอกเบี้ย เพื่อสกัดเงินเฟ้อ ทำให้ระยะสั้นมีความเสี่ยงที่จะเกิดการขายสุทธิของ นักลงทุนต่างชาติ เพื่อหลีกเลี่ยง FX Loss

 

ประเด็นสำคัญ

- Opportunity Day: GFPT NCH DMT SA CRC AH SCM

- USA: ตัวเลข JOLT’s Job Opening เดือน ก.ค. (Vs เดือน มิ.ย. 10.698 ล้านตำแหน่ง) ราคาบ้านเดือน มิ.ย. (Vs เดือน พ.ค. +1.4% MoM)

- USA: สุนทรพจน์ Fed New York Williams (มีสิทธิ์โหวต)

 

Global Market Summary: วันทำการที่ผ่านมา

- ตลาดหุ้นไทยร่วงลงตามภูมิภาค: ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงไปต่ำสุดที่ 1,619.58 จุด -25.20 จุด ในช่วงเปิดตลาด ก่อนที่จะรีบาวนด์ในช่วงที่เหลือของการซื้อขายในลักษณะ Sideways Up กรอบ 1,621-1,634 จุด ก่อนปิดตลาดที่ 1,626.52 จุด -18.26 จุด -1.1% วอลุ่มซื้อขาย 7.1 หมื่นล้านบาท นำลงโดยกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ -6.47% ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ -1.76% พาณิชย์ -1.65% เงินทุนและหลักทรัพย์ -1.63% หุ้นบวก >4% TGE COLOR WAVE CRANE NETBAY TSR TCC SELIC TC 7UP หุ้นลบ >4% DELTA TIDLOR BE8 SDC ASN IIG BGT

- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และยุโรป ร่วงต่อเนื่อง: DJIA -0.57% S&P500 -0.67% NASDAQ -1.02% ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง กังวลการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด จะส่งผลกระทบต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจ นำลบโดยหุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยและกลุ่มเทคโนโลยี (Apple -1.37% Meta -1.6% Microsoft -1.07%) แต่ได้ แรงหนุนจากหุ้นกลุ่มพลังงานที่ปรับสูงขึ้นตามราคาน้ำมันดิบโลก ส่วนหุ้นยุโรปปิดต่ำสุดรอบเดือน CAC40 -0.83% DAX -0.61% นำลบโดยหุ้นกลุ่มเทคฯ -2.4% จากยิลด์พันธบัตร 10 ปี ของเยอรมนี แตะระดับสูงสุดรอบ 2 เดือน หลังผู้กำหนดนโยบาย ECB พร้อมใจส่งสัญญาณเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งใหญ่ในการประชุมเดือน ก.ย. (โอกาสปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.75% เพิ่มขึ้นเป็น 66% จาก 24% ในสัปดาห์ก่อนหน้า)

 

 

 

+/- ราคาน้ำมันปิดบวก ส่วนทองคำปิดลบ: WTI +USD3.95 ปิดที่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 29 ก.ค. ที่ USD97.01/บาร์เรล Brent +USD4.10 ปิดที่ USD105.09/บาร์เรล จากความเป็นไปได้ที่ผลประชุมกลุ่มโอเปคพลัสในวันที่ 5 ก.ย. อาจมีมติปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันและลิเบียอาจส่งออกน้ำมันดิบได้ลดลง จากความไม่สงบทางการเมืองในประเทศ ส่วนราคาทองคำลดลงเล็กน้อย -10 เซนต์ ปิดที่ USD1,749.70/ออนซ์ เนื่องจากยิลด์พันธบัตรสหรัฐฯ ปรับสูงขึ้น

 

ประเด็นสำคัญ

- USA: ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาดัลลัส เปิดเผยผลสำรวจระบุว่า ดัชนีชี้วัดกิจกรรมในภาคธุรกิจโดยรวมในรัฐเท็กซัสปรับตัวขึ้นสู่ระดับ -12.9 ในเดือน ส.ค. โดยสอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ จากระดับ -22.6 ในเดือน ก.ค. อย่างไรก็ดี ดัชนียังคงมีค่าเป็นลบ บ่งชี้ถึงภาวะหดตัวของภาคการผลิตในเท็กซัส ขณะที่หดตัวเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน โดยได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของคำสั่งซื้อใหม่และการจ้างงาน ขณะที่ภาคธุรกิจยังคงขาด ความเชื่อมั่นในช่วง 6 เดือนข้างหน้า

- UK: นักเศรษฐศาสตร์ของโกลด์แมน แซคส์ คาดการณ์เศรษฐกิจของอังกฤษจะเข้าสู่ภาวะถดถอยใน 4Q22 และจากนั้นคาดว่าจะหดตัวลงราว 0.6% ในปี 2023 เนื่องจากการพุ่งขึ้นของเงินเฟ้อ จะส่งผลกระทบต่อรายได้และการบริโภคในภาคครัวเรือน

- FED: นักลงทุนเพิ่มการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมกำหนดนโยบายการเงินในเดือน ก.ย. หลังนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด ให้คำมั่นว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป เพื่อสกัดเงินเฟ้อ โดยล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนักมากถึง 71.0% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% สู่ระดับ 3.00-3.25% ในการประชุมวันที่ 20-21 ก.ย. และให้น้ำหนักเพียง 29.0% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50%

- Thailand: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือน ก.ค. 2022 พบว่า เศรษฐกิจไทยในเดือน ก.ค. 2022 ได้ปัจจัยหนุนจากภาคการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้น จากจำนวนที่เพิ่มขึ้นทั้งนักท่องเที่ยวต่างชำติ และผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย ประกอบกับรายได้เกษตรกรขยายตัวต่อเนื่อง ช่วยหนุนการบริโภคภาคเอกชน อย่างไรก็ดี ยังต้องติดตามปัจจัยเรื่องความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ เนื่องจากอาจจะมีผลกระทบต่อการผลิต การส่งออก และทิศทางเศรษฐกิจโลกอย่างใกล้ชิด

แนะนำ Trading Buy (โดยมีจุดขายตัดขาดทุน 3%)

หุ้นแนะนำรายสัปดำห์: CPN COM7 CENTEL AOT

หุ้นแนะนำเก็งกำไร: KBANK BLA SINGER

Derivatives: แนะถือ Long S50U22 รอทำกำไรตามเป้า