ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ บนบริบทเศรษฐกิจโลกถดถอย

ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ บนบริบทเศรษฐกิจโลกถดถอย

สภาวะตลาดแรงงานในช่วงครึ่งปีแรกและอาจต่อเนื่องไปครึ่งปีหลัง จะมีการฟื้นตัวช้าและซ่อนอยู่ภายใต้ความเปราะบาง สะท้อนจากอัตราการว่างงานและว่างงานแฝงรวมกัน 1.36 ล้านคน สัดส่วน 3.43% ผู้ว่างงานถาวรเกินหนึ่งปีมีจำนวน 1.74 แสนคนเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้านี้ 28.34%

ตลาดแรงงานช่วงที่ผ่านมาฟื้นตัวได้ช้าสะท้อนจากข้อมูลสำนักงานสถิติสถิติแห่งชาติระบุว่า แรงงานประกันสังคม (ม.33) เดือน มิ.ย.2565 ถึงแม้จำนวนจะเพิ่มขึ้นแต่ตัวเลขยังลดน้อยหายไปจากช่วงก่อนโควิดระบาด 417,311 คน คิดเป็น 3.56%

สภาวะการจ้างงานครึ่งปีหลังเกี่ยวข้องกับศักยภาพและความพร้อมของสถานประกอบการ จากการสำรวจสมาชิกของสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (ECONTHAI) เพื่อทราบสถานะการจ้างงานประเภททักษะช่วงเดือน ก.ค.2565 พบว่า

 

ผู้ตอบแบบสำรวจระบุว่าการจ้างงานคงเดิม สัดส่วน 47.4% ในขณะที่การจ้างงานลดลงมีผู้ตอบสัดส่วน 36.8% และการจ้างงานเพิ่มขึ้นสัดส่วน 15.8% แสดงให้เห็นถึงความเปราะบางของเศรษฐกิจและมีผลต่อตลาดแรงงาน

วิกฤติเงินเฟ้อ” ที่เกิดขึ้นครั้งนี้เป็นวิกฤติระดับโลกโดยเงินเฟ้อทั่วไปเดือน มิ.ย.ถึง 7.66% ส่งผลทำให้รายได้แท้จริงของประชาชนและแรงงานหายไป 10.3% ทำให้ภาคแรงงานกดดันให้รัฐบาลปรับค่าจ้างอัตราสูงกว่าเงินเฟ้อและสูงเกินกว่าที่ผู้ประกอบการจะรับได้ โดยการพิจารณาของอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดเสร็จแล้ว 

หากเป็นไปตามไทม์ไลน์ดังกล่าว เดือน ส.ค.2565 น่าจะเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการไตรภาคีและเดือนก.ย.2565 และน่าจะเสร็จสิ้นและเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) และประกาศใช้ช้าสุดอาจเป็นวันที่ 1 ม.ค.2566 

และการพิจารณาประกาศใช้เร็วสุดไม่น่าจะเกินวันที่ 1 ต.ค.2565 สำหรับอัตราการปรับเท่าที่ทราบประมาณ 3-5% บางจังหวัดสูงกว่าเล็กน้อยและ บางจังหวัดไม่ปรับเลยก็มี

ในความเห็นส่วนบุคคลของผู้จัดทำรายงานเห็นว่าค่าจ้างขั้นต่ำปีนี้มีปัจจัยแทรกซ้อนมากมาย ขณะที่ภาคเศรษฐกิจจริงมีความอ่อนแอทำให้นายจ้างบางส่วนแทบอยู่ไม่ได้

การปรับค่าจ้างขั้นต่ำควรใช้ค่าเฉลี่ยอัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าปีนี้เฉลี่ยประมาณ 5.5% หรือสูงสุดไม่เกิน 6% หากอยากได้สูงกว่าเงินเฟ้อก็ควรกำหนดเป็นอัตราเปอร์เซ็นต์ที่จะเพิ่มจากอัตราเงินเฟ้อ

ขณะที่ทางองค์กรลูกจ้างส่วนใหญ่อยากได้วันละ 495 บาทเป็นอัตราเดียวทั่วประเทศ เท่าที่รับฟังในส่วนของผู้ประกอบการรวมถึงและองค์กรแรงงานบางส่วนเห็นว่าไทยมีบทเรียนในอดีตใช้อัตราจ้างเดียวกันทั่ว ประเทศทำให้การลงทุนไม่ลงไปในพื้นที่ห่างไกล แนวทางการปรับค่าจ้างจึงน่าจะออกไปในทิศทางไม่ใช้อัตราเดียวทั่วประเทศเพราะทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ นโยบายของรัฐบาลต้องการกระจายความเจริญและการ ลงทุนไปในพื้นที่ห่างไกลหากค่าจ้างใช้อัตราเดียวกันจะทำให้ประชากรย้ายไปทำงานในเมือง

ในโลกอาจมีเพียงไม่กี่ประเทศที่ใช้ค่าจ้างขั้นต่ำเท่ากัน ส่วนใหญ่เป็นประเทศเล็ก เช่น สิงคโปร์, บรูไน, ฮ่องกง เหตุผลค่าจ้างควรแตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่เพื่อให้เกิดการกระจายรายได้จากการลงทุนในจังหวัดที่ห่างไกลเพราะมีต้นทุนโลจิสติกส์ที่สูงกว่า 

หากอัตราเท่ากันการลงทุนจะกระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ซึ่งเป็นแหล่งตลาดหรือใกล้กับท่าเรือหลักของ ประเทศ เช่นจังหวัดชลบุรี ซึ่งอยู่ใน เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ค่าจ้างขั้นต่ำควรแตกต่างกันตามพื้นที่ห่างไกลจากศูนย์กลาง เช่น กทม.และปริมณฑลเป็นการจูงใจให้เกิดการกระจายการลงทุนในพื้นที่ซึ่งห่างไกลเพื่อลดแรงงานเข้ามาทำงานในเมืองใหญ่เป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตและแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ

บทสรุปของรายงานฉบับนี้ ชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจโลกเข้าสู่สภาวะความเสี่ยงและอยู่ในโหมดชะลอตัว เป็นผลจากวิกฤติระดับโลกที่เป็นวิกฤติซ้อนวิกฤติ หรือ Global Complication Crisis เศรษฐกิจไทยมีการ เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกในสัดส่วนที่สูงมาก ทำให้การฟื้นตัวทางด้านเศรษฐกิจและตลาดแรงงานในครึ่งปีหลังอยู่ในระดับทรงตัวไปจนถึงฟื้นตัวช้าๆ ขึ้นอยู่แต่ละเซกเตอร์ธุรกิจ

ขณะที่เศรษฐกิจในประเทศได้รับผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ทำให้รายได้ แท้จริงของแรงงานและประชาชนลดลง อีกทั้งยังขาดแรงกระตุ้นที่ชัดเจนส่งผลต่อกำลังซื้อซึ่งจะค่อยๆ ฟื้นตัว จากการเปิดพื้นที่เศรษฐกิจและนักท่องเที่ยวต่างชาติแต่จำนวนยังไม่มากทำให้การฟื้นตัวเป็นไปอย่างช้า 

รัฐบาลควรตั้งทีมเฉพาะกิจแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจเพื่อให้เป็นกลไกบูรณาการ ทั้งด้านนโยบาย หน่วยงานรัฐ เอกชนสถาบันการเงินเพื่อการแก้ปัญหาและรับมือวิกฤตเศรษฐกิจแบบเบ็ดเสร็จ โดยรัฐบาลต้องสนับสนุนอย่า แก้ปัญหาเชิงการเมืองและอย่านำค่าจ้างแบบประชานิยมจะทำให้เศรษฐกิจทรุดตัวมากกว่าเดิมและมีความ ซับซ้อนเพิ่มมากขึ้นในการแก้ปัญหา