จับตาศึกใน 2 บิ๊ก เคลียร์เก้าอี้คุมทัพ "OR"
ถือเป็นอีกกระแสที่ต้องจับตาการชิงตำแหน่งเก้าอี้ CEO ของบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ ที่มีการหารือกันหลายต่อหลายครั้งถึงตัวเต็ง จนเกิดกระแสว่าควรจะจัดให้มีการสรรหา CEO หรือไม่
OR ก่อตัวขึ้นจากการที่บอร์ดบริหาร บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ลงความเห็นในช่วงปลายปี 2558 ว่าควรแยกธุรกิจน้ำมันออกจากปตท. ซึ่งในฐานะของคู่ค้ามาตรา 7 ทุกบริษัทเป็นเอกชนหมด ในขณะที่ปตท.เป็นรัฐวิสาหกิจ จึงก่อให้เกิดโออาร์ขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับหน่วยธุรกิจที่มีการแข่งขันวันที่ 1ก.ค. 2561 และยังครองมาเก็จแชร์อันดับ 1 ต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม OR มีรายได้จากการขายและบริการปี 2564 ที่ 511,799 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19.4% จากปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 11,474 ล้านบาท สูงขึ้นกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 2,683 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 30.5% ทั้งจากรายได้ขายและบริการ และ EBITDA ที่เพิ่มขึ้น
โดยปรับทิศทางในการดำเนินธุรกิจเพื่อการเติบโตของธุรกิจ พร้อมกับการเติบโตของผู้คนและสิ่งแวดล้อม จึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ใหม่คือ “เติมเต็มโอกาส เพื่อทุกการเติบโตร่วมกัน” หรือ “Empowering All Toward Inclusive Growth” และกำหนดพันธกิจใหม่เพื่อสร้างให้เกิดการเติบโตร่วมกันผ่านการดำเนินธุรกิจ 4 ด้าน คือ
1. การสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจพลังงานแบบผสมผสานเพื่อการเคลื่อนที่อย่างไร้รอยต่อ (Seamless Mobility)
2. การมุ่งมั่นสร้างทางเลือกสำหรับการดำเนินชีวิตแบบครบวงจรเพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตทุกรูปแบบ (All Lifestyles)
3. การขยายฐานธุรกิจเพื่อสร้างความสำเร็จและการยอมรับในตลาดโลก (Global Market) และ
4. การแก้ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อยกระดับสู่นวัตกรรมในแบบฉบับ OR (OR Innovation)
สำหรับผลงานที่ CEO โออาร์ "จิราพร ขาวสวัสดิ์" ภูมิใจ คือ
1. การเปลี่ยนคู่สัญญาทั้งพลักงาน 1.5 พันคน และคู่สัญญาทั้งของสถานีบริการน้ำมัน และโรงกลั่น ถือเป็นครั่งแรกของลูกค้าและพนักงานเปลี่ยนสถานภาพมาเป็นพนักงานโออาร์ ถือว่ามีความเชื่อใจในโออาร์
2. บนสถานการณ์ 11 ก.พ. 2564 เกิดโควิด-19 กระทบทั้งเศรษฐกิจและปัญหาปากท้อง โออาร์มีการเปิด IPO สำเร็จ
นอกจากนี้ โออาร์ได้วางกรอบงบประมาณลงทุน (ปี 2563-2573) ที่ 200,000 ล้านบาท โดยปี 2565 วางกรอบลงทุนไว้ที่ 96,000 ล้านบาท มีเป้าหมายเพื่อปรับสัดส่วนกำไร EBITDA จากปี 2264 ที่มีรายได้จากธุรกิจนอนออยล์ 18,000 เป็น 40,000 ล้านบาทภายในปี 2030 พร้อมกับปรับสัดส่วนรายได้ธุรกิจใหม่สู่พลังงานสะอาด จากเดิมที่มีกำไรมาจากธุรกิจน้ำมัน 75% เหลือ 31% และเพิ่มสัดส่วนรายได้ในธุรกิจค้าปลีกจาก 3% เป็น 50% และธุรกิจต่างประเทศเพิ่มเป็น 20%
สำหรับความท้าทายของการเปลี่ยนผ่านธุรกิจฟอสซิลสู่พลังงานสะอาดถือเป็นพันธกิจที่สำคัญของซีอีโอท่านใหม่ที่ต้องมารับไม้ต่อ ด้วยงบประมาณลงทุนที่วางไว้ และการเปลี่ยนผ่านพลังงานนี้บอร์ดบริหารอาจจะต้องคิดทบทวนและพิจารณาอย่างหนักแน่นถึงความสามารถและความเข้าใจในธุรกิจที่เพียงพอโดยเฉพาะคนในที่คลุกคลีอยู่กับวงการพลังงานมายาวนาน
จนเกิดการประชุมผู้บริหารทั้งเครือปตท. หลายนัดหลายวาระและเหลือตัวเลือกที่ดีที่สุด 2 คน แบบที่ว่ารักพี่แต่เสียดายน้อง จึงต้องให้ตำแหย่งทั้ง 2 คนไปในที่สุด โดยกระแสที่ออกมาของตำแหน่ง CEO ยืนหนึ่งคือ "ดิษทัต ปันยารชุน"
ตำแหน่งงานปัจจุบัน
- กรรมการบริหารความเสี่ยง บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่ 2563
- รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ปตท. ตั้งแต่ปี 2561
- กรรมการ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) 2561
- ประธานกรรมการ บริษัท ปตท. ค้าสากล จำกัด (PTTT) ตั้งแต่ปี 2555
ประสบการณ์ทำงาน
- ประธานกรรมการ บริษัท PTT International Trading DMCC ปี 2554-2561
- ผู้จัดการฝ่าย ปตท. ปฏิบัติงานในตำแหน่ง Managing Director บริษัท ปตท. ค้าสากล จำกัด ปี 2555-2558
- ผู้จัดการฝ่ายรักษาการผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่การค้าระหว่างประเทศ ปตท. ปี 2558-2559
- ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่การค้าระหว่างประเทศ ปตท. ปี 2559-2561
- ประธานกรรมการ บริษัท PTT International Trading London Ltd. ปี 2559-2564
- กรรมการกำกับดูแลกิจการ พีทีที โกลบอล เคมิคอล ปี 2561-2563
ประวัติการศึกษา
- ปริญญาตรี B.A. in Ed. (Social Science) มหาวิทยาลัยศิลปากร
- ปริญญาโท Master of Political Science (M.P.A.), National University, San Diego, USA
ขณะที่อีก 1 รายชื่อสำคัญคือ "สุชาติ ระมาศ" ถือเป็นอีกบุคคลที่มีความรู้และเชี่ยวชาญในธุรกิจของ OR เป็นอย่างดี เพราะรับตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ธุรกิจค้าปลีกของ OR ตั้งแต่ปี 2562-2564
ตำแหน่งงานปัจจุบัน
- กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริหารศักยภาพองค์กรและธรรมาภิบาล ปตท. ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2564
- กรรมการในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- กรรมการ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)
ประวัติการศึกษา
- ปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต วิศวกรรมเครื่องกล สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
- ปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการพัฒนาสังคม) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ทั้งนี้ จากการประชุมผู้บริหารหลายต่อหลายครั้ง ได้มีกระแสออกมาหนาหูถึงการจับวางตำแหน่งโดยจะให้ “ดิษทัต” ดำรงตำแหน่ง CEO ในขณะ “สุชาติ” ที่ให้ดำรงตำแหน่ง President ดังนั้น จึงต้องจับตาดูว่าบอร์ดบริหารจะมีกระบวนการสรรหาอย่างไรต่อไป เพราะเมื่อวันที่ 9 ก.ย. 2565 คณะกรรมการโออาร์ได้อนุมัติแต่งตั้งนายสุชาติ ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2565 เป็นต้นไป
ต้องยอมรับว่า OR ถือเป็นองค์กรที่เนื้อหอม สร้างรายได้ที่งดงามท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพลังงานประเทศ และพร้อมที่จะก้าวข้าวมาสู่ยุคใหม่กับการต่อยอดธุรกิจที่ CEO “จิราพร” วางไว้ถือเป็นทิศทางที่ชัดเจนที่จะสร้างความแข็งแกร่งให้กับองค์กรให้เติบโตและยั่งยืนได้ไปอีกนานแสนนาน
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 9 ก.ย. 2565 OR ได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประะเทศไทย ว่า นางสาวจิราพร ที่ได้แจ้งการลาออกจากการเป็นกรรมการรวมถึงคณะกรรมการชุดย่อยของบริษัท เนื่องจากเกษียณอายุ โดยให้การลาออกมีผลวันที่ 30 ก.ย. 2565โดย คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติแต่งตั้งนายวิศาล ชวลิตานนท์ ให้ดำรงตำแหน่งรักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหารแทนนางสาวจิราพร โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 30 ก.ย. 2565 เป็นต้นไป จนกว่าจะสิ้นสุดกระบวนการสรรหาบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งดังกล่าว