กรมประมงมอบปะการังเทียม 870 แท่ง ทะเลระยอง นครศรีธรรมราชการ

กรมประมงมอบปะการังเทียม 870 แท่ง ทะเลระยอง นครศรีธรรมราชการ

กรมประมง ส่งมอบปะการังเทียม 870 แท่ง แก่ชุมชนประมงระยอง นครศรีธรรมราช เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์ น้ำและระบบนิเวศ พร้อม หอยหวาน จำนวน 20,000 ตัว ปลากะพง จำนวน 3,600 ตัว

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน 2565 ณ สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำระยอง ตำบลเพ อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง กรมประมงจัดพิธีส่งมอบปะการังเทียม จำนวน 870 แท่ง ให้กับผู้แทนชุมชนประมงหาดแม่รำพึงจังหวัดระยอง และชุมชนประมงบ้านหน้าศาลเหนือ จังหวัดนครศรีธรรมราช ภายใต้โครงการอนุรักษ์ แนวปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทยในพระดำริสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา และร่วมกันปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ได้แก่

 

กรมประมงมอบปะการังเทียม 870 แท่ง ทะเลระยอง นครศรีธรรมราชการ กรมประมงมอบปะการังเทียม 870 แท่ง ทะเลระยอง นครศรีธรรมราชการ กรมประมงมอบปะการังเทียม 870 แท่ง ทะเลระยอง นครศรีธรรมราชการ

หอยหวาน จำนวน 20,000 ตัว ปลากะพง จำนวน 3,600 ตัว ลงสู่ทะเลระยอง เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำให้คงความอุดมสมบูรณ์ นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการจัดแสดงนิทรรศการความรู้มากมาย อาทิ นิทรรศการโครงการอนุรักษ์แนวปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทยในพระดำริฯ  นิทรรศการแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล (ปะการังเทียม) เพื่อให้ชาวประมงมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปะการังเทียมเพื่อบริหารจัดการประมงที่ยั่งยืน และนิทรรศการเพื่อการรณรงค์ลดขยะทะเลจากภาคการประมง

โดยมี นายบัญชา สุขแก้ว  รองอธิบดีกรมประมง  พล.ร.ต.ขวัญชัย  อินกว่าง  รองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 ผู้แทนเจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารเรือ ผู้แทนผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง  ผู้แทนกรมาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ผู้แทนกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และคณะกรรมการโครงการฯ และมูลนิธิอนุรักษ์แนวปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทย ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และพี่น้องชาวประมงในพื้นที่ร่วมงานเพื่อเป็นสักขีพยานกว่า 130 คน

          นายบัญชา สุขแก้ว  รองอธิบดีกรมประมง  กล่าวว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงมีพระดำริที่จะอนุรักษ์แนวปะการัง กัลปังหา และสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทย โดยทรงห่วงใยปัญหาเรื่องความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติใต้ทะเล กองทัพเรือจึงได้ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ จัดทำโครงการ “อนุรักษ์แนวปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทย” ในพระดำริฯ ของพระองค์ท่านขึ้นมา และได้มีการจัดทำโครงการ แผนงาน และกิจกรรมต่าง ๆ ที่สามารถสนองพระดำริฯ ได้อย่างเป็นรูปธรรม  

กรมประมง ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจในการดูแลรักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงอย่างยั่งยืนและมีการจัดสร้างปะการังเทียมอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2530 จึงได้มีการจัดทำแผนการจัดสร้างปะการังเทียมตั้งแต่ปี 2560 – 2565 จำนวน 5,976 แท่ง ในพื้นที่ 9 แหล่ง 7 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี ตรัง สุราษฎร์ธานี กระบี่ สตูล ระยอง และนครศรีธรรมราช ภายใต้โครงการฯ ดังกล่าว

 

สำหรับการจัดวางปะการังเทียมในวันนี้ ใช้วัสดุแท่งคอนกรีตขนาด 1.5 x 1.5 x 1.5 เมตร นำไปจัดวางเพื่อให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเล ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำตามแนวชายฝั่งทะเลให้มีความอุดมสมบูรณ์ จำนวน 2 แหล่ง 2 จังหวัด  ได้แก่

แหล่งที่ 1 : พื้นที่หาดแม่รำพึง ตำบลตะพง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง จำนวน 430 แท่ง และ แหล่งที่ 2 : พื้นที่บ้านหน้าศาลเหนือ ตำบลหน้าสตน อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 440 แท่ง ซึ่งรวมแล้วมีการจัดสร้างปะการังเทียมทั้งหมด 870 แท่ง เป็นการสนับสนุนให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิต ในทะเลและสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากทรัพยารกรธรรมชาติทางทะเลให้มีความสมดุลและยั่งยืน

ตามโครงการอนุรักษ์แนวปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทยในพระดำริสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา และเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เนื่องในวันคล้ายวันประสูติครบ 36 พรรษา 8 มกราคม 2566
          ทั้งนี้ จากการที่กรมประมงมีการจัดสร้างปะการังเทียมมาอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 35 ปี ที่ผ่านมา กรมประมงมีการจัดวางปะการังเทียมในพื้นที่ชายฝั่งทะเลทั่วประเทศ จำนวนกว่า 609 แหล่ง ผลการประเมินพบว่ามีสัตว์น้ำเข้ามาอยู่อาศัย เป็นแหล่งหลบภัย หาอาหาร และเพิ่มจำนวนสัตว์น้ำในธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์น้ำหน้าดินหรือสัตว์น้ำชนิดเกาะติดขนาดใหญ่บนผิวปะการังเทียม เช่น ปลาเก๋า ปลากะพง ปลาอินทรี  เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังพบปลา ปู กุ้ง กั้ง หมึก และอื่น ๆ เพิ่มขึ้นและมีความหลากหลายของทรัพยากรสัตว์น้ำมากขึ้น จึงส่งผลให้เป็นแหล่งทำการประมงบริเวณชายฝั่งของชาวประมงพื้นบ้านที่มีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น ชุมชนประมงมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการทำประมงพื้นบ้าน สามารถยกระดับความเป็นอยู่ของพี่น้องชาวประมงให้ดีขึ้น จึงเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่าการฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำด้วยการจัดวางปะการังเทียมนั้นมีความเหมาะสม