กยท. เคาะ ประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะ4 อีก 1.6 หมื่นล้านบาท
ราคาสินค้าเกษตรที่มีความผันผวน ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้ไม่แน่นอน รัฐบาลจึงดำเนินโครงการประกันรายได้ มาตั้งแต่ปี 2562 โดยเลือกปฏิบัติในพืช 5 ชนิด คือ ข้าว ยางพารา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมันและมันสำปะหลัง ซึ่งเป็นการจ่ายส่วนต่างของราคาประกันและราคาตลาด
ในส่วนของยางพารา การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ได้ดำเนินโครงการมาแล้ว 3 ระยะ วงเงินรวม 33,945.52 และอยู่ระหว่างจะเสนอประกันรายได้ในระยะที่ 4 ทั้งนี้เพื่อสร้างความมั่นใจในการดำรงอาชีพของเกษตรกรชาวสวนยาง
นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กล่าวว่า ในช่วงที่เกิดการระบาดของโควิด 19 นั้นปริมาณการใช้ยางพาราเพิ่มขึ้นทวีคูณ ทำให้ราคาที่เกษตรกรได้รับปรับขึ้นตามไปด้วย ปัจจุบันที่เงินบาทอ่อนค่า ยิ่งเป็นปัจจัยบวกต่อการส่งออกยางพาราให้เพิ่มขึ้น
แต่การส่งออกยางพารายังมีปัจจัยลบที่เป็นปัญหาและส่งผลให้ราคาที่เกษตรกรได้รับมีความผันผวน เนื่องจาก ผู้ประกอบการที่สั่งซื้อยางพาราก่อนหน้านี้จำนวนมาก ตัดสินใจทิ้งออเดอร์ซื้อล่วงหน้า โดยยอมเสียค่าปรับ เพราะความต้องการในตลาดปลายทางลดลง เป็นผลมาจากยอดขายรถยนต์ทั่วโลกลดลง โดยเฉพาะจีน ที่ยอดขายในเดือนพ.ค.2565 ลดลง 12.6% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนเพื่อ
ทำให้ราคายางพาราปัจจุบันปรับตัวลดลง 23% จากปลายไตรมาส 2( 30 มิ.ย.2565 )โดยราคายางแผ่นดิบรมควัน ชั้น 3 ราคา 48.58 บาท/กิโลกรัม(กก.) น้ำยางสด ราคา 45.50 บาท/กก. ลดลงจากราคา 59.78 บาท/กก.
“ กยท. อยู่ระหว่างเตรียมข้อมูล เพื่อเสนอให้เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.)พิจารณา ดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวน เฟส 4 ระยะเวลาดำเนินโครงการ 6 เดือน คาดว่าจะใช้งบดำเนินการทั้งสิ้น 1.6 หมื่นล้านบาท เป็นรองรับและจะสามารถเข้าไปช่วยเหลือเกษตรกรได้ทันทีกรณีหากมีปัญหาเกิดขึ้น”
โดยเกณฑ์การชดเชยยางพาราต้องมีอายุ 7 ปีขึ้นไป เปิดกรีดแล้ว ชดเชยให้รายละไม่เกิน 25 ไร่ เวลาประกันเป็นระยะเวลา 6 เดือน ราคายางแผ่นดิบคุณภาพดีประกันที่ ราคา 60 บาท/กก. น้ำยางสด (DRC 100%) ราคาประกัน 57 บาท/กก. ยางก้อนถ้วย (DRC 50%) ราคาประกัน 23 บาท/กก. แบ่งสัดส่วนรายได้เจ้าระหว่างเจ้าของสวนและคนกรีด สัดส่วน 60% ต่อ 40% ของรายได้ทั้งหมด
สำหรับโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวน ที่ผ่านมาดำเนินการมาแล้ว 3 ระยะ(เฟส) ใช้เงินรวมทั้งสิ้น รวม 33,945.52 ล้านบาท แบ่งเป็น
โครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวน เฟส 1 ดำเนินการเมื่อ 1 ต.ค.2562-มี.ค.2563 โครงการของบประมาณ 26,682.76 ล้านบาท งบที่ใช้จริง 24,172.44 ล้านบาท
ชนิดยาง |
รายได้จากการขายยาง |
รับจากโครงการฯ |
รวม |
ยางแผ่นดิบ |
118,860 |
61,040 |
179,900 |
น้ำยางสด (DRC 100%) |
115,400 |
55,600 |
171,000 |
ยางก้อนถ้วย (DRC 50%) |
97,080 |
40,920 |
138,000 |
โครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวน เฟส 2 ดำเนินการเมื่อ 1 ต.ค.2563-มี.ค.2564 โครงการของบประมาณ 10,042.82 ล้านบาท งบที่ใช้จริง 7,453.49 ล้านบาท
ชนิดยาง |
รายได้จากการขายยาง |
รับจากโครงการฯ |
รวม |
ยางแผ่นดิบ |
178,825 |
3,610 |
182,435 |
น้ำยางสด (DRC 100%) |
159,900 |
14,770 |
174,670 |
ยางก้อนถ้วย (DRC 50%) |
125,340 |
13,500 |
138,840 |
โครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวน เฟส 3 ดำเนินการเมื่อ 1 ต.ค.2564-มี.ค.2565 โครงการของบประมาณ 10,065.688 ล้านบาท งบที่ใช้จริง 2,319.59 ล้านบาท
ชดเชยรอบเดือนตุลาคม 2564 รวมจ่าย 709.103 ล้านบาท
ชนิดยาง |
ราคายางประกัน (บาท/กก.) |
ราคากลางอ้างอิง (บาท/กก.) |
ส่วนต่าง |
เงินค่าประกันสูงสุดต่อราย |
ยางแผ่นดิบ |
60 |
52.33 |
7.67 |
3,835 |
น้ำยางสด |
57 |
51.05 |
5.95 |
2,975 |
ยางก้อนถ้วย |
23 |
24.16 |
ราคายางสูงกว่าราคาประกันรายได้ |
ชดเชยรอบเดือนพฤศจิกายน 2564 รวมจ่าย 679.582 ล้านบาท
ชนิดยาง |
ราคายางประกัน (บาท/กก.) |
ราคากลางอ้างอิง (บาท/กก.) |
ส่วนต่าง |
เงินค่าประกันสูงสุดต่อราย |
ยางแผ่นดิบ |
60 |
54.85 |
5.15 |
2,575 |
น้ำยางสด |
57 |
51.03 |
5.97 |
2,985 |
ยางก้อนถ้วย |
23 |
23.18 |
ราคายางสูงกว่าราคาประกันรายได้ |
ชดเชยรอบเดือนธันวาคม 2564 รวมจ่าย 539.27 ล้านบาท
ชนิดยาง |
ราคายางประกัน (บาท/กก.) |
ราคากลางอ้างอิง (บาท/กก.) |
ส่วนต่าง |
เงินค่าประกันสูงสุดต่อราย |
ยางแผ่นดิบ |
60 |
54.96 |
5.04 |
2,520 |
น้ำยางสด |
57 |
52.64 |
3.36 |
1,680 |
ยางก้อนถ้วย |
23 |
23.53 |
ราคายางสูงกว่าราคาประกันรายได้ |
ชดเชยรอบเดือนมกราคม 2565 รวมจ่าย 484.106 ล้านบาท
ชนิดยาง |
ราคายางประกัน (บาท/กก.) |
ราคากลางอ้างอิง (บาท/กก.) |
ส่วนต่าง |
เงินค่าประกันสูงสุดต่อราย |
ยางแผ่นดิบ |
60 |
54.15 |
5.85 |
3,833.50 |
น้ำยางสด |
57 |
53.64 |
3.36 |
2,975.22 |
ยางก้อนถ้วย |
23 |
23.53 |
ราคายางสูงกว่าราคาประกันรายได้ |
ชดเชยรอบเดือนกุมภาพันธ์ 2565
ชนิดยาง |
ราคายางประกัน (บาท/กก.) |
ราคากลางอ้างอิง (บาท/กก.) |
ส่วนต่าง |
เงินค่าประกันสูงสุดต่อราย |
ยางแผ่นดิบ |
60 |
60.58 |
ราคายางสูงกว่าราคาประกันรายได้ |
|
น้ำยางสด |
57 |
61.08 |
ราคายางสูงกว่าราคาประกันรายได้ |
|
ยางก้อนถ้วย |
23 |
26.52 |
ราคายางสูงกว่าราคาประกันรายได้ |
ชดเชยรอบเดือนมีนาคม 2565
ชนิดยาง |
ราคายางประกัน (บาท/กก.) |
ราคากลางอ้างอิง (บาท/กก.) |
ส่วนต่าง |
เงินค่าประกันสูงสุดต่อราย |
ยางแผ่นดิบ |
60 |
64.16 |
ราคายางสูงกว่าราคาประกันรายได้ |
|
น้ำยางสด |
57 |
66.20 |
ราคายางสูงกว่าราคาประกันรายได้ |
|
ยางก้อนถ้วย |
23 |
24.90 |
ราคายางสูงกว่าราคาประกันรายได้ |