หนุนภาคเอกชนพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลตอบโจทย์นักท่องเที่ยว

หนุนภาคเอกชนพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลตอบโจทย์นักท่องเที่ยว

“ดีป้า” เดินหน้าต่อเนื่อง หนุนภาคเอกชนพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลตอบโจทย์นักท่องเที่ยว อนาคตหวัง Safe T Travel ดิจิทัลแพลตฟอร์มท่องเที่ยวสัญชาติไทย สร้างจุดแข็งประเทศไทยเป็นผู้นำด้านอาหารและการท่องเที่ยวในยุคชีวิตวิถีใหม่ (New Normal)

Safe T Travel แพลตฟอร์มท่องเที่ยวสัญชาติไทย ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า กับ บริษัท เซฟที ทราเวล จำกัด และ บริษัท คิวคิว (ประเทศไทย) จำกัด โดยอยู่ภายใต้โครงการดำเนินการจัดทำข้อมูลผู้ประกอบการและดำเนินกิจกรรม ส่งเสริมผู้ประกอบการธุรกิจอาหารและการท่องเที่ยว เพื่อประยุกต์ใช้แพลตฟอร์ม Digital Food Tourism สร้างโอกาสในยุค Post-COVID    

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า เปิดเผยว่า ดีป้า  ยังคงเดินหน้าอย่างต่อเนื่องในการ ส่งเสริมภาคเอกชนพัฒนา Safe T Travel (Multi Food Tourism Platform) ซึ่งจะเป็น แพลตฟอร์มท่องเที่ยวที่มีการผสมผสานเทคโนโลยีเอไอและบิ๊กดาต้ามาใช้ในการให้บริการข้อมูลแก่นักท่องเที่ยว

หนุนภาคเอกชนพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลตอบโจทย์นักท่องเที่ยว

ไม่ว่าจะเป็น โรงแรม ที่พัก (Accommodation) บริการยานพาหนะขนส่ง (Transportation) ร้านอาหาร (Restaurants) มัคคุเทศก์ท้องถิ่น (Local Guide) กิจกรรมสันทนาการ (Activities) ร้านสินค้าที่ระลึก และสถานที่ปลอดภัย (Self-care)     

ข่าวที่เกี่ยวข้อง: 

ส.อ.ท. จับมือ ดีป้า หนุนผู้ประกอบการดิจิทัล สู่ดิจิทัลทรานส์ฟอร์มทั้งระบบ

ยกระดับนักศึกษาสู่ ‘กำลังคนดิจิทัล’ ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมประเทศ

ก.ล.ต.ไฟเขียว 3 บริษัท ลุยธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล

ขยายโอกาสทางธุรกิจของพ่อค้าแม่ขาย ด้วย "เทคโนโลยีดิจิทัล"

 

Safe T Travel แพลตฟอร์มท่องเที่ยวสัญชาติไทย

ทั้งนี้ เทคโนโลยีเอไอและบิ๊กดาต้า ยังช่วยวิเคราะห์ความชอบและความต้องการของนักท่องเที่ยว ก่อนนำเสนอข้อมูลด้านการท่องเที่ยวแบบครบวงจรในรูปแบบดิจิทัลคอนเทนต์ซึ่งตอบโจทย์นักท่องเที่ยวเฉพาะบุคคลหรือกลุ่มคน โดยนักท่องเที่ยวสามารถจองและชำระค่าบริการผ่านแอปพลิเคชัน QueQ ได้เลย

โดย Safe T Travel แพลตฟอร์มท่องเที่ยวสัญชาติไทยนี้จะเป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการไทย ทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กรวมไปถึงรายย่อย เสริมความแข็งแกร่งให้ภาคธุรกิจและร่วมพลิกฟื้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยหลังโควิด-19 อีกด้วย

หนุนภาคเอกชนพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลตอบโจทย์นักท่องเที่ยว

ใน  3  ปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการร้านอาหารและผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวไทย ที่เรียกว่า ไมโครหรือสมอลไซต์ ต้องเผชิญปัญหาการระบาดของ โควิด-19 ทำให้มีรายได้ลดลง ความคิดริเริ่มของดีป้าเองกับผู้ประกอบการ ต่างมองว่าเราน่าจะมีการพัฒนาคอนเทนต์ที่อยู่บนโลกของดิจิทัล เพื่อให้นักท่องเที่ยวต่างประเทศ

แม้แต่นักท่องเที่ยวที่อยู่ในประเทศไทย ได้เข้าถึงและรับทราบถึงข้อมูลเหล่านั้น  ของผู้ประกอบการที่อยู่ในธุรกิจท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็น โรงแรม ร้านอาหาร  ขนาดกลาง ขนาดเล็ก จึงนำมาสู่การพัฒนาการพัฒนาแพลตฟอร์มท่องเที่ยวสัญชาติไทย

 

โอกาสของผู้ประกอบการท่องเที่ยว

ผู้ประกอบการจะได้รับการยกระดับทักษะ ไม่ว่าจะเป็นการ Upskill   รวมทั้งมีการยกระดับที่เรียกว่า Newskill  แปลงสินค้าอาหาร สถานที่พัก สถานที่ท่องเที่ยว เข้ามาอยู่ในโลกดิจิทัล  คำว่า  Digital food Tourism  ไม่ได้มีแค่แพลตฟอร์มเดียว แต่จะเชื่อมโยงไปหาแพลตฟอร์มต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการพบลูกค้าที่ไม่ใช่แค่หนึ่งต่อหนึ่ง แต่เป็นหนึ่งต่อสิบล้านหรือยี่สิบล้าน

"นี่คือ โอกาสใหม่ที่เกิดขึ้นในโลกของดิจิทัล  สิ่งเหล่านี้จะทำให้โอกาสของผู้ประกอบการไทยได้เปิดประตูเข้าสู่ตลาดโลกด้วย นักท่องเที่ยวที่เข้ามาดูคอนเทนต์ร้านค้าหรือโรงแรมของเราจะทราบรายละเอียดที่ผู้ประกอบการใส่ลงไป นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยทีเดียว”  ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าว

หนุนภาคเอกชนพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลตอบโจทย์นักท่องเที่ยว

ดีป้า ชูท่องเที่ยวยุคชีวิตวิถีใหม่

ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวเพิ่มเติมว่า ดีป้า ตั้งเป้าให้ Safe T Travel ดิจิทัลแพลตฟอร์มด้านการท่องเที่ยวและอาหารของไทย สร้างจุดแข็งให้ประเทศไทยสามารถเป็นผู้นำด้านอาหารและการท่องเที่ยวในยุคชีวิตวิถีใหม่ New Normal อันจะขานรับกับนโยบายของรัฐด้านการผลักดันการท่องเที่ยวในประเทศ ที่ครอบคลุมการท่องเที่ยว-จอง-จ่าย ครบทุกบริการภายในแอพพลิเคชันเดียว

โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวแบบอิสระ (FIT) และกรุ๊ปทัวร์ขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นตลาดที่น่าสนใจและยังมีความสามารถในการเติบโตได้อีกมาก  และดิจิทัลแพลตฟอร์มดังกล่าว ยังเป็นช่องทางการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวของประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น อันจะก่อให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวในกลุ่มนักท่องเที่ยวใหม่ ๆ (First Visit)

หนุนภาคเอกชนพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลตอบโจทย์นักท่องเที่ยว

ถือเป็นการสร้างโอกาสในการกระจายตัวของนักท่องเที่ยวไปสู่พื้นที่รอง ซึ่งนับเป็นการเสริมสร้างประสบการณ์ทางการท่องเที่ยวใหม่ ๆ อย่างมีคุณค่า ทั้งยังก่อให้เกิดการกระจายรายได้ไปสู่ชุมชนต่าง ๆ ของประเทศไทยอีกด้วย

ฝากถึงผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ไม่ว่าจะเป็นขนาดขนาดกลาง รายเล็ก รายย่อย หรือแม้กระทั่งขนาดใหญ่ก็สามารถเข้ามาร่วมในแพลตฟอร์มนี้ได้เช่นกัน เรามาช่วยกันผลักดันเรื่องการท่องเที่ยวไทย เอาของดีของแต่ละพื้นที่มาโชว์บนแพลตฟอร์มของคนไทย  เรามาช่วยกันทำให้แพลตฟอร์มสัญชาติไทยเติบโตและสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก”ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าว