GDP & Inflation สิ่งสำคัญที่ทำให้ประเทศเติบโต | ปรมะ ตันเดชาวัฒน์
ถือว่าเป็นข่าวดีสำหรับประเทศไทยที่ได้รับข่าวดีจาก Japan Credit Rating Agency, Ltd. (JCR) โดยได้ปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศเป็น A จากเดิ่ม A- และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทยอยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook)
โดยมีมุมมอง ดังนี้
1. การคลี่คลายของสถานการณ์การระบาดเชื้อโคโรนา 2019 (covid)
2. หน่วยงานการคลังมีการปฏิรูปและมีความเข้มแข็งมีการลดค่าใช้จ่ายการคลังตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปได้อย่างดี
3. ภาคธนาคารและการเงินต่างประเทศมีเสถียรภาพ มีทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูงสร้างความยืดหยุ่นในการปรับใช้แผนนโยบายต่างๆ ในประเทศและต่างประเทศสามารถมี (Contingency Plan) รองรับสถานการณ์ต่างๆ ในอนาคต
ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ไตรมาสที่ 2 ปี 2565 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.3 จากไตรมาส 1 ที่อยู่ที่ร้อยละ 2.3 ในปี 2564 ทั้งปี อยู่ที่อัตราร้อยละ 1.5 ขณะที่ ไตรมาสที่ 4 อยู่ที่ร้อยละ 1.8 นับว่าเป็นการเติบโตที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดนับจากการผ่านช่วงสถานการณ์ ไวรัสโคโรน่า และคาดว่าในสิ้นปีนี้ จะอยู่ที่อัตราร้อยละ 2.7-3.2
GDP หรือ Gross Domestic Product คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไทยเท่านั้น หมายความว่า รายได้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในประเทศไทยไม่นับว่าสัญชาติใดๆ ที่ทำธุรกิจในไทยเรานับหมด แต่หากเป็นคนไทยที่ไปทำงานหรือลงทุนที่ต่างประเทศเราเรียกว่า GNP (Gross National Product)
ผมได้ประเมินคร่าวๆ จากข้อมูลของ (กองยุทธศาตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหาภาค สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) สรุปได้ว่า
ภาคเอกชนมีการปรับรูปแบบการลงทุนเพิ่มขึ้นจากปีก่อนแต่จากการคาดการณ์ไม่น่าจะได้ตัวเลขเท่ากับปีก่อน การคาดการณ์ทั้งปี เท่ากับร้อยละ 3.1 ขณะที่ปี 64 อยู่ที่ร้อยละ 3.3 นั้นอาจเป็นข้อบ่งชี้ให้เห็นถึงความไม่มั่นใจของภาคเอกชนโดยรวมก็เป็นได้
ภาครัฐมีการปรับตัวลดลงอย่างเห็นได้ชัด จากเดิมทั้งปีอยู่ที่ร้อยละ 3.8 ไตรมาสที่ 2 ของปี 65 อยู่ที่ -9 และคาดการณ์ว่าทั้งปีจะอยู่ที่ร้อยละ 2.0 แต่นั้นเป็นสาระสำคัญของนโยบายทางเศรษฐกิจอยู่แล้ว เพราะในปีก่อนรัฐต้องลงทุนให้กับประชาชนในประเทศพอมาปีนี้ สถานการณ์เริ่มคลี่คลายรัฐจึงต้องลดการลงทุนลง
เรามาดูมูลค่าการส่งออกจากการคาดการณ์สิ้น ปี 65 อยู่ที่ร้อยละ 7.9 ขณะที่ปีก่อน อยู่ที่ร้อยละ 19.2 ลดลงที่ร้อยละ 58 ขณะที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าจากการคาดการณ์ อยู่ที่ร้อยละ 12.4 ซึ่งปีก่อนอยู่ทีร้อยละ 23.9 ลดลงร้อยละ 48
เงินเฟ้อ (Inflation) คืออะไร เงินเฟ้อคือ สภาวะที่ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปเพิ่มขึ้นสูงอย่างต่อเนื่อง เงินมูลค่าเท่าเดิมซื้อของได้น้อยลง โดยเราต้องใช้เงินจำนวนที่มากขึ้นเพื่อซื้อของมูลค่าเท่าเดิมนั้นเอง หรือจะอธิบายใช้ชัดๆ ก็คือ สินค้าบริการแพงขึ้น หรือมูลค่าเงินลดลงก็ได้
เรื่องนี้แตกต่างจากจำนวนของเงินที่เพิ่มขึ้นจนทำให้มูลค่าของเงินลดลงอย่างที่ผมเคยบรรยายในเรื่องของ Blockchain ซึ่งในกรณีดังกล่าว หมายถึง เมื่อจำนวน Currency เช่นแบงค์ 1,000 บาท ถูกผลิตจำนวน 1,000 ใบ และถูกพิมพ์เพิ่มกลายเป็น 2,000 ใบนั้นหมายถึงมูลค่าของเงินตราเราลดลง ซึ่งนั้นคือ แก่น (Core) ส่วนหนึ่งของการกำเนิด Blockchain (อันนี้เสริมให้เผื่อท่านที่สับสนนะครับ)
เงินเฟ้อมีดัชนีการชี้วัดคือ “ดัชนีราคาผู้บริโภค” (Consumer Price Index) หรือ CPI โดยวัดกัน ณ ช่วงเวลาเดียวกัน (Time Flame) กับปีก่อนหน้านั้นเป็นเปอร์เซนต์ เราเรียกผลลัพธ์นี้ว่า “อัตราเงินเฟ้อ” และสาเหตุของเงินเฟ้อมีลักษณะคือ การดึงของอุปสงค์และการผลักของอุปทาน
การดึงของอุปสงค์กล่าวอย่างง่ายคือ ผู้บริโภคต้องการสินค้าหรือบริการมากและสินค้าหรือบริการมีไม่เพียงพอ การผลักของอุปทานคือ ต้นทุนฝั่งผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการเพิ่มขึ้นทำให้มีการปรับขึ้นราคา
สถานการณ์ดังกล่าวเรียกว่า ช่วง Stagflation หรือสภาวะที่ราคาสินค้าหรือบริการสูงขึ้นในขณะที่เศรษฐกิจชะลอตัว ผู้คนในประเทศไม่ค่อยมีเงินใช้นั้นเอง ซึ่งปัจจุบัน อัตราเงินเฟ้อในไตรมาสนี้ อยู่ที่ร้อลยะ 6.5 และคาดการณ์ว่า สิ้นปีจะอยู่ที่ร้อยละ 6.3-6.8 ขณะที่ปี 64 เราอยู่ที่ร้อยละ 1.2 หมายความว่า สมมุติเราซื้อข้าวสาร 100 บาท สิ้นปีนี้เราต้องจ่ายเงิน 106.5 บาทต่อข้าวสารปริมาณเท่าเดิม
จะเห็นได้ว่าหากเราประเมินสถานการณ์ของประเทศแค่ GDP อาจทำให้เราเห็นภาพได้ไม่ชัดเราต้องประเมิน ค่าเงินเฟ้อของเรากันด้วยเหมือนมองให้ครบทุกมุม
จากการประเมินการคาดการณ์ GDP และเงินเฟ้อ (Inflation) ดังกล่าวบอกอะไรเรา
1. GDP เป็นการวัดมวลรวมของการหารายได้ในประเทศแต่ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดว่าคนส่วนใหญ่ในประเทศมีเงินใช้หรือไม่ลำบาก? เพราะการวัดจากตัวเลขดังกล่าวถูกวัดโดย ธุรกิจที่สามารถชี้แจงตัวเลขได้และอยู่ในระบบ
แต่คำว่าระบบ (System) ดังกล่าวไม่ใช่ระบบทั้งหมด (Ecosytem) ระบบนิเวศของการมีอยู่มีกินของประชาชนใช่หรือไม่? ดังจะได้เห็นจากเราไม่สามารถรู้มวลรายได้ของ แม่ค้าขายหมูปิ้ง พนักงานเสริฟ พนักงานรับรถหรือแม่ค้าพ่อค้าที่ขายของตามสถานที่ท่องเที่ยวที่ ขณะนี้ ยังมีความซบเซาอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวทั่วประเทศ
2. “ความเชื่อมั่นจากต่างชาตินั้นดี” “แต่ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในประเทศเป็นสิ่งที่ดีที่สุด” จะเห็นได้จากสูตรการคำนวณของ GDP = C + I + G + (X-M) หมายความว่า การบริโภคของภาคเอกชนและประชาชน การลงทุนในภาคเอกชน การใช้จ่ายของรัฐบาลหรือการลงทุนในภาครัฐต่างๆ ต้องเพิ่มขึ้น ซึ่งหากผมใส่ตามสูตรคำนวณ การคาดการณ์ GDP สิ้นปีนี้ (2565) อยู่ที่ประมาณร้อยละ 2.5 ซึ่งก็ยังถือว่าเติบโตขึ้นกว่าปีก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.5
คำถามในข้อนี้คือ ภาคส่วนของ G (Government) ควรลงทุนในโครงการที่สร้าง อาชีพหรือแหล่งรายได้อย่างเฉพาะเจาะจงเลยจะดีไหม? เช่นการลงทุนในการบูรณะแหล่งท่องเที่ยว พัฒนาชุมชนด้วยองค์ความรู้ เทคโนโลยี โดยตรงไปที่ชุมชนที่อยู่อาศัย หรือการสร้างช่องทางการขายแบบใหม่ให้กับพ่อค้าแม่ค้าในประเทศทั้งในรูปแบบ Online และ Onfield
3. วางกลยุทธ์ให้ครบทุกด้าน ง่ายๆ เลยครับ คำนึงถึง (GDP & Inflation rate ratio) ควบคู่กันไปด้วย เมื่อรัฐลงทุนลดลงควรจัดตั้งโครงการให้ “คม” “ชัด” และรวดเร็ว เพราะจากที่ (JCR) ได้เพิ่มเครดิตให้กับเรา
นั่นหมายความว่า รัฐควรใช้โอกาสอัน “มีค่า” นี้ให้เป็นประโยชน์โดยการจัดตั้งโครงการต่างๆ ที่สนับสนุนโดย “รัฐ” แล้วหาผู้ร่วมลงทุนจากต่างๆ ชาติมาเพื่อพัฒนาโครงการที่กล่าวไว้ไปข้างต้น จากนั้นเราอาจจะได้ทั้ง มิตรทางการค้า และประชาชนมีความเป็นอยู่ดีขึ้น เพื่อให้ผ่านสถานการณ์นี้ไปด้วยกัน เปรียบเสมือน “ชูธงชาติครั้งเดียว ได้นกสองตัว”