“ดีจีเอ” ย้ำ รัฐพร้อมพาคนไทยทั้ง 77 จังหวัด ก้าวสู่ "สมาร์ท คันทรี่"
“ดีจีเอ” ระบุ รัฐบาล พร้อมผลักดันกฎหมายการใช้ข้อมูลกลางภาครัฐ หวังพาคนไทยทั้ง 77 จังหวัด ก้าวสู่ “สมาร์ท คันทรี่” ย้ำ การติดต่อราชการจะต้องสะดวกรวดเร็ว สร้างความใกล้ชิดระดับท้องถิ่น
นายณัฐวัชร์ วรนพกุล รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (DGA) กล่าวในงานสัมมนา "สมาร์ทซิตี้ กับ สมรรถนะการแข่งขันของเมือง" หัวข้อ “การกระจายอำนาจการปกครองยุคดิจิทัล” โดย “กรุงเทพธุรกิจ” ร่วมกับ “สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย” ว่า ดีจีเอ ถือเป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของรัฐบาล บาบาทหลัก ๆ ถือเป็นรัฐบาลที่เน้นการส่งเสริมข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ
ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาระบบกลางให้ภาครัฐสามารถเชื่อมต่อข้อมูลสื่อสารร่วมกัน ดีจีเอถือว่าอยู่เบื้องหลังในเรื่องของข้อมูล และยังมีสถาบันพัฒนาบุคลากรภาครัฐ ได้รับสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) ซึ่งเป็นผู้ดูแลหลักสูตร ตามที่ดีจีเอได้มีการพัฒนามาแล้ว ทั้งการอัพสกิล-รีสกิลให้กับบุคลากรภาครัฐ และยังมีทีมงานด้านเทคโนโลยีศึกษาออกแบบระบบดิจิตอลให้กับภาครัฐ
“เมื่อมีระบบดิจิตอลที่ดี แต่หากหน่วยงานภาครัฐต่างคนต่างทำและไม่มีมาตรฐานก็จะไม่สามารถล้อไปตามมาตฐานเดียวกันการใช้ข้อมูลก็ไม่มีการเชื่อมโยงกัน สุดท้ายเดต้าจะอยู่แค่หน่วยงานนั้น ๆ ไม่สามารถแลกเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐได้”
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารได้เริ่มทำอย่างเข้มข้นมาก ทั้งการตั้งคณะกรรมการรัฐบาลดิจิตอล ประมาณ 4 -5 ปี เริ่มเห็นการพัฒนาที่มีความร่วมมือมากขึ้น เพราะเห็นประโยชน์และความสำคัญของการใช้ข้อมูล ได้เห็นระบบหน่วยงานรัฐกว่า 400 องค์กร และเทศบาลอีก 7.8 พันหน่วยงาน ในขณะที่การมีการบริหการข้อมูลต่าง ๆ ที่สามารถเอาแหล่งอื่นมาประกอบเพื่อใช้วิเคราะห์และออกแบบเชิงนโยบาย ผ่านการให้ความรู้ต่าง ๆ ถือเป็นประโยชน์ร่วมกัน
นอกจากนี้ เราได้พ้นช่วงการให้ความรู้มาแล้ว และมุ่งสู่การพัฒนา รัฐบาลมีสำนักงานสถิติแห่งชาติ ร่วมพัฒนาตัวอมูล หรือเสมือนสมุดหน้าเหลืองในอดีต ซึ่งหน่วยงานของรัฐถือเป็นผู้มีข้อมูลสูงสุดทั่วประเทศ สิ่งที่ต้องดำเนินงานคือการจัดทำข้อมูลโครงสร้าง พยายามให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถให้คอมพิวเตอร์อ่านค่า หรือประมวลผลได้ ข้อมูลที่ยังไม่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์จะไม่เกิดเป็นบิ๊กเดต้าไม่ได้ถูกใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง จะเป็นขยะ
“เราทำเว็บไซต์มาจากความร่วมมือพบว่า ปี 2563 มีประชาชนเข้าใช้งานเกือบ 3 ล้านคน มีการเข้าการใช้งานผ่านเว็บกลางกว่า 11 ล้านครั้ง ถือเป็นการใช้งานที่เติบโตแบบก้าวกระโดดขึ้นเรื่อย ๆ มีอัตราที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนการดูแลความปลอดภัยข้อมูลที่ผ่านมา เราทำงานร่วมกับสดช. สิ่งที่จำเป็นสุดคือตัวบลุคคลเอง ดังนั้น เรื่องการให้ความรู้ การส่งเสริมทักษะจึงสำคัญ”
ทั้งนี้ 3-4 ปีที่ผ่านมา การจัดเก็บข้อมูลนั้น ดีจีเอได้ให้ความสำคัญกับโครงการพัฒนาระบบคลาวด์กลางภาครัฐ (DGCC) การป้องกันการโจมตีในระดับต่าง ๆ เป็นไปตามกลไก สิ่งสำคัญที่ต้องทำคือ สร้างจิตสำนึก ความรับผิดชอบ และความเข้าใจ เพื่อปกป้องกันบัญชีของยูสเซอร์ก็จะล้อไปที่กฎหมาย PDPA ซึ่ง ดีจีเอได้มีการจัดทำ DGCC เพื่อเป็นกระบวนการในการเข้าถึงและจัดเก็บข้อมูลในหน่วยงานภาครัฐ เมื่อถูกนำไปใช้งานในวงกว้างก็จะล้อข้อมูลไปพร้อมกัน
“ความปลอดภัยของการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีมีความทันสมัย คนไทยพร้อม ปัจจุบันข้อมูลกลางภาครัฐมีความพร้อมพอและล้อไปกับ พ.ร.บ.มั่นคงความผปลอดภัยทางไซเบอร์ สิ่งสำคัญที่ภาครัฐต้องทำคือ ทำให้ประชาชนสะดวกในการติดต่อราชการ ไม่ให้รู้สึกถึง 3 ย. คือ เยอะ ยาก ยุ่ง ดังนั้น พ.ร.บ.ราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ 2565 จะกระตุ้นให้การบริการภาครัฐเปลี่ยนแปลง พร้อมบริการ 24 ชม. ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ เกิดรัฐบาลไทยแลนด์ 4.0”
นอกจากนี้ สิ่งสำคัญคือ ความต้องการให้ประชาชนระดับท้องถิ่นได้รับบริการที่ดี หน่วยงานราชการได้ใกล้ชิดประชาชน ดีจีเอ ได้ออกแบบระบบกลางเพื่อก้าวสู่ท้องถิ่นดิจิตอล จะตอบโจทย์ เน้นความสะดวก ประชาชนไม่ต้องเดินทางมาที่ทำการในตัวเมืองเพื่อมาจ่ายค่าบริการทั้ง ขยะ หรืออื่น ๆ ที่ค่าเดินทางแพงกว่า โดยทำบริการผ่านคิวอาร์โค้ด และสามารถตรวจสอบติดตาม รวมถึงการร้องเรียน สร้างการมีส่วนร่วมในทุกรูปแบบ
“ภายในระบบการจัดการ เช่น หนังสือราชการในการลงนามต่าง ๆ จะสามารถลงนามอิเล็กทรอนิกส์ สมัยก่อนหนังสือราชการในต่างจังหวัดต้องใช้เวลา 3 สัปดาห์ ซึ่งเอกชนใช้ผ่านอีเมล์กว่า 20 ปี ซึ่งขณะนี้ท้องถิ่นเริ่มมีการใช้งานแล้วกว่า 100 หน่วยงาน ดังนั้น ตามพ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ 2566 ที่ออกมานั้น รัฐต้องการให้ประชาชนได้รับความสะดวกมากขึ้น โดยเฉพาะประชาชน 77 จังหวัด กว่า 7 หมื่นหมู่บ้านและ 5 พันกว่าตำบล ให้ก้าวกระโดดสู่สมาร์ท คันทรี่”