เชียงใหม่ขาด ‘แรงงาน’ ท่องเที่ยว หลังเปิดประเทศ
อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชียงใหม่กลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง นายพัลลภ แซ่จิว นายกสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า หลังจากรัฐบาลไทยได้เปิดประเทศส่งอานิสงส์ให้กับจังหวัดเชียงใหม่ ในฐานะเมืองท่องเที่ยวอันดับต้นๆของประเทศไทย
นางละเอียด บุ้งศรีทอง ที่ปรึกษาสมาคมโรงแรมไทยภาคเหนือ (ตอนบน) กล่าวว่า ต้องยอมรับว่าการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดทำให้แรงงานในระบบของธุรกิจโรงแรมหายไปเป็นจำนวนมาก เพราะแต่ละแห่งจะมีการลดจำนวนพนักงาน เพื่อควบคุมค่าใช้จ่าย และประคองกิจการให้ฝ่าวิกฤติไปให้ได้ แม้ว่าประเทศไทยจะกลับมาเปิดประเทศแล้ว แต่ก็ยังพบว่า โรงแรมบางแห่งในภาคเหนือก็ยังไม่มีรายได้เพียงพอที่จะจ้างงานได้ในจำนวนเท่าเดิม อีกทั้งแรงงานที่มีทักษะ หรือแรงงานที่มีความเชี่ยวชาญ ได้ไปทำงานในจังหวัดท่องเที่ยวขนาดใหญ่ ซึ่งมีรายได้ที่สูงกว่า ทำให้มีโอกาสที่จังหวัดเชียงใหม่จะประสบการแย่งแรงงานได้
นายสีหเดชเจียเจษฎา รองประธานสมาพันธ์มัคคุเทศก์อาชีพแห่งปะเทศไทย (ภาคเหนือ) กล่าวว่า ขณะนี้ปัญหาของมัคคุเทศก์ทุกภาษาในพื้นที่ภาคเหนือกว่า 2.000 คนจากทั้งหมดที่มีกว่า 8,000 คน กำลังประสบกับภาวะบัตรมัคคุเทศก์หมดอายุ และขั้นตอนในการต่ออายุบัตร จะต้องมีค่าใช้จ่ายในการอบรม ซึ่งตลอดเวลา 2 ปีที่ผ่านมา มัคคุเทศก์100% ตกงานไม่มีรายได้ ทำให้บางคนไม่สามารถที่จะมีเงินนำไปต่ออายุบัตรได้ และมัคคุเทศก์บางส่วนได้หันไปประกอบอาชีพอื่น ซึ่งหลังจากนี้ หากว่าไม่มีภาครัฐเข้ามาแก้ไข หรือผ่อนผันจะทำให้กระทบต่อทัวร์ต่างประเทศที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย
ทางสมาพันธ์ฯอยากจะเรียกร้องให้รัฐบาลนำปัญหานี้เสนอให้ทางคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้มัคคุเทศก์ได้รับการยกเว้นไม่ต้องอบรม และกลับต่อบัตรมัคคุเทศก์ได้ เพราะหากว่าจะให้ทำตามขั้นตอนจะต้องใช้เวลาพอสมควร ซึ่งจะไม่ทันกับการแห่เข้ามาของนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวจีน ซึ่งแม้ว่าก่อนหน้านี้รัฐบาลจะมีการยกเว้นการเก็บค่าต่อใบอนุญาต 200บาท แต่ประเด็นอยู่ที่ทุกคนจะต้องเข้ารับการอบรม จำนวน 30 ชั่วโมง มีค่าใช้จ่ายประมาณ 4,000 บาท และหากว่ามัคคุเทศก์ที่ไม่ได้ถือใบอนุญาต่ในช่วงวันที่ 11ก.ย.2562-ธ.ค.2564 เมื่อบัตรหมดอายุต้องอบรม 3 เดือน เสียค่าใช้จ่ายคนละ 30,000 บาท
ก่อนหน้านี้ สมาพันธ์ฯได้เรียกร้องมาโดยตลอด แต่ก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขปัญหา โดยเบื้องต้นได้ขอการสนุบสนุนจากทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในการจัดอบรมให้มัคคุเทศก์ จำนวน 150 คน งบประมาณ 100,000 บาท ซึ่งหากว่าภาครัฐจะเข้ามาช่วยเหลือก็สามารถที่จะดำเนินงานในการเป็นตัวกลางประสานกับทางสถาบันการศึกษาให้เข้ามาทำหน้าที่อบรมให้กับมัคคุเทศก์ ก่อนที่จะต่ออายุบัตร แต่หากว่าภายในเดือนมีนาคม 2566 ยังไม่มีการยกเว้น หรือผ่อนผัน ปัญหาที่จะตามมาคือ การขาดแคลนมัคคุเทศก์ และจะมีมัคคุเทศก์เถื่อนเกิดขึ้นอีกรอบ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อภาพรวมของการท่องเที่ยวได้
นางวาสนา ทองสุข ผู้บริหารปางช้างแม่แตง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า แม้ว่าขณะนี้จะเริ่มมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ
ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวชาวยุโรป และตะวันออกกลาง ทยอยเดินทางเข้ามาเที่ยวปางช้างมากขึ้นร้อยละ 60 ง เมื่อเทียบกับปี 2562 ที่เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด19 ตัวเลขนักท่องเที่ยวเป็นศูนย์ โดยขณะนี้ก็ยังไม่ถือว่าธุรกิจฟื้นตัว เพราะยังต้องแบกต้นทุนค่าดูแลช้างเชือกละ 30,000 บาทต่อเดือน จากจำนวนทั้งหมดที่มีกว่า 55 เชือก อีกทั้งกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีนยังเข้ามาท่องเที่ยวในปางช้างแม่แตงไม่มากเท่าใดนัก
ดังนั้น เมื่อรัฐบาลจีนได้ประกาศให้ทัวร์จีนออกมาท่องเที่ยวในต่างประเทศได้ ตั้งแต่วันที่ 6 ก.พ.2566 และประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศเป้าหมาย ถือว่าเป็นข่าวดีสำหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทั้งระบบ ซึ่งตอนนี้ก็คาดหวังว่าภาครัฐจะสนับสนุนให้การท่องเที่ยวพลิกฟื้น โดยเฉพาะการทำตลาดทัวร์จีน ซึ่งที่ผ่านมาถือเป็นลูกค้าหลัก น่าจะกลับเข้ามาสร้างรายได้ให้กับปางช้างแม่แตงให้เทียบเท่ากับช่วงปี 2562 โดยขณะนี้ได้มีการเตรียมทั้งช้าง ควาญช้าง การจัดกิจกรรม และโปรแกรมการท่องเที่ยวในปางช้างแม่แตงให้มีความพร้อมที่จะต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวจีนอย่างมีคุณภาพ
นายธนิต ชุมแสง นายกสมาคมร้านอาหาร และสถานบันเทิง จังหวัดเชียงใหม่กล่าว